6 ก.ค. 2023 เวลา 09:13 • การศึกษา

#ผู้ต้องหาไม่ตอบคำถามใดขอให้การในชั้นศาลเท่านั้น ทำได้จริงๆ หรอ

ทำได้สิ..ผู้กระทำความผิดมีสิทธิที่จะไม่พูด ไม่ตอบคำถาม ไม่ให้การใดกับคำถามของตำรวจ
สิทธิดังกล่าวตำรวจก็มีหน้าที่ต้องแจ้งแก่ผู้ต้องหาทราบก่อนถามคำให้การด้วยว่า “ผู้ต้องหามีสิทธิจะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้าผู้ต้องหาให้การ ถ้อยคำที่ให้การนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้”
หลักการนี้มาจากแนวความคิดที่ว่า “คนเรามีสิทธิจะฆ่าตัวเองได้” คนอื่นไม่มีสิทธิทำให้เราตาย หรือบังคับให้เราทำร้ายตัวเอง
เมื่อนำหลักการนี้มาปรับกับหลักกฎหมายก็เกิดเป็นแนวความคิดที่ว่า “ผู้กระทำความผิดมีสิทธิจะไม่ปรักปรำตนเอง” (Right against self-incrimination) หมายความว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิที่จะไม่พูดว่าตนเองกระทำความผิด ถ้าพูดแล้วตนเองจะต้องถูกดำเนินคดีหรือได้รับโทษ เขามีสิทธิปฏิเสธ หรือจะให้การเท็จอย่างไรก็ได้โดยไม่มีความผิดเพราะสิ่งนี้คือสิทธิของผู้ต้องหา
แต่อย่างไรก็ดี หากผู้ต้องหาให้การในฐานะพยาน ย่อมไม่ใช่การให้การในฐานะผู้ต้องหา เช่นนี้แล้วจะนำหลักการข้างต้นดังกล่าวมาปรับใช้ไม่ได้ กรณีนี้หากให้การเท็จในฐานะพยานย่อมเป็นความผิดอาญาฐานแจ้งความเท็จด้วยนะ
อ้างอิงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134/4, ฎ.1706/2546
#นักกฎหมาย #ลอว์ #เนติบัณฑิต #หนังสือกฎหมาย #กฎหมายน่ารู้ #lawstudent #lawschool #law #BoxOfLaws
โฆษณา