6 ก.ค. 2023 เวลา 02:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ

หลัก 10 ประการ ในการลงทุน คำแนะนำจาก ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

| MONEY LAB เล่าเรื่องการเงิน ที่โรงเรียนไม่เคยสอน
หากพูดถึงคำว่า “หลักบัญญัติ 10 ประการ”
สิ่งแรกที่เข้ามาในหัวของหลาย ๆ คนก็น่าจะเป็น หลักบัญญัติ 10 ประการ ซึ่งเป็นหลักคำสอน ที่ผู้นับถือศาสนาคริสต์หลาย ๆ คนปฏิบัติตามกัน
1
แต่รู้หรือไม่ว่า ในโลกของการลงทุนเอง ก็มีหลักบัญญัติ 10 ประการ เช่นเดียวกัน โดยเจ้าของหลักการเหล่านี้ก็คือ
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร บิดาแห่งการลงทุนแบบเน้นคุณค่าชาวไทย
1
แล้วหลักบัญญัติ 10 ประการในการลงทุนนี้ มีอะไรบ้าง ? MoneyLab จะเล่าเรื่องเงิน ที่โรงเรียนไม่เคยสอนให้เข้าใจ
หลักบัญญัติ 10 ประการ ที่ผู้ที่กำลังจะเริ่มลงทุน หรือนักลงทุนมากประสบการณ์ ควรปฏิบัติตาม ประกอบไปด้วย
1. ศึกษาหาความรู้ก่อนที่จะลงทุน
1
ก่อนที่จะเริ่มต้นลงทุนนั้น เราก็ควรต้องหาความรู้ เพื่อเข้าใจพื้นฐานของการลงทุนเสียก่อน
การมีพื้นฐานความรู้ด้านการลงทุนที่ดี ก็จะเป็นตัวช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์กิจการที่เราจะลงทุนได้ดีขึ้น
2. ลงทุนให้ได้เงินปันผล เพียงพอต่อรายจ่ายประจำปี
2
เป้าหมายของการลงทุนของหลาย ๆ คน ก็อาจจะเพื่อให้ตัวเองสามารถมีอิสรภาพทางการเงินได้ เพราะพอมีอิสรภาพทางการเงินแล้ว ก็จะสามารถมีอิสรภาพทางเวลา ให้เราเลือกใช้ชีวิตได้ตามที่เราปรารถนาอย่างเต็มที่
ซึ่งถ้าหากเราอยากมีอิสรภาพทางการเงิน ผลตอบแทนจากการลงทุน ในรูปของเงินปันผลที่เราได้รับในแต่ละปี ก็ควรมากกว่ารายจ่ายต่อปีของเรา
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีค่าใช้จ่ายต่อปีเท่ากับ 1,000,000 บาท หากเราอยากมีอิสรภาพทางการเงิน เงินปันผลที่เราควรได้รับในแต่ละปี ก็ควรมากกว่า 1,000,000 บาท
3. ลงทุนในสินทรัพย์ ที่ให้ผลตอบแทนที่ดี แบบทบต้น เป็นเวลานาน
2
ยิ่งเราเริ่มลงทุนได้เร็ว สามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้สูง และมีระยะเวลาในการลงทุนที่ยาวนานพอ เงินของเราก็จะเติบโตแบบทบต้น จนวันหนึ่ง เงินก้อนแรกที่เราลงทุนไป ก็อาจเติบโตไปมาก อีกหลายเท่าตัวได้
4
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเก็บออมเงินเพื่อนำไปลงทุน เดือนละ 3,000 บาททุกเดือน ในกองทุนหุ้นที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 10% ต่อปี เป็นเวลา 30 ปี
ในสิ้นปีที่ 30 เงินต้นที่เราลงทุนไป จำนวน 1,080,000 บาท จะเติบโตกลายเป็น 6,781,463 บาท
หรือก็คือ เงินต้นของเรา จะเติบโตได้ถึง 6 เท่า
4. พยายามอย่าขาดทุน
1
ก่อนที่จะลงทุนในสินทรัพย์ไหนก็ตาม เราก็ควรต้องมีความเข้าใจในสินทรัพย์นั้นเป็นอย่างดี
โดยเราจะต้องประเมิน ทั้งผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุน และความเสี่ยงที่มีให้ได้ ก่อนที่จะลงทุนทุกครั้ง
แน่นอนว่า การลงทุนนั้นมาคู่กับความเสี่ยงที่จะขาดทุนอยู่แล้ว แต่เราก็ควรต้องจำกัดความเสี่ยงในการขาดทุน ให้เหลือน้อยที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้
5. กระจายความเสี่ยงในการลงทุน
1
วิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงที่ดีอีกวิธีหนึ่งก็คือ การกระจายความเสี่ยง ด้วยการลงทุนในหุ้นอย่างน้อย 5 ตัว
วิธีนี้จะช่วยเราในการลดความกระจุกตัว ของการลงทุนในหุ้นตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไป
สมมติว่า เรามีเงินพร้อมลงทุนอยู่ 100,000 บาท
เราก็อาจจะลงทุนในหุ้น 10 ตัว ตัวละ 10,000 บาท
เพื่อให้พอร์ตการลงทุน มีการกระจายความเสี่ยงอย่างพอดี
3
หรือเราอาจจะตั้งกฎการลงทุนของเราไว้เลยก็ได้ว่า จะไม่ลงทุนในหุ้นตัวเดียว ในสัดส่วนที่เกิน 10% ของมูลค่าพอร์ตทั้งหมด
6. ในระยะยาว ราคาหุ้นจะขึ้นลง ตามผลกำไรของบริษัทเสมอ
1
ในระยะสั้น ราคาของหุ้นจะมีความผันผวนอยู่ตลอด
แต่สำหรับหุ้นของบริษัทที่ดี มีผลประกอบการที่เติบโตอย่างสม่ำเสมอ ในระยะยาวหรือประมาณ 3-4 ปี ราคาหุ้นของบริษัทนั้น ก็มักจะปรับขึ้นไปสะท้อนมูลค่าที่แท้จริง จากผลประกอบการที่บริษัททำได้นั่นเอง
7. ซื้อหุ้นของบริษัทที่ดี ในช่วงที่ราคาหุ้นตกต่ำผิดปกติ
2
ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ หุ้นของบริษัทที่ดีหลายบริษัท มักจะถูกเทขาย ในราคาที่ถูกกว่ามูลค่าที่แท้จริงอยู่มาก
หากเรานำเงินไปลงทุนในหุ้นของบริษัทเหล่านี้ และอดทนถือไว้ จนวิกฤติผ่านพ้นไปแล้ว
สุดท้าย ราคาหุ้นของบริษัทที่ดี ก็จะฟื้นคืนกลับมาสู่มูลค่าที่แท้จริง และเราก็จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูง
8. เก็บเงินสดไว้กับตัว ให้เท่ากับรายจ่ายประจำ อย่างน้อย 6 เดือน
2
หลักบัญญัติข้อนี้ มีไว้เพื่อช่วยป้องกันเรา จากความเสี่ยงอะไรก็ตาม ที่อาจจะเกิดขึ้นแบบกะทันหัน กับชีวิตของเรา
การมีเงินสดสำรองอยู่จำนวนหนึ่ง ก็จะช่วยสนับสนุน ให้เราผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้
ดังนั้น เพื่อความไม่ประมาท เราก็ควรเก็บเงินสดสำรองไว้ อย่างน้อย เท่ากับรายจ่าย 6 เดือน หรือถ้าทำได้ ก็ควรสำรองไว้ให้ได้ถึง 1 ปี
1
9. ใจเย็น อดทน และมีเหตุผล
1
การจะเป็นนักลงทุนที่สามารถประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว เราก็ควรต้องมีความเข้าใจ ในเรื่องจิตวิทยาการลงทุนด้วย
การที่เราเข้าใจในเรื่องจิตวิทยาการลงทุน จะทำให้เราลงทุนได้ด้วยความใจเย็น มีเหตุมีผลในการตัดสินใจ และสามารถอดทนต่อช่วงเวลาที่สถานการณ์ต่าง ๆ ไม่เป็นใจกับการลงทุนของเราได้
หากเราเข้าใจเรื่องจิตวิทยาการลงทุนอย่างถ่องแท้ ก็จะทำให้เราเป็นนักลงทุนที่เก่งมากขึ้น
10. ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เกินความจำเป็น
1
ในช่วงแรก ที่เราเก็บออมเงินเพื่อลงทุนนั้น เรายังไม่ควรนำเงินที่เราได้มาจากการทำงาน หรือผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน ไปใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น มากจนเกินไป
เพราะจะทำให้ เรามีเงินต้นที่จะนำมาลงทุนต่อยอดน้อยลง ซึ่งจะส่งผลต่อการสร้างความมั่งคั่ง และการมีอิสรภาพทางการเงินของเรา ในระยะยาว
ดังนั้น เราจึงควรสร้างความมั่งคั่งขึ้นมาก่อน แล้วจึงค่อยนำผลตอบแทนที่ได้จากความมั่งคั่งนี้ ไปใช้จ่ายฟุ่มเฟือยตามความปรารถนาของเรา
อ่านมาถึงตรงนี้ ก็เชื่อว่าเราคงพอเข้าใจถึง หลักบัญญัติทั้ง 10 ประการ ของการลงทุน ที่ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร แนะนำมา กันดีขึ้นแล้ว
1
ซึ่งถ้าหากเรานำหลักบัญญัติทั้ง 10 ประการนี้ มาปฏิบัติตามอย่างจริงจัง ก็น่าจะช่วยให้เรา เป็นนักลงทุนที่ดีขึ้น และสร้างความมั่งคั่งให้กับชีวิตของเราได้ อย่างยั่งยืน..
References
-หนังสือ เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธุ์แท้ (2002) โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-หนังสือ The Intelligent Investor (1949) โดย Benjamin Graham
โฆษณา