22 มิ.ย. 2023 เวลา 08:34 • การศึกษา

ข้อควรรู้ ก่อนใช้รถยนต์ไฟฟ้า

: 5 สิ่ง ที่ต้องเตรียมในบ้าน และค่าไฟที่ต้องจ่ายต่อครั้งหรือติดตั้งปรับปรุงอุปกรณ์รองรับ เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าภายในบ้านของคุณ ก่อนใช้รถยนต์ไฟฟ้านั้น จะมีอะไรบ้าง … ไปอ่านกันเลย
1. มิเตอร์ไฟฟ้า
ปกติแล้ว ตามบ้านของเราจะใช้มิเตอร์ไฟฟ้า หรือเรียกกันติดปากว่า “มิเตอร์ไฟ” ที่การไฟฟ้ามักจะมาจดบันทึกการใช้งานว่าใช้ไปปริมาตรเท่าไหร่ ก่อนจะส่งบิลมาเก็บตังค์ทุกเดือน ซึ่งถ้าหากคุณใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือรถยนต์แบบ Plug-In Hybrid (รถปลั๊กอินไฮบริด) แล้ว ก็ควรเลือกมิเตอร์ไฟฟ้าที่มีแอมป์ที่เหมาะสม ให้รองรับกับรถยนต์ไฟฟ้าของคุณ
สำหรับมิเตอร์ไฟฟ้า แบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ได้แก่
มิเตอร์ไฟสำหรับบ้านอยู่อาศัย
มิเตอร์ไฟสำหรับกิจการขนาดเล็ก
มิเตอร์ไฟสำหรับกิจการขนาดกลาง
มิเตอร์ไฟสำหรับกิจการขนาดใหญ่
มิเตอร์ไฟสำหรับกิจการเฉพาะอย่าง
มิเตอร์ไฟสำหรับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
มิเตอร์ไฟสำหรับกิจการสูบน้ำเพื่อการเกษตร
มิเตอร์ไฟสำหรับผู้ใช้ไฟชั่วคราว
ส่วนมิเตอร์ไฟสำหรับบ้านอยู่อาศัย ยังแบ่งออกได้เป็นอีกหลายประเภท อาทิ
ขนาดมิเตอร์ 5(15) เฟส 1 ขนาดการใช้ไฟฟ้า ไม่เกิน 10 แอมแปร์
ขนาดมิเตอร์ 15(45) เฟส 1 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 11-30 แอมแปร์
ขนาดมิเตอร์ 30(100) เฟส 1 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 31-75 แอมแปร์
ขนาดมิเตอร์ 50(150) เฟส 1 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 76-100 แอมแปร์
ขนาดมิเตอร์ 15(45) เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า ไม่เกิน 30 แอมแปร์
ขนาดมิเตอร์ 30(100) เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 31-75 แอมแปร์
ขนาดมิเตอร์ 50(150) เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 76-100 แอมแปร์
ขนาดมิเตอร์ 200 เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 101-200 แอมแปร์
ขนาดมิเตอร์ 400 เฟส 3 ขนาดการใช้ไฟฟ้า 201-400 แอมแปร์
ตามปกติ มิเตอร์ไฟของบ้านพักอาศัยทั่วไปจะเป็นแบบ 15(45) 1 เฟส (1P) หมายถึง มิเตอร์ขนาด 15 แอมป์ (A) และตัวเลข 45 (A) อันนี้หมายถึงค่าพิกัดกระแสสูงสุด ที่มิเตอร์ไฟจะสามารถรองรับได้ในช่วงเวลาหนึ่ง (ต่อเนื่องกันไม่เกิน 3 ชั่วโมง)
รถยนต์ไฟฟ้า / รถยนต์แบบ Plug-In Hybrid จะกินกระแสไฟฟ้าขณะชาร์จ 8A ถึง 16A ต่อเนื่องจนกว่าแบตเตอรี่จะเต็ม ดังนั้นมิเตอร์ไฟฟ้าควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 30 แอมป์ (A)
ซึ่งบ้านใครที่ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า / รถยนต์แบบ Plug-In Hybrid และต้องการชาร์จไฟภายในบ้านด้วย ก็ลงทุนเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ใหญ่ขึ้นเป็น 30 (100) เฟส 1 (หรือเฟส 3 ก็ได้) ไปเลย เพื่อป้องกันการใช้ไฟฟ้าจนเกิดขีดจำกัดนั่นเอง
2. สายไฟฟ้า (สายเมนเข้าบ้าน) และ Main Circuit Breaker (MCB) หรือ ลูกเซอร์กิตเบรกเกอร์
เปลี่ยนสายเมน และลูกเซอร์กิต (MCB) : สำหรับสาย Main ของเดิมใช้ขนาด 16 ตร.มม. ต้องปรับให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 25 ตร.มม. และเปลี่ยนลูกเซอร์กิต(MCB) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับตู้ MDB ที่แต่เดิมรองรับได้สูงสุด 45(A) เปลี่ยนเป็น 100(A) หรือพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ ขนาดมิเตอร์ ขนาดสายเมน และขนาดลูกเซอร์กิต (MCB) ต้องสอดคล้องกัน
3. ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB)
ตรวจสอบภายในตู้ว่ามีพื้นที่เหลือให้ติดตั้งตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) (Main Distributor Board หรือ Circuit Breaker) อีก 1 ช่องรึเปล่า? เพราะการชาร์จไฟของรถยนต์ไฟฟ้า หรือรถยนต์แบบ Plug-In Hybrid จะต้องติดตั้ง Circuit Breaker เพิ่ม แยกใช้งานกับเครื่องไฟฟ้าอื่นๆ แต่ถ้าไม่มีก็ติดตู้ควบคุมย่อยแยกต่างหากอีก 1 ตู้
4. เครื่องตัดไฟรั่ว
เครื่องตัดไฟรั่ว (Earth-Leakage Circuit Breaker) หรือ Residual Current Devices = RCD จะทำหน้าที่ตรวจจับไฟฟ้ารั่ว ไม่ว่าจะเกิดจากฟ้าฝ่า การใช้ไฟเกินความพอดี หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านมีสภาพเก่า สายไฟเก่าๆ อาจจะทำให้ไฟฟ้าเกิดการลัดวงจร หรือไฟดูดผู้ใช้งานขึ้นมาได้ ซึ่งช่วยปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของคุณ โดยมีทั้งแบบตรวจจับแรงดัน และแบบตรวจจับกระแส
ซึ่งเครื่องตัดไฟรั่วจะตัดไฟที่ไหลผ่าน ในกรณีที่พบว่ามีกระแสไฟฟ้าบางส่วนรั่วหายไป เช่น รั่วไหลลงไปในดิน ผ่านร่างกายมนุษย์ หรือรั่วผ่านฉนวนที่ชำรุดของอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
เครื่องตัดไฟรั่วที่ใช้ป้องกันไฟดูด ต้องมีคุณสมบัติและการใช้งาน ดังนี้
ต้องมีพิกัดขนาดกระแสไฟฟ้ารั่วไม่เกิน 30 mAต้องตัดไฟได้ภายในระยะเวลา 0.04 วินาที เมื่อมีไฟรั่วขนาด 5 เท่าของพิกัด (=150 mA) และต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. 909 ซึ่งการใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ควรติดตั้งระบบสายดินด้วย แต่กรณีที่คุณติดตั้งสายชาร์จไฟฟ้า ที่มีระบบตัดไฟภายในตัวอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วเพิ่มคะ
5. หัวชาร์จไฟฟ้า (EV Socket)
หัวชาร์จไฟฟ้า ตามการออกแบบของผู้ผลิตรถยนต์แต่ละค่าย มักจะทำไม่เหมือนกัน แต่สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบหลักๆ คือ
1. หัวชาร์จฯ แบบเร็ว Quick Charger
เป็นการชาร์จแบบเร็วด้วยไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charging) สามารถชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า จาก 0 – 80% ได้ในเวลาประมาณ 40-60 นาที (ขึ้นอยู่กับความจุพลังงานแบตเตอรี่ กิโลวัตต์-ชั่วโมง) เหมาะสำหรับชาร์จตามจุดพักรถต่างๆ ที่ต้องใช้ความรวดเร็ว และต้องเดินทางต่อ ซึ่งประเภทหัวชาร์จของ Quick Charger ได้แก่ CHAdeMo (ย่อมาจาก CHArge de Move), GB/T และ CCS (ย่อมาจาก Combined Charging System)
สำหรับหัวชาร์จแบบ DC นี้ จะเป็นหัวชาร์จที่ใช้กับสถานีชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้า
2. การชาร์จฯ แบบธรรมดา แบบ Double Speed Charge (เครื่องชาร์จ Wall Box / EV Charger)
อันนี้คือการชาร์จแบบธรรมดาด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charging) ซึ่งการชาร์จในบ้านอยู่อาศัยจะเป็นแบบนี้ มีทั้งแบบสายชาร์จแบบพกพา และเครื่องชาร์จแบบติดผนัง ใช้ระยะเวลาชาร์จนานหน่อย อยู่ที่ประมาณ 5 – 7 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับกำลังไฟของเครื่องชาร์จ Wall Box, ขนาดของแบตเตอรี่ และสเปคของรถ
การชาร์จด้วยตู้ชาร์จติดผนัง สามารถทำได้รวดเร็วกว่าการต่อจากเต้ารับภายในบ้านโดยตรง โดยหัวชาร์จที่ใช้แบ่งออกเป็น 2 แบบ
Type 1 เป็นหัวชาร์จที่ใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น
Type 2 เป็นหัวชาร์จที่นิยมใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าในแถบทวีปยุโรป
ทั้งนี้การติดตั้งตู้ชาร์จติดผนัง มิเตอร์ไฟของบ้านที่ติดตั้งต้องสามารถรองรับกระแสไฟฟ้าขั้นต่ำ 30 (100)A
สำหรับการเสียบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นชนิด 3 รู (มีสายต่อหลักดิน) ต้องทนกระแสไฟฟ้าได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 16(A) แต่รูปทรงอาจจะปรับตามรูป แบบปลั๊กของรถยนต์แต่ละรุ่น
สุดท้ายนี้ การติดตั้งจุดชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าภายในบ้าน ต้องเดินวงจรสายไฟแยกออกมาต่างหาก ควรจะได้รับการติดตั้งจากข่างผู้ชำนาญงานเท่านั้น และห้ามนำสายชาร์จแบบพกพา ไปต่อกับเต้ารับเดิมที่มีอยู่แล้วในบ้าน เนื่องจากระบบไฟฟ้าเดิม ไม่ได้ออกแบบมาให้รองรับกับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
ค่าไฟหน่วยละเท่าไหร่ (Update จากการไฟฟ้านครหลวง ปี 2564)
อัตราปกติปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน
On Peak
เวลา 09.00 – 22.00 น. วันจันทร์ – วันศุกร์
Off Peak
เวลา 22.00 – 09.00 น. วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 00.00 – 24.00 น. วันเสาร์ – วันอาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ วันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราค่าไฟฟ้า
.- อัตราค่าไฟฟ้าข้างต้น เป็นอัตราที่เรียกเก็บรายเดือน ที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
.-ค่าไฟฟ้า ที่เรียกเก็บ ในแต่ละเดือน ประกอบด้วย ค่าไฟฟ้าตามอัตราค่าไฟฟ้าฐาน และ ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้า โดย อัตโนมัติ (Ft) โดยมีการเรียกเก็บ Ft ทุกเดือน แยกเป็นรายการในใบเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้า ทั้งนี้ Ft ที่เรียกเก็บจะปรับเปลี่ยน ทุกๆ 4 เดือน โดยกำหนดให้ Ft เป็นอัตราคงที่ต่อหน่วยการใช้พลังงานไฟฟ้า
** อัตราค่าไฟฟ้าใหม่นี้เริ่มใช้ตั้งแต่ค่าไฟฟ้า ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป**
โฆษณา