Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Thanalysts
•
ติดตาม
30 มิ.ย. 2023 เวลา 03:27 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
Faces of Anne
"แอน"
ความรู้สึกก่อนดู ผมได้พูดไปทั้งหมดในสตอรี่แล้วล่ะครับ555
เพราะฉะนั้นจะตัดเข้าความรู้สึกหลังดูกันเลย ซึ่งสำหรับโพสต์จะไม่สปอยส่วนสำคัญใด ๆ ของเรื่อง
(เพราะส่วนสำคัญมันก็อยู่ในตัวอย่างนั่นแหละครับ555)
ถ้าพูดถึงคำว่า "แอน" ผมก็คงนึกถึง "and" ในวิชาตรรกศาสตร์ แต่ก็คงนึกถึงในเชิงของการพิสูจน์ซ่ะมากกว่า
(หรือก็รู้จักกันในนามของการเช็คความสมเหตุสมผลของประพจน์)
หากให้ระลึกกันเสียหน่อยวิธีการเช็คก็คือการนำประพจน์เหตุมาเชื่อมด้วย "และ" กันทั้งหมดแล้วกระทำ "ถ้า...แล้ว..." กับผล
ก็คงจะจำได้กันแล้วว่าสิ่งนี้เรียนไปกันตอนม.3-4 และก็สร้างความฉิบหายไปตอนนั้นด้วยเช่นกัน555
งั้นเราลองจินตนาการต่อสักหน่อยไอ้การเชื่อมเหตุด้วย "และ" เนี่ยถ้ามันเป็นเท็จสักประพจน์หนึ่งจะเกิดอะไรขึ้น ?
แน่นอนว่าค่าความจริงของเหตุก็จะกลายเป็นเท็จไปด้วย
(แต่เท็จไปอะไรก็ได้จริงนี่ เนอะ!555)
งั้นลองสมมติว่า "แอน" แต่ละคนเป็นประพจน์และลองสมมติค่าความจริงดูสิจะเกิดอะไรขึ้น
จะเกิด not p and p ขึ้นสุดท้ายก็ดันกลายเป็นเท็จไปซ่ะอย่างงั้น
เมื่อเหตุขัดแย้งกันเอง (แอนขัดแย้งกันเอง) คำมั่นสัญญาหรือผลอะไรนั่นก็คงไม่มีความหมายเสียแล้ว
(หากเงื่อนไขเท็จเราอาจจะสรุปได้ว่าเหตุการณ์สมเหตุสมผลแต่ไม่สามารถสรุปได้ว่าเหตุการณ์นี้เป็นจริง)
พูดไปก็อาจฟังดูงง เพราะ มันก็คณิตซ่ะลึกไปหน่อย แต่ถ้าอธิบายว่า "Anne" อาจจะย่อมาจากคำว่า "annexation" ที่หมายถึง การผนวกรวมเข้าด้วยกันแล้วละก็คงพอจะเข้าใจมากขึ้นสินะครับ
การรวมกันของแอนทำให้เกิดความขัดแย้งในตัวของแอนเองจนสุดท้ายก็นำไปสู่ผลลัพธ์ที่แก้ไขไม่ได้ในที่สุด
(เหมือนกับเราพยายามจะเปลี่ยน not p ให้เป็น q แต่ก็ดันเกิด not q ขึ้นมาประมาณนั้นครับ)
พูดมาขนาดนี้ผมเองก็แปลกใจไม่น้อยว่าทำไมความรู้สึกหลังดูถึงออกมาเป็นแบบนี้ แต่นั่นคือความรู้สึกที่ผมได้จริง ๆ
อนึ่งก็คือเป็นความรู้สึกหลังดูที่ไม่อยากสปอยก็เลยออกมาเป็นสภาพนี้แหละครับ555
ถ้าใครอยากรู้ว่ามันอิหยังวะเหมือนกับความรู้สึกหลังดูของผมรึเปล่า
แอน เชิญเลยครับ555
โพสต์ต่อไปจะเป็นหนังในมุมมองของผมแล้วนะครับ ถ้างงกับความรู้สึกหลังดูก็มาดูกันครับว่าเกิดอะไรขึ้นในหนังบ้างที่ทำให้ผมสบถออกมาแบบนี้กันครับ
#1
"ผู้ที่ลืมตาตื่นต่างเฝ้าบอกกับผู้คนว่าตนคือใคร 'และ' ผู้ที่หลับตาลงต่างเฝ้าถามกับตนเองว่าตนเป็นใคร"
คำถามมากมายเกิดขึ้นในหัวหลังผมดูจบ
—ทำไมถึงต้อง depress power ฟร่ะ
—ทำไมต้องจิตแพทย์ฟร่ะ
—ทำไมต้องกวางฟร่ะ ทำไมต้องมีเพลงฟร่ะ
—ทำไมต้องโยงไปการเมืองฟร่ะ
—ทำไมต้อง "แอน" ฟร่ะ
เนื่องจากการโปรโมทของหนังช่างดูราวกับหนังเอามันส์เสียเหลือเกิน แต่น่าเสียดายที่กลายเป็นหนังตีความได้อย่างไม่น่าเชื่อ
และที่สำคัญคือหนังเรื่องนี้มันเอาเยอะซ่ะจนสงสัยว่าต้องการจะสื่ออะไรกันแน่
แน่นอนครับว่านี่จะเป็นหนังในมุมมองของผมหลังจากเรียบเรียงเนื้อเรื่องและปะติดปะต่อเรื่องราวออกมา
เนื่องจากเป็นหนังตีความ (มาก ๆ) และตอนจบทำออกมาได้น่าตบไปหน่อย ดังนั้นแล้วขอให้อ่านเป็นมุมมองหนึ่งละกันนะครับ555
ถ้าผมบอกกับทุกคนว่าเป็นนักเรียนโดยที่ใส่ชุดนักเรียนไปโรงเรียนพร้อมบัตรนักเรียน
"ทุกคนจะเชื่อว่าผมเป็นนักเรียนไหมครับ?"
งั้นถ้าผมเป็นพวกเรียนด้วยตนเองจนสามารถใช้งานได้แต่ไม่ได้ไปโรงเรียน ไม่ได้แต่งชุดนักเรียน หรือกระทั้งใบจบการศึกษา
"ทุกคนจะเชื่อว่าผมเป็นนักเรียนอยู่ไหมครับ?"
'และ' ถ้ามองให้ลึกลงไปอีกสักหน่อย
หากผมบอกชื่อของผมแก่ทุกคนและทุกคนก็เรียกผมด้วยชื่อนั้นอย่างเรียบง่ายไม่ซับซ้อน
แต่จุดเริ่มต้นของชื่อนั้นมันก็เพียงแค่ใครสักคนในครอบครัวของเราบอกกับเราไม่ใช่เหรอ...และตัวเราก็เชื่อว่านั่นคือชื่อของเราเสมอมา
—แล้วมันแปลกตรงไหนล่ะ ? มันก็แค่นามเรียกแทนตัวธรรมดาเพื่อใช้การสื่อสารนี่นา มันไม่มีของอย่างชื่อที่สลักในวิญญาณหรอกนะ
ใช่ครับ ความจริงมันก็แค่ของแค่นั้นแต่คุณคิดว่ามันเป็นชื่อของคุณจริง ๆ หรือเป็นเพียงชื่อที่คนอื่นตั้งให้คุณเหรอครับ
คำว่า "สัตว์สังคม" ของมนุษย์นั้นไม่ได้ได้มา เพราะ อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แต่เป็นเพราะการกระทำของแต่ละคนขึ้นอยู่กับคนอื่นทั้งสิ้น
หรือถ้าจะให้พูดก็คือ "ต้องการเป็นที่ถูกยอมรับ"
ถ้าให้ยกตัวอย่างที่น่าเหลือเชื่อสักนิดนึง หากคุณลองเล่นตลกเปลี่ยนบุคลิก เปลี่ยนวิธีการพูด สักหน่อยคุณจะยังเชื่อว่านั่นยังเป็นตัวคุณอยู่รึเปล่า
หรือหากคนอื่นบอกว่าคุณกำลังทำสิ่งที่ไม่ใช่ตัวคุณขึ้นมา คุณจะยังทำสิ่งนั้นต่อไหม
ใช่ครับ ความอิหยังแบบนั้นแหละครับที่ทำให้เราเหมือนจะรู้แต่ก็ไม่รู้อะไรเลยแม้กระทั้งตนเอง
นั่นเป็นความคิดที่ผมคิดได้ในตอนที่ดูช่วงแรกเรื่องนี้ครับ...หรืออาจจะเรียกว่าเป็นการขยายความจากคำโปรยตอนเปิดเรื่องก็เป็นได้
ตัวละครตอนเปิดเรื่องไม่รู้ว่าตนเป็นใครจนกระทั่งเสียงจากห้องข้าง ๆ บอกกับตัวละครตนนั้นว่าเขาคือ "แอน"
#2
ตัวละครแอน (ในคืนแรก) ได้ถูกพูดกรอกหูถึงสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะต้องเจอราวกับไม่อยากให้เอ่ยคำโต้แย้งใด ๆ
ใช่ครับ จากตรงนี้เราไม่จำเป็นต้องเชื่อก็ได้หรือไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่เราต้องเชื่อคำพูดของคนอื่นที่เกี่ยวกับตัวเรา
ทำไมเราถึงต้องชื่อแอนแล้วทำไมเราถึงจะเป็นแบบนั้น
จุดเริ่มต้นมันก็แค่เริ่มจากการที่เราเชื่อว่าเราเป็น "แอน" จริง ๆ
พอลองได้คิดแบบนั้นดูสักครั้งก็เหมือนกดเริ่มบทละครที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
ด้วยกรอบความคิดที่ว่า เพราะ เป็น "แอน" จึงต้องทำแบบนี้
เราเห็น "แอน" เป็นแบบนี้ เราจึงต้องทำแบบนี้
ฟังดูเหมือนเป็นปรัชญาที่ซับซ้อน แต่มันก็แค่เราไม่รู้ว่าเราเป็นใครจนกระทั่งคนอื่นมาบอกว่าเราเป็นใคร
เหมือนกับการที่เราถูกตั้งชื่อโดยใครสักคนหนึ่งหรือไม่ก็ค่านิยมความเป็นนักเรียนที่พูดในตอนแรก
ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่จุดเริ่มต้นที่เรียบง่ายนี้แต่เป็นหลังจากนั้นเล็กน้อย
การเชื่อมั่นในคำพูดของคนอื่นโดยที่ไม่ได้มาจากความตั้งใจของตนเองผลลัพธ์ที่ได้จึงเป็นสิ่งที่คลาสสิค
"เราเป็นใครกันแน่?"
พูดอีกแบบก็คือเราอยากจะเป็นแบบนี้เหรอวะ หรือไม่ก็ ไม่พอใจสภาพตอนนี้ของตนเอง
จึงเกิดความคิดต่อมาก็คือความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง
"ถ้าเราทำไม่เหมือนเดิมผลลัพธ์ก็จะไม่เหมือนเดิม"
เป็นความคิดที่ไม่ได้ผิดนัก แต่เสียดายที่มันดูไม่สามารถเป็นไปได้ในสถานการณ์นี้
เพราะแอนแต่ละคนไม่รู้เลยว่าสิ่งที่ตนกำลังทำอยู่เกิดจากความตั้งใจของตนจริง ๆ รึเปล่า
เพราะฉากแอนที่นั่งท่องบทก็มีบทพูดนี้อยู่หรือแม้กระทั่งฉากของวีที่แพลนกล้องออกมาก็มีสภาพเหมือนกำลังถ่ายทำกันอยู่
ราวกับจะสื่อว่าคำพูดนั้นมันก็แค่บทให้ตัวละครเชื่อว่าตนกำลังแก้ไขปัญหาหรือสถานการณ์ตรงหน้าได้ก็เท่านั้น
เนื่องจากความจริงบทก็ถูกเขียนออกมาเรียบร้อยทั้งหมดแล้ว
พฤติกรรมของแอนที่ออกมาในแต่ละคืนที่ผ่านไปก็เปรียบได้ดั่งแอนที่เชื่อว่าตนเป็นแอนที่มากยิ่งขึ้น
ไม่ต่างจากเด็กที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ใช้ชีวิตราวกับบทละครที่ถูกเขียนขึ้นจนไม่คิดว่าตนมี free will จริง ๆ รึเปล่า
(ถึงคิดไปก็ไม่ได้คำตอบหรอกครับ555
ลองคิดว่าอดีตคือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ของปัจจุบันดูนะครับ งั้นถ้าเราลองเอาตัวเองไปอยู่ในอนาคตสักจุดนึง เราก็คงมองเห็นปัจจุบันเป็นอดีตถูกไหมครับ
งั้นปัจจุบันก็คือสิ่งที่แก้ไขไม่ได้หรือก็คือถูกกำหนดมาแล้ว ฟังดูน่าเหลือเชื่อไหมละครับ555)
เพราะสุดท้ายแอนในคืนต่อ ๆ ไปแม้จะพูดว่าเราจะเปลี่ยนแปลงแต่ก็พูดประโยคเดิมเหมือน ๆ กันทุกครั้ง
"นี่ไม่ใช่เวลามาเล่นบทเป็นคนดี"
แอนเด็กน้อยก็เล่นตามรุ่นพี่ซ่ะสวยงามเลยล่ะครับ555
#3
จนแอนในคืนสุดท้ายก็คือแอนที่ไม่รู้ว่าตนควรจะเป็นแบบไหน หรือไม่ก็ ไม่มีบทละครต่อแล้ว
ก็ได้เลือกที่อยากจะลบทุกสิ่งที่เคยทำมา ลบทุกสิ่งที่เคยเป็น ไม่ใช่ไม่อยากเป็นตัวเองแค่ไม่รู้ว่านั่นใช่ตนเองจริง ๆ รึเปล่า จนอยากหนี
ปีศาจกวางหรือก็คือภาพจำของสิ่งที่มีชีวิตที่ไม่มีทางสู้หรืออ่อนแอที่สามารถตายได้ง่าย ๆ
แอนที่อยู่ต่อหน้ากวาง (ความอ่อนแอ) คือแอนที่ไม่อยากจะอ่อนแอจึงหนีหรือสู้
แอนที่เป็นปีศาจกวางเองก็ไม่ต้องการรับรู้ว่าตนเป็นใครก็อยากหนีจนขอแค่อยากให้ใครสักคนเป็นเราขึ้นมาจริง ๆ
สังเกตได้จากแม้ตนจะบอกว่าจะลบแอนทุกคนก็ตาม แต่สุดท้ายก็ให้คนอื่นเป็นแอนแทนอยู่ดี
แม้ว่าจะเป็นตัวเองแต่ก็กลัวการที่จะเป็นตัวเองเป็นความคิดที่คอยหลอกหลอนไปทุกที่อย่างตอนที่ดูเหมือนจะหนีได้ก็ตาม
ด้วยจุดเริ่มต้นที่แสนเรียบง่ายอย่างการที่เราไม่ได้ตั้งใจที่จะเป็นตัวเองจึงนำไปสู่ความสับสนจนเกิดความสงสัยตัวเองในที่สุด
นั่นเป็นความคิดที่ผมคิดว่าเป็นจุดที่ทำให้เกิดหนังเรื่องนี้ขึ้นมาครับ แม้ว่าจะไม่รู้ว่าทำไมปีศาจกวางถึงชื่อเวติโกก็เถอะครับ555
ฉากตอนจบที่นัยตาเห็นกวางอยู่นั้น ถ้าหากคิดต่อเสียหน่อยก็คงจะสื่อว่าให้เผชิญหน้ากับความกลัวได้แล้ว
(จริง ๆ เหมือนหนังอยากให้วนลูป แต่ถ้าแบบนั้นทำเอาผมรับไม่ได้เลยครับ555)
แค่เราจะเป็น "แอน" ด้วยความตั้งใจของตนเอง ไม่ว่าจะแอนรูปแบบไหนมันก็คือเราที่เป็นแบบนั้น
(การถามหาอัตตากับปัจเจกของตัวเองนี่มันระดับไม่ต่างจากการตามหา free will เลยนะครับ555)
ประเด็นก็คือผมอยากให้มันแสดงวิธีแก้ปัญหาจริง ๆ แทนที่มันจะนามธรรมแบบนี้ก็เลยขัดใจสุด ๆ ไปเลยละครับ
แต่สำหรับคนที่ไม่เคย depression ไปหาทางออกให้คนที่เป็นก็ไม่รู้ว่าจะใช้อ้างอิงได้ไหมหรืออาจจะเป็นการเสนอเหงือกมากเกินไปก็ได้ครับ
อย่างตอนคุณหมอที่เปรียบเสมือนด้านหนึ่งในจิตใจที่เฝ้าถามตัวเองว่าตนเองเป็นใคร และพูดเสนอทางออกว่าบางทีเราควรหายไปทั้งหมด ตอนนั้นมันก็เหมือนสภาพที่ยอมแพ้ต่อการถามตัวเองแล้วก็เป็นได้
เพราะแบบนั้นเราจะตัดไปสู่ประเด็นอื่นกันนะครับ555
คือถ้า point มันมีแค่นี้ (แนวคิดเชิงแบบนี้มันไม่ได้แปลกใหม่เท่าไหร่ในสายตาผมน่ะครับ) คำถามก็คือทำไมถึงนำเสนอให้เป็นจิตแพทย์ การเมือง ผู้ป่วย แอนหลายคน วนลูปด้วยล่ะ
ทั้ง ๆ ที่วิธีการนำเสนอเรื่องอย่างความสับสนในตัวเองน่าจะมีแบบอื่นที่เข้าใจง่ายและสามารถทำเป็นหนังฆาตกรรมได้อยู่
(อ้างอิงจากพล็อตนิยายของผมเอง555)
แต่เอาจริง ๆ คือเรื่องนี้ดูยังไงก็ไม่ใช่เรื่องใช้โรค DID แน่ ๆ (โรคหลายอัตลักษณ์) เพราะคนที่เป็นโรคนี้ไม่ใช่คนที่จะ depress ขนาดนี้
"escenario"
ความฝัน หนึ่งในเรื่องลึกลับของมนุษย์ที่พยายามจะหาคำตอบให้กับมันมาแสนนาน ทั้งกลไก ฉนวน และผลลัพธ์
ตอนนี้เราทำได้แค่เก็บข้อมูลไปได้เท่านั้นและได้เพียงแค่คาดการณืสิ่งต่าง ๆ ทางค่าสถิติตลอดมา
คำถามที่น่าสนใจของผมก็คือถ้าเราเป็นโรคหลายอัตลักษณ์แล้วฝัน ในความฝันที่เกิดขึ้นจะเก็บข้อมูลที่ความคิดนั้นมีอยู่มาสร้างสถานการณ์ในฝันด้วยวิธีการหนึ่ง
ซึ่งภูมิหลังของความคิดแทบไม่มีสิ่งใดเลยแล้วเช่นนี้มันจะดึงเอาความคิดของอัตลักษณ์อื่นมาได้รึเปล่าเพื่อเกิดฝันบางฝันขึ้น
งั้นมันก็เหมือนกับการเปลี่ยนอัตลักษณ์ระหว่างฝันอยู่ซึ่งน่าสนใจว่าตื่นขึ้นมาจะเป็นอย่างไร
แต่พักคำถามผมไว้แค่นั้น เพราะ เดี๋ยวมันจะยาว ประเด็นสำคัญก็คือทำไมหนังเรื่องนี้ถึงเลือกที่จะนำเสนอในรูปแบบความฝันมากกว่า
ในจังหวะก่อนตายหรือใกล้จะเสียชีวิต ร่างกายจะต่อต้านการเสียชีวิตอย่างรุนแรง เพราะฉะนั้นร่างกายจะลดการทำงานของส่วนอื่น ๆ ลงและเร่งให้หัวใจสูบฉีดเลือดมากขึ้น
สมองจังหวะนั้นจะลดการตอบสนองต่อปัจจุบันแต่มันก็ยังทำงานอยู่ ดังนั้นความคิดในส่วนความทรงจำจึงเป็นอะไรที่ดึงออกมาง่ายมากขึ้นนั่นเอง
แล้วพออยู่ในสภาพเจ้าหญิงนิทราสมองที่ยังทำงานอยู่นั้นก็ราวกับวนภาพซ้ำไปมาที่เกี่ยวกับตนเองในอดีตจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงเป็นการวนลูปความคิดที่เกี่ยวกับตนเอง
เพราะนั้นก็คืออดีต (ความทรงจำ) และสำหรับคนที่คิดลบการผูกมัดตนเองจึงเป็นสิ่งที่คิดถึงได้ง่าย
แต่ส่วนตัวผมมองว่ายังทำกลไกความฝันออกมาไม่ค่อยดีเท่าไหร่
อย่างแรกคือในฝันเราไม่อาจรับรู้ถึงเวลาได้ เพราะฉะนั้นการที่บอกพญาบาลคนสุดท้ายออกไปตอนเที่ยงคืนหรืออย่างมีนาฬิกาแล้วไม่รู้ตัวว่าฝันอยู่มันเป็นเรื่องที่ทางสถิติรับไม่ได้สุด ๆ 555
(และนั่นก็เป็นเหตุผลที่อยากดูอีกครั้ง เพราะ จะไปดูเวลาในเรื่องนี่แหละ)
แต่มันก็เกี่ยวข้องกับอย่างที่สองคือความฝันไม่ได้อิสระขนาดนี้ความฝันที่สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นหรือจบก่อนที่เราจะเริ่มฝันเสียอีก
แต่แน่นอนครับ การใส่ฉากที่เหมือนมีคนถ่ายทำอยู่นั้นก็เหมือนบอกกลาย ๆ ว่าไมันไม่ใช่การตัดสินใจแต่เป็นการเล่นไปตามเนื้อเรื่องของฝัน
หมอที่พูดว่าจะพาออกอะไรนั่นที่บอกอาจจะต้องไม่มีใครอยู่เลยก็เป็นเพียงความคิดดั่งเดิมของคนฝันเท่านั้น ไม่ได้เป็นทางออกจริง ๆ
และอย่างสุดท้ายพวกพยาบาลกับแอนที่นั่งท่องบทเนี่ยมันดูประหลาดไปกับสิ่งเรียกว่าความฝันนะ ความฝันมันสร้างกลไกที่ราวกับมีอัตตาได้ยากมาก
แต่ถ้าคิดว่าพยาบาลที่เป็นแอนที่เป็นแอนจริง ๆ ล่ะ ราวกับสภาพแวดล้อม สังคม สิ่งที่เป็นอยู่คือปัจจัยที่ทำให้เลือกบุคลิคต่าง ๆ ออกมาซึ่งนั่นก็จัดว่าเป็นอดีตของแอน
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย