27 มิ.ย. 2023 เวลา 04:27 • ข่าว

ไวรัส "ออซ" คืออะไร น่ากลัวแค่ไหน?

เป็นข่าวฮือฮาพอสมควร หลังจากมีข่าวหญิงชาวญี่ปุ่นวัย 70 ปี เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัส "ออซ" ทำให้เป็นที่วิตกกันว่านี่อาจเป็นโรคระบาดใหม่ต่อจากโควิดเลยหรือไม่(พอเถอะ ทำเรื่องเบิกยาแต่ละตัวน้ำตาจะไหล😭)
ว่าแต่ไวรัสออซ คืออะไร อะไรคือไวรัส "ออซ" และเราต้องกลัวอะไรแค่นี้เกี่ยวกับมัน มีวัคซีนหรือยัง และต้องป้องกันตัวอย่างไรถ้าเกิดการระบาดขึ้น โพสต์นี้มีคำตอบครับ
ภาพไวรัส "ออซ" จากกล้องจุลทรรศอิเล็กตรอน
ไวรัส "ออซ" เป็นชนิดไวรัสน้องใหม่ในวงศ์ thogotovirus มีการศึกษาการกระจายของไวรัสวงศ์ดังกล่าวและวงศ์ใกล้เคียงเช่น Orthomyxoviridae ในเขตภาคกลางและภาคใต้ของญี่ปุ่น โดยส่วนใหญ่มักอยู่กับเห็บแข็ง(tick-borne) และมักก่อโรคในหนู
นอกจากนี้ยังตรวจพบแอนติบอดีสำหรับไวรัสออซในสัตว์ป่า เช่น ลิงแสมญี่ปุ่น หมูป่า และกวางอีกด้วย
ลักษณะของเห็บแข็ง
ไวรัสในวงศ์ thogotovirus เช่น ไวรัสออซ สามารถก่อโรคปอดอักเสบและไข้สมองอักเสบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ส่วนไวรัสอื่นๆในวงศ์เดียวกันเช่นไวรัส
บูร์บง(Bourbon) และ โธโกโตะ(Thogoto) สามารถทำให้เกิดการแท้งลูกในแกะและก่อโรคไข้สมองอักเสบ ทำให้เกิดการเสียชีวิตในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้เช่นกัน
2
โดยในกรณีของหญิงวัย 70 ปี ในจังหวัดอิบารากิ ซึ่งถูกเห็บกัด เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากภาวะปอดอักเสบ ก่อนจะเสียชีวิตจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ(myocarditis) ภายกลังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพียง 26 วัน
โดยหลังจากนั้นวันที่ 23 มิถุนายน กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นออกมายืนยันว่าหญิงชราวัยประมาณ 70 ปี ที่เสียชีวิตดังกล่าว มีสาเหตุมาจากไวรัสออซ ไวรัสที่มาจากเห็บแข็ง ทำให้หญิงชรารายนี้กลายเป็นผู้ป่วยรายแรกของโลกที่เสียชีวิตจากไวรัสออซ
2
นอกจากนี้ยังพบว่า 2 คน มีผลตรวจแอนติบอดีของไวรัสออซเป็นบวก ซึ่งบ่งชี้ว่าพวกเขาอาจเคยติดเชื้อมาก่อน และจนถึงขณะนี้ยังไม่พบไวรัสออซนอกประเทศญี่ปุ่น
โดยทางกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นยังกล่าวต่อไปอีกว่า ยังเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินความรุนแรงหรืออันตรายของไวรัสดังกล่าว เนื่องจากเป็นผู้เสียชีวิตรายแรก แต่กรณีนี้แสดงให้เห็นว่าไวรัสสามารถทำให้เกิดอาการรุนแรงรวมทั้งเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสดังกล่าวได้เป็นการเฉพาะ
3
จึงมีการแนะนำให้ผู้ที่เข้าไปใกล้พุ่มไม้สวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเห็บแข็งกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูใบไม้ผลิจนถึงฤดูใบไม้ร่วงเมื่อแมลงออกหากิน การใช้ยาไล่แมลงอาจช่วยได้เช่นกัน ส่วนใครก็ตามที่ถูกเห็บดังกล่าวกัด ควรรีบไปพบแพทย์
1
จากข้อมูลทั้งหมดข้างต้น อาจจะยังเร็วไปที่จะสรุปผลกระทบและอันตรายของเชื้อไวรัสดังกล่าว เนื่องจากไม่มีข้อมูลชัดเจนถึงภาวะร่างกายและโรคร่วมของผู้ป่วย อีกทั้งเชื้อดังกล่าวก็เป็นเชื้อที่เพิ่งมีการค้นพบ จึงยังต้องอาศัยข้อมูลอีกมากในการยืนยันลักษณะเฉพาะของไวรัสดังกล่าว
เราในฐานะผู้เสพข้อมูลจึงควรติดตามข่าวอย่างใกล้ชิดและมีวิจารณญาณ ไม่ตื่นตระหนก และรอติดตามข้อมูลข่าววสารที่สำคัญต่อไป
1
โฆษณา