1 ก.ค. 2023 เวลา 18:06 • สิ่งแวดล้อม

น้ำตาจิไหล ..พลายศักดิ์สุรินทร์กลับถึงแผ่นดินไทยเราแล้ว ยินดีต้อนรับกลับบ้านนะ:)

ปี 2544 จากไปอยู่ศรีลังกา ตั้งแต่เป็นลูกช้าง อายุไม่ถึง 10 ปี
ตามคำขอของรัฐบาลศรีลังกาได้ขอลูกช้างจากไทย
ในฐานะทูตสันติไมตรี พร้อมเปลี่ยนชื่อพลายเป็น"มุธุราชา"*
มุธุราชาในงานแห่พระเขี้ยวแก้ว
มุธุราชา เป็นช้างพลายอายุราว 30 ปี น้ำหนัก 3.5 ตัน มีคชลักษณ์โดดเด่น งางามโค้งยาวเกือบ 1 เมตร และถูกนำไปฝึก เพื่อใช้ในการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ในงานแห่พระธาตุเขี้ยวแก้ว งานใหญ่ประจำปีของศรีลังกา
ช้างมีลักษณะ งาอุ้มบาตร
โดยรัฐบาลศรีลังกา ได้โอนกรรมสิทธิ์ช้างเชือกนี้ให้กับ “วัดคันเดวิหาร” (Kande Vihara) เป็นผู้รับช่วงดูแลต่อ
จากนั้นมา เรื่องราวของพลายศักดิ์สุรินทร์ ก็ได้หายไปจากการรับรู้ของคนไทย...
ปี 2565 "ช้างเชือกนี้ไม่ได้รับการดูแล ถูกใช้แรงงานหนัก มีสภาพผอมโซ ขาขวาพิการไม่สามารถงอได้ ควรได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเร่งด่วน" คำร้องเรียนจากองค์กร RARE องค์การด้านการพิทักษ์สิทธิสัตว์ในศรีลังกา ที่กล่าวถึงมุธุราชา ปลุกกระแสให้เรียกร้องทวงคืน ทูตสันตไมตรีเชือกนี้กลับไทย ในกลุ่มสื่อมวลชน ชาวไทย และชาวโลกอย่างกว้างขวาง
ถูกล่ามโซ่ขาตลอดเวลา มีบาดแผลฝีที่สะโพก
และจากประสานหลักโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทยรัฐบาลศรีลังกายินยอมให้พลายศักดิ์สุรินทร์ กลับบ้าน :)
ในการขนย้ายครั้งนี้ถือเป็นงานช้างจริง ๆ มีการใช้กรงสร้างพิเศษ น้ำหนักถึง 3.5 ตัน พร้อมส่ง 2 ควาญช้างไทยมือฉมัง ไปทำความคุ้นเคยกับพลายศักดิ์สุรินทร์
และฝึกซ้อมช้างเดินเข้ากรงเพื่อให้คุ้นชิน เพื่อความปลอดภัยสูงสุด
เครื่องบินที่สามารถขนส่งกรงขนาดใหญ่ได้มีไม่กี่ลำบนโลก และมักถูกใช้ในการขนส่งอาวุธสงครามหรือรถถัง ทำให้รอคิวขนส่งเครื่องบินอยู่นานระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ข่าวดี พรุ่งนี้ พลายศักดิ์สุรินทร์ จะถูกนำยังสนามบินโคลัมโบ ศรีลังกา ก่อนจะนำช้างขึ้นเครื่องบิน Ilyushin IL-76 (อิลยูชิน อิล-76) เดินทางกลับสู่ประเทศไทย ณ สนามบินเชียงใหม่ ในช่วงเวลาประมาณ 13.00 น. ของวันที่ 2 ก.ค. 66 :)
เครดิตภาพจาก คมชัดลึก
กลับมาสู่อ้อมกอดของประเทศไทยนะ พลายศักดิ์สุรินทร์ พวกเรารอต้อนรับ :O
(และเราก็เชื่อว่า คุณยายฮานาโกะ ก็จะมาร่วมอวยพรการกลับมาของเธอด้วย:)
ด้วยจิตอนุรักษ์
.............กวีธารา.............
ร้านโปสการ์ดและของที่ระลึก ณ ตลาดน้ำคลองลัดมะยมโซน 7
ในนามของช้าง ขอขอบคุณมาก คุณวราวุธ และคุณกัญจนา ศิลปอาชา
และขอบคุณข้อมูล และภาพอ้างอิงจาก
-มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร
-ไทยพีบีเอส
-ไทยบีบีซีนิวส์
-ไทยรัฐออนไลน์
โฆษณา