11 ส.ค. 2023 เวลา 00:00 • หนังสือ

จริงไหมที่เราไม่ควรบังคับเด็กให้เรียนทุกวิชา เพราะหลายวิชา ไม่ได้ใช้จริงในชีวิต

เด็กๆ ควรจะเป็นคนเลือกเองว่าจะเรียนอะไร
1
ช่วงหลายปีนี้ได้ยินคำกล่าวว่า เราไม่ควรบังคับเด็กให้เรียนทุกวิชา เพราะหลายวิชาไม่ได้ใช้จริงในชีวิต เด็กๆ ควรจะเป็นคนเลือกเองว่าจะเรียนอะไร และนี่ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่กลายเป็นประเด็นทางการเมือง
1
บทความนี้ไม่ใช่บทความการเมือง ผมไม่สนใจจะถกเรื่องการเมือง เพราะนี่คือเรื่องการศึกษาของลูกหลานชาวไทย ไม่ว่าจะอยู่ฝ่ายไหน เชื่ออุดมคติใด ก็ต้องการให้ลูกหลานพัฒนาทางการศึกษามากที่สุด ใช่ไหม? เนื่องจากผมมีประสบการณ์เป็นพ่อคน เคยเลี้ยงลูกจนจบการศึกษา อีกทั้งผมเองทำงานในวงการที่ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา จึงอยากแชร์มุมมองอีกมุมหนึ่งที่อาจเป็นประโยชน์ต่อพ่อแม่ และเด็กๆ ที่อาจกำลังสับสน
1
เริ่มที่ข้อเท็จจริงก่อน
1
ความจริงคือมีหลายวิชาที่เราจะไม่ได้ใช้ในชีวิตจริง ความจริงคือหากเราคำนวณชั่วโมงที่ใช้ไปกับการเรียนวิชาที่ไม่ได้ใช้ ก็มีเวลาที่ 'สูญเปล่า' จริงๆ
1
แต่มองแบบนี้เป็นการมองมุมเดียว เพราะเราจะรู้ล่วงหน้าได้ยังไงว่า วิชาที่เรียนไปในวันนี้จะสูญเปล่าหรือไม่สูญเปล่า
1
รู้ได้อย่างไรว่าถ้าเรียน sin cos tan ในวันนี้แล้วจะไม่ได้ใช้จริงในวันหน้า? ในรูปอื่น? หรือปลูกฝังกระบวนคิดของเราในอนาคต?
1
รู้ได้อย่างไรว่าถ้าเรียนวิชาประวัติศาสตร์โบราณคร่ำครึในวันนี้แล้ว สมองในวันหน้าจะไม่พัฒนาเพราะวิชาที่ดูไร้ประโยชน์ในวันนี้?
1
ผมเคยยกตัวอย่างว่า นาย ก. จะแต่งงานกับนางสาวไข่ รู้ได้ยังไงว่านางสาวไข่เหมาะกับเขาที่สุด ไม่ใช่นางสาวเดือน นางสาวมะลิ นางสาวลัดดา นางสาวชมพู่...?
2
คำตอบก็คือนาย ก. ต้องเรียนรู้นิสัยใจคอของนางสาวไข่ นางสาวเดือน นางสาวมะลิ นางสาวลัดดา นางสาวชมพู่ ก่อนใช่ไหม?
2
แล้วจะรู้ได้ยังไงถ้าไม่ศึกษานางสาวเดือน นางสาวมะลิ นางสาวลัดดา นางสาวชมพู่ ก่อน
2
นักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งที่เป็นไอดอลของไอน์สไตน์คือ ไมเคิล ฟาราเดย์ เป็นตัวอย่างของคนที่ไต่เต้าขึ้นมาจากชั้นล่างสุด ฟาราเดย์เกิดในครอบครัวยากจน เรียนไม่จบชั้นประถม เขาทำงานเป็นลูกมือในร้านทำปกหนังสือ จึงถือโอกาสอ่านหนังสือทั้งหมดที่มาเข้าปก เขาเรียนเรื่องวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง และค้นคว้าทดลองเรื่องกระแสไฟฟ้าจนกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ
4
ครั้งหนึ่งฟาราเดย์สาธิตกลไกการทำงานของกระแสไฟฟ้ากับแม่เหล็กให้นายกรัฐมนตรีอังกฤษดู นายกฯถามว่า “แล้วมันใช้ประโยชน์อะไรได้?” ฟาราเดย์สวนกลับด้วยคำถามว่า “แล้วทารกแรกเกิดใช้ประโยชน์อะไรได้?”
3
เราไม่มีทางรู้ว่า 'ทารก' ที่เราปฏิเสธในวันนี้ จะมีประโยชน์อะไรในอนาคต
1
การปฏิเสธความรู้โดยมองแค่ผิวเผิน จะสร้างกรอบให้เราก่อนที่จะเริ่มต้นชีวิต ยกตัวอย่าง เช่น เราเลือกไม่เรียนประวัติศาสตร์ ก็ปิดประตูชีวิตอีกหลายบาน ถ้าใครคนหนึ่งปฏิเสธวิชาดาราศาสตร์ ก็ปิดประตูนักบินอวกาศไปเรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่เพราะเขาไม่มีความสามารถพอ แต่เพราะเขาไม่มีข้อมูลที่ทำให้เขาอยากเป็นนักบินอวกาศ
5
หลายวิชาไม่ได้มีประโยชน์ทันที ไม่ได้มีประโยชน์โดยตรง ไม่ได้นำไปใช้โดยตรง แต่มีประโยชน์ทางอ้อม วางรากฐานหรือต่อยอดให้ตัวเราในวันหนึ่ง
2
มนุษย์เราไม่ได้มีชีวิตแค่ทำงานใดงานหนึ่ง มันยังมีเรื่องความเข้าใจชีวิต วิสัยทัศน์ โลกทัศน์ ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้มาจากความรู้หลากหลาย
5
หมอคนหนึ่งจะผ่าตัดหัวใจคน ต้องรู้มากกว่าหัวใจ ต้องรู้เรื่องพื้นฐานของร่างกายคน เรื่องชีววิทยา เรื่องการทำงานของยา ฯลฯ
1
จะเป็นเจ้าของบริษัท ก็ต้องรอบรู้เกินสินค้าที่มีอยู่ในมือ ต้องสามารถมองไปไกล เข้าใจโลก เข้าใจการเมือง เข้าใจเทคโนโลยีต่างๆ ฯลฯ ไม่เช่นนั้นก็อย่าหวังว่าจะไปรอดในโลกที่การแข่งขั้นสูงขึ้นทุกวัน
1
การเรียนรู้กว้างๆ ทุกสาย ทำให้เรามีข้อมูลมากขึ้น ข้อมูลมากขึ้นคือทางเลือกมากขึ้น สมองพัฒนาได้ไกลขึ้น
1
คนที่ประสบความสำเร็จไม่ใช่เพราะเขาฉลาดกว่า แต่เพราะเขามีข้อมูลมาใช้งานมากกว่า
1
ลองดูประเทศเพื่อนบ้านของเราคือสิงคโปร์ เรียนหนักกว่าเด็กไทยร้อยเท่า เด็กไม่มีการเลือกวิชา เพราะเขารู้ว่าจะอยู่รอดในสังคมโลก ต้องรู้มากกว่าคนอื่น
4
ศาสตร์หลายวิชามองเผินๆ ไม่มีประโยชน์อะไร แต่มันเป็นรากฐานให้เราในวันข้างหน้า ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
4
อุดมคติต้องมาพร้อมกับความรู้หลากหลาย เพราะความรู้หลากหลายคือการสร้างสังคมที่สมบูรณ์ และการเรียนไม่มีวันจบ ต้องเรียนตลอดชีวิต ดังนั้น ระวัง! อย่าคิดแต่จะใช้ชีวิตแบบสบายๆ ท้ายที่สุดแล้ว เราอาจตื่นขึ้นมาพบตัวเองเดินตามรอยเท้าคนอื่นๆ ที่นำหน้าเราอยู่ไกลลิบ
1
โฆษณา