23 มิ.ย. 2023 เวลา 05:06 • ท่องเที่ยว

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์พื้นบ้าน เมืองโบราณเว่ยซาน

ฉันไม่แน่ใจว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีชื่อเสียงว่าอะไรแน่ .. แต่ดูเหมือนจะเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวของใครบางคนที่เก็บรวบรวมสิ่งของต่างๆที่เป็นวัตถุโบราณที่หาดูได้ยากมารวมกันไว้ที่นี่
อาคารหลังนี้ (บ้านเก่าเหมิงฮัว?? Liu’s Compound?? ) .. เชื่อว่า เป็นบ้านที่อยู่อาศัยเก่าแก่ที่ใหญ่ที่สุดและได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีที่สุดภายในเมือง
บ้านเก่าหลังนี้สร้างแบบ Chinese courtyard โบราณ …
มีกำแพงสวยล้อมรอบบ้าน มีถนนภายใน มีลานบ้านหลายแห่ง และมีบ่อน้ำ ..
คอมเพล็กซ์อาคารทั้งหมดได้นำลักษณะเฉพาะบางอย่างของสถาปัตยกรรมชาติพันธุ์ท้องถิ่นในภาคกลางของจีน รวมถึงบางลักษณะของอาณาจักรน่านเจ้า และลักษณะของชนเผ่ากลุ่มน้อยภายในพื้นที่มาใช้ เดิมเคยเป็นที่อยู่อาศัยรวมกับร้านค้าการค้า
ว่ากันว่า .. บ้านหลังนี้มีอายุยาวนานกว่า 1,300 ปีมาแล้ว
อีกทั้งยังมีความสำคัญสุดๆ บนเส้นทางขนส่งใบชาโบราณ (Ancient Tea Horse Road) ที่ทอดยาวตั้งแต่ คุนหมิง (Kunming) ตลอดไปจนถึงอินเดียเลยทีเดียว เราก็จะได้เห็นวิถีชีวิตของผู้คนโบราณ
ด้านหนึ่งของลานด้านใน เป็นที่รวบรวมวัตถุโบราณ จัดแสดงเครื่องทองเหลืองรูปร่างต่างๆ ทั้งงรูปนก สัตว์ เครื่องประกอบโต๊ะบูชา ชิ้นส่วนของอาวุธ และอื่นๆอีกมาก
อีกสามด้านของลาน เป็นอาคารรูปเกือกม้าที่มีลักษณะของสถาปัตยกรรมอาคารไม้แบบจีนโบราณ ประกอบด้วยบานประตูและผนังที่มีการแกะสลักลวดลายสวยงามมาก
ด้านนอกจัดวางแผ่นไม้หลาสขนาดที่เขียนตัวอักษรจีน .. ฉันอ่านไม่ออก จึงไม่รู้ความหมาย ได้แต่เดาๆเองว่า คงเป็นการเก็บรวบรวมแผ่นป้ายโบราณของหลายๆยุค ในวาระต่างๆกัน รวมกันไว้ที่นี่
เก้าอี้โบราณ .. ชอบมากๆๆๆ
ชานบ้าน .. มีวัตถุโบราณหลายอย่างที่เจ้าของบ้านเก็บรวบรวมไว้จัดแสดง
บ้านโบราณหลังนี้มี 2 ชั้น .. เราเริ่มต้นการทัวร์ชมบ้านโบราณที่ชั้นสองเป็นอันดับแรก ..
ผู้บรรยายเล่าว่า .. เจ้าของบ้านดั้งเดิมเป็นคหบดีที่ร่ำรวยด้วยอาชีพทำคาราวานม้า-ชา เขาไม่มีลูกชาย ที่ด้านหนึ่งของชั้นที่ 2 ของอาคาร เป็นห้องของลูกสาวเจ้าของบ้าน ภายในห้องมีเตียงแบบจีนโบราณที่สวยอลังการด้วยงานแกะสลัก ทาด้วยสีทอง .. มีโต๊ะครื่องแป้งอยู่ใกล้ๆเตียง
.. เตียงมีคำกลอนภาษาจีนแกะสลักอยู่ด้านข้าง
ห้องถัดไปเป็นห้องบูชาเทพเจ้า .. รูปเคารพของเทพเจ้าจะอยู่ตรงกลาง มีแท่นสำหรับกราบไหว้บูขาอยู่ด้านหน้า และมีบางสิ่งคล้ายขดเชือก? ด้านข้างแขวนป้ายที่เขียนเป็นภาษาจีนเต็มผนัง
.. ชอบประตูโค้งแบบจีน ได้ฟิลมาก
ห้องรับประทานอาหาร
โถงด้านหนึ่งของชั้นสองของอาคาร .. เป็นที่เก็บรวบรวมสิ่งของที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์จากดินแดนต่างๆ ที่คาราวานม้า-ชาผ่านเข้าไปถึง
การเดินทางรอนแรมในเส้นมางคาราวานม้า-ชาในสมัยโบราณเต็มไปด้วยความเสี่ยงรอบตัว สิ่งของอันเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของสมาชิกกองคาราวานให้มั่นคง มีความฮึกเหิม เปี่ยมกำลังใจที่จะก้าวต่อไป จึงมีความสำคัญต่อขวัญกำลังใจของสมาชิกอย่างยิ่ง
.. ไม้แกะสลักรูปเทพต่างๆ รวมถึงสิ่งของอื่นๆที่ประกอบเป็นเครื่องบูชา
โบราณวัตถุจากประเทศพม่า ซึ่งเป็นดินแดนที่คาคราวานม้า-ชา เข้าไปถึง
.. พระพุทธรูป ผ้าพระบฏตามคตินิยมของพุทธศาสนิกชนสายวัชระยาน ที่เห็นที่นี่เป็นขนาดเล็ก ประดับภาพพระศรีสากยมุนี หรือพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆ และพระโพธิสัตว์องค์ต่างๆที่นับถืออยู่บนผืนผ้าเดียวกัน สามารถม้วนเก็บสะดวกแล้วนำติดตัวไประหว่างการรอนแรม
คำว่า "ทังกา" มาจากภาษาทิเบต … ทัง (Thang) แปลว่า "ธง" .. กา (Ka) แปลว่าภาพวาด .. ดังนั้น ทังกา จึงมีความหมายว่า จิตรกรรมบนผืนธง
“ทังก้า” หรือภาพพระบฏ (Patachitra)
.. ยังมีสถานะดั่งยันต์ กันภูตผีและวิญญาณร้าย รวมถึงอวิชา ความโง่เชลามิให้มาแผ้วพาน และสุดท้ายคือประดับให้พุทธศาสนิกชนกราบไหว้บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล
วัตถุโบราณอื่นๆอันมีที่มาจากหลายแหล่ง
ห้องถัดไป .. จัดแสดงสิ่งของในสมัยปฏิวัติวัฒนธรรม
.. รูปแบบของยูนิฟอร์ม เครื่องแบบ อาวุธ
ห้องถัดไป .. มีงานไม้ที่ได้รับการแกะสลักอย่างสวยงาม
ห้องชั้นล่างห้องนี้ รวบรวมและจัดแสดงสิ่งของต่างๆที่จำเป็นในการใช้สอยในขบวนคาราวานม้า-ชา .. เราจะเห็นสิ่งของหลายอย่างที่ทำให้หวนนึกไปถึงประวัติศาสตร์ของตาราวานการค้าของชาวจีนสมัยโบราณในทิเบต และอุษาคเนย์ ซึ่งรวมถึงพม่าและไทย
ขบวนสินค้าของชาวจีนที่มีสินค้าหลักคือ ใบชา เดินทางกันในรูปคาราวานขบวนใหญ่ แต่ละขบวนมีม้าบรรทุกสินค้าและสัมภาระหลายสิบหรือหลายร้อยตัว .. คนในขบวนคาราวานนอกจากจะทำหน้าที่จูงม้าบรรทุกสินค้าแล้ว ยังมีอาวุธเพื่อใช้ป้องกันตัว หรือบุกทำร้ายคนอื่นได้ด้วย
“ขบวนคาราวานม้า-ชา” อาจจะเป็นชื่อที่ไม่คุ้นหูชาวไทย .. แต่หากบอกว่าขบวนคาราวานนี้คือ “ขบวนจีนฮ่อ” คนไทยก็คงจะคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะจีนฮ่อนี้หลายครั้งได้เข้ามาปรากฏในหน้าประวัติศาสตร์ไทยด้วย
จีนฮ่อ คือใคร? .. ง่ายสุดก็คือ ชาวจีนที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยทางบก ตรงกันข้ามกับคำว่า “เจ๊ก” ซึ่งจะเดินทางเข้ามาในประเทศไทยทางเรือ
คำว่า เจ๊ก และจีนฮ่อ .. จึงเป็นตำที่คนไทยโบราณใช้เรียกจำแนกที่มาของชาวจีนในประเทศไทย
“เจ๊ก” .. เมื่อแรกเข้ามาในประเทศไทย มาในสภาพเสื่อผืนหมอนใบ เพราะอพยพหนีตายมาจากภาวะอดอยากและทุพภิกขภัยที่บ้านเกิดแถบมณฑลกวางตุ้ง มาถึงเมืองไทยจึงทำงานประเภทใช้แรงงานเป็นกุลี .. นอกจากแรงกาย เจ๊กเหล่านี้นำเอาภูมิปัญญาของดินแดนที่มีอารยธรรมสูงส่งเข้ามาด้วย
.. ภูมิปัญญาจีนที่ก้าวหน้ามากสำหรับคนไทยสมัยก่อน คือ การทำการค้า .. และพวกเจ๊กเหล่านี้ก็มีโอกาสพลิกความเป็นอยู่ของตนเองได้ในที่สุด
“จีนฮ่อ” .. ไม่ได้เดินทางเข้ามาอย่างคนยากจน แต่มากันเป็นหมู่เหล่าจำนวนมาก มีทั้งอาวุธที่ใช้ป้องกันตัว และหลายครั้งที่กองทัพจีนที่พ่ายแพ้สงครามในจีน แล้วแตกหนีเข้ามา
ห้องในโถงด้านหน้าห้องนี้ จัดแสดงภาพขององค์จักรพรรดิหลายพระองค์ของจีน .. แต่ไม่มีรูปของ ซูสีไท้เฮา เนื่องจากพระนางไม่ได้เป็นจักรพรรดิ แม้จะสำเร็จราชการและมีอำนาจมากมายในการปกครองแผ่นดินจีนในสมับโบราณ
เบื้องหน้าภาพขององค์จักรพรรดิ .. จัดแสดงการทำข้อสอบเพื่อรับคัดเลือกเป็นจอหงวน .. กระดาษที่มีตัวอักษรจีนที่เขียนด้วยอุปกรณ์เครื่องเขียนที่จดวางบนโต๊ะนั้น น่าสนใจมาก
.. อยากอ่านภาษาจีนโบราณได้จัง จะได้รู้ว่าอักษรบนกนะดาษนั้นมีข้อความอะไรบ้าง
คัมภีร์ในภาษาพม่า .. มีจัดรวบรวมไว้ที่นี่ด้วย อาจจด้วยเหตุผลที่กองคาราวานม้า ได้ผ่านเข้าไปค้าขายในดินแดนนั้นด้วยเช่นกัน
ห้องจัดแสดงความมั่งคั่ง และอำนาจของหัวหน้าเผ่า
.. ความมั่งคั่ง และอำนาจสมัยโบราณ .. มองผ่านกาครองครองสิ่งของที่เห็นในรูป
.. เห็ดหลินจือ .. อาวุธ
สมบัติล้ำค่า ของผู้นำที่ทรงอำนาจในสมัยโบราณ
โฆษณา