29 มิ.ย. 2023 เวลา 01:36 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ม้าเฉียว ดูหุ้น The Future

🔎 ย้อนความหลังบริษัทไทยในตลาดหุ้นที่เคยสร้างความเสียหายให้กับนักลงทุนมหาศาล

STARK ไม่ใช่เหตุการณ์แรกที่สร้างความเสียหายแก่นักลงทุน เราจะพาไปย้อนรอย เหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต
1️⃣ROYNET บริษัทธุรกิจอินเทอร์เน็ตรายแรกที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI ในปี 1997 แต่ไม่นานก็ประสบปัญหากับ “การบันทึกบัญชี” โดยนายกิตติพัฒน์ เยาวพฤกษ์เป็นผู้บริหารในขณะนั้น
การปิดตัวลงของ ROYNET เกิดภายหลังผู้ตรวจสอบบัญชีพบเห็นความผิดปกติของงบการเงิน จนกระทั่งมีการเปิดเผยภายหลังว่าบริษัทได้ “่ตบแต่งบัญชี” โดยอาศัยช่องโหว่ทางกฎหมายในการรับรู้รายได้ผ่านการขายอินเทอร์เน็ตที่ฝากไว้กับร้านค้า
ความเสียหายของนักลงทุนได้เพิ่มขึ้นอีกหลังจากที่ “ตระกูลเยาวพฤกษ์” ผู้ถือหุ้นมากกว่า 60% ในขณะนั้นเทขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้แจ้งให้ ก.ล.ต. ทราบ ซึ่งถือเป็นพฤติกรรมการไซฟ่อนเงินให้กับตนเอง
📛 รวมทั้งสิ้นสร้างความเสียหายไปอย่างน้อย 88.3 ล้านบาท
2️⃣SECC หรือ บมจ.เอส.อี.ซี. ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส บริษัทธุรกิจประเภทขายส่งและขายปลีกการซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยเมื่อปี 2005 โดยมีนายสมพงษ์ วิทยารักษ์สรรค์ เป็นประธานกรรมการบริษัทในขณะนั้น
2
การล้มละลายของ SECC เกิดขึ้นหลังจากที่พบว่าบริษัทยักยอกเงินมากกว่า 317 ล้านบาทอีกทั้งยังทำเอกสารการสั่งซื้อรถยนต์เท็จ และมีการไซฟ่อนเงินออกจากบริษัทจำนวนมาก รวมถึงรถยนต์ในคลังสินค้าหายไปกว่า 493 คันมูลค่า 1,409 ล้านบาท
ความเสียหายของนักลงทุนได้เพิ่มมากขึ้นอีกเมื่อบริษัทได้ยักยอกชุดจดทะเบียนรถยนต์ของ SECC จำนวน 25 คัน ด้วยการนำไปค้ำประกันหนี้สินส่วนตัว ทำให้ลูกค้าของบริษัทไม่สามารถจดทะเบียนรถยนต์กับกรมการขนส่งทางบกได้
📛รวมทั้งสิ้นสร้างความเสียหายไปอย่างน้อย 317 ล้านบาท
3️⃣California Wow แบรนด์ธุรกิจออกกำลังกายสัญชาติอเมริกาที่เปิดตัวในปี 2001 ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยมีคุณเอริค มาร์ค เลอวีน เป็นประธานบิรษัทในขณะนั้น
ในช่วงแรก California Wow ได้ดำเนินธุรกิจโดยเก็บค่าธรรมเนียมสมาชิกฟิตเนสจำนวน 40,000 บาทต่อปีเพื่อจับกลุ่มเป้าหมายเป็นคนเมืองผู้มีรายได้ปานกลางถึงสูง และครองส่วนแบ่งทางการตลาดมากกว่า 55% ในปีแรกที่เข้ามาในประเทศไทย
การล้มละลายของ California Wow เกิดขึ้นหลังจากที่บริษัทได้จดทะเบียนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในช่วงปลายปี 2005 แม้ก่อนหน้านี้จะมีกำไรอยู่บ้างแต่ภายหลังจดทะเบียนบริษัทกลับเผชิญหน้ากับการขาดทุนต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 5 ปี รวมถึงส่งสัญญาณว่าธุรกิจอาจไปไม่รอดหลังสมาชิกไม่ได้รับความสะดวกในการใช้บริการ และค้างค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าบริการจำนวนมหาศาล
ก่อนที่ในท้ายที่สุดสำนักงาน ปปง. ได้เข้าตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินของ California Wow และพบว่ามีการโอนเงินให้กับบุคคลทั้งในและต่างประเทศมากกว่า 1.6 พันล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 99 ของธุรกรรมการเงินทั้งหมด หรือพูดเป็นภาษาชาวบ้านว่า “เจ้าของไซฟ่อนเงินออกจากบริษัทถึง 99% ของเงินทั้งหมด”
📛 รวมทั้งสิ้นสร้างความเสียหายไปอย่างน้อย 1.6 พันล้านบาท
4️⃣EARTH หรือ บริษัท เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจเหมืองถ่านหินและการขายส่งเชื้อเพลิงแข็งซึ่งจดทะเบียนเข้าตลาดหุ้นในปี 2013
การล่มสลายของ EARTH เกิดขึ้นหลังจากที่มีการเปิดโปงอย่างต่อเนื่องว่าผู้บริหารบริษัทรวมกว่า 17 รายร่วมกันสร้าง “หนี้เทียม” มูลค่า 2.6 หมื่นล้านบาท อีกทั้งยังมีคดีปั่นหุ้น EARTH และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าราคาอ้างอิงหุ้น EARTH รวมถึงเหมืองทิพย์ในอินโดนีเซียจำนวน 2 เหมืองซึ่ง ก.ล.ต. ยังไม่เคยได้รับส่วนที่เป็นสาระสำคัญแต่อย่างใด
มีการเปิดเผยเพิ่มเติมว่าผู้ถือหุ้นรายย่อยกว่า 1.6 หมื่นรายและผู้ถือหุ้นกู้จำนวนหลายพันคนต้องทนทุกข์ทรมานเหมือนตกนรกโดยไม่ได้รับการเยียวยาใด ๆ ทั้งสิ้น
📛 รวมทั้งสิ้นสร้างความเสียหายไปอย่างน้อย 1.8 พันล้านบาท (ตามการเปิดเผยจากธนาคารกกรุงไทย)
5️⃣STARK บริษัท Holding Company ที่มีบริษัทรายย่อยเป็นผู้ประกอบกิจการรายใหญ่ในการผลิตสายไฟฟ้าและสายเคเบิ้ลเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นปี 2005 ด้วยทุนจดทะเบียนกว่า 1.7 หมื่นล้านบาท
1
บริษัท STARK ได้กลายเป็นที่กล่าวถึงเมื่อเร็ว ๆ นี้หลังพบว่าบริษัทตบแต่งบัญชีและรายงานผลประกอบเป็นกำไรตลอดหลายปีที่ผ่านมา รวมถึงมีการเกิดทุจริตภายใน การสร้างหนี้เทียม สร้างเอกสารเท็จ และอาจไซฟ่อนเงินจำนวนนับหมื่นล้านออกจากบริษัท
ยิ่งไปกว่านั้นราคาหุ้นของ STARK ก็ร่วงลงจาก 2.38 บาทสู่ 0.01 บาท พร้อมทำให้นักลงทุนจำนวนหลายหมื่นรายขาดทุนย่อยยับ อีกทั้งยังมีการเปิดเผยเพิ่มเติมว่าแม้จะมีการรายงานกำไรทุกปีแต่บริษัทกลับไม่เคยจ่ายปันผลให้กับนักลงทุน
📛 รวมทั้งสิ้นสร้างความเสียหายไปอย่างน้อย 3 หมื่นล้านบาท (ยังไม่มีการเปิดเผยตัวเลขอย่างชัดเจน)
⚠อย่างไรก็ตามนักลงทุนควรเก็บไว้พิจารณาอย่างระวัดระวังในการหลีกเลี่ยงหุ้นที่มีกำไรแต่ไม่ยอมจ่ายปันผล รวมถึงติดตามผลประกอบการและสังเกตความผิดปกติอย่างใกล้ชิด ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนสามารถหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
โฆษณา