Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Advance Cool Technology
•
ติดตาม
16 ก.ค. 2023 เวลา 11:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา Chiller
สำหรับระบบปรับอากาศ ในอาคารพาณิชย์ อุตสาหกรรม และแม้แต่ที่อยู่อาศัย ล้วนมี "ราคา" ตั้งแต่การติดตั้ง ไปจนถึงการบำรุงรักษาด้วยกันทั้งสิ้น
โดยเฉพาะในระดับอาคารเชิงพาณิชย์ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม "ชิลเลอร์" ถือเป็นต้นทุนที่สูง สำหรับเพื่อใช้สร้างความเย็น และควบคุมอุณหภูมิ ทั้งต้นทุนแรกเริ่ม ออกแบบ ติดตั้ง และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ไปจนถึงค่าพลังงาน และอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ "การบำรุงรักษา" เป็นประจำ
บทความนี้เราจะมาพิจารณาค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาเครื่องทำความเย็น
• ค่าติดตั้งชิลเลอร์
ราคาเริ่มต้นของการติดตั้งชิลเลอร์ จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับขนาด และประเภทของชิลเลอร์ที่ต้องการ ตลอดจนความซับซ้อนของการติดตั้ง หากเป็นการติดตั้งในอาคารใหม่ หรือวางระบบปรับอากาศใหม่ นอกจากต้นทุนของเครื่องชิลเลอร์แล้ว ยังต้องพิจารณาในเรื่องต้นทุนการติดตั้ง ออกแบบ ผู้รับเหมา และวัสดุอื่นๆ อีกด้วย
• ค่าบำรุงรักษา
ค่าบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่องของเครื่องทำความเย็นมีความสำคัญยิ่งกว่าที่จะต้องพิจารณา ราคาค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องทำความเย็น อายุการใช้งาน และความซับซ้อนของระบบ โดยทั่วไป
การบำรุงรักษาเครื่องทำความเย็น หรือ ชิลเลอร์ อย่างสม่ำเสมอ ส่งผลดีกับระบบปรับอากาศที่จะสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนด้านพลังงาน สร้างความปลอดภัยแก่บุคลากร ธุรกิจ และทรัพย์สิน โดยการบำรุงรักษาชิลเลอร์ จะช่วยยืดอายุการใช้งานของระบบปรับอากาศ ลดโอกาสเสียหายอันนำไปสู่การซ่อมแซมที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า หรือไปถึงจุดที่ต้องเปลี่ยนเครื่องทำความเย็น และระบบปรับอากาศใหม่ทั้งหมด
การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance)
เป็นการบำรุงรักษาตามวาระหรือระยะเวลาการใช้งานที่กำหนด เพื่อรักษาสภาพทำงานของชิลเลอร์ และระบบปรับอากาศให้คงประสิทธิภาพไว้ดีที่สุด โดยทั่วไปแผนงานบำรุงรักษา และดำเนินการ จะสามารถแบ่งได้เป็น แผนงานประจำเดือน ประจำ 3 เดือน ประจำ 6 เดือน และประจำปี ตามความเหมาะสม
ประโยชน์ของการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
• สามารถใช้เป็นข้อมูลในอนาคต เพื่อการวางแผน กำหนดการซ่อมบำรุงได้
• ลดความเสียหาย ลดเวลาการหยุดชะงักที่ส่งผลต่อการผลิต ดำเนินการของธุรกิจ
• ลดค่าใช้จ่าย ก่อนปัญหาจะใหญ่ขึ้น
• ยืดอายุการทำงานของเครื่องทำความเย็น
โดยแบ่งประเภทงานตามตัวอย่างต่อไปนี้
• งานตรวจสอบเครื่องจักรและอุปกรณ์ (การวัดเสียง วัดความสั่นสะเทือน แรงดัน ฯลฯ)
• งานทำความสะอาด
• งานปรับแต่ง ปรับตั้ง
• งานหล่อลื่น (เปลี่ยนถ่าย เติมน้ำมันหล่อลื่น, จารบี)
• งานระบบไฟฟ้า ปะปา
• งานควบคุมการจ้างซ่อม
• งานตรวจสอบวัดค่าพลังงาน
สำหรับ ชิลเลอร์ (Chiller Unit) สามารถแบ่งการตรวจสอบและบำรุงรักษาได้ ดังนี้
• ตรวจบันทึกค่าอุณหภูมิและความดันของน้ำเย็น/ความดันและอุณหภูมิของสารทำความเย็น ด้านเข้า และออกของ Evaporator และ Condenser
• ค่าแรงดันไฟฟ้า/กระแสไฟฟ้า/กำลังไฟฟ้า
• ชั่วโมงการทำงาน
• ค่าพิกัดการทำงานของเครื่อง (% Load)
• ทำความสะอาดภายนอกตัวเครื่อง
• ตรวจเช็คสภาพการไหลของน้ำจากแรงดันตกคร่อม
• ทำความสะอาดตู้ทำน้ำเย็น และตู้คอนโทรล
• ตรวจสอบความผิดปกติของเสียง การสั่นสะเทือน
• ตรวจสอบชุดสตาร์ทและคอนโทรล
• ตรวจสอบการทำงานระบบน้ำมันและสารทำความเย็น
• เปลี่ยนถ่ายน้ำยา และน้ำมันคอมเพรสเซอร์
• เปลี่ยนไส้กรองอากาศ ไส้กรองน้ำยา Filter Dryer Stainer
นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์อื่นในระบบทำความเย็นที่ต้องตรวจสอบ และบำรุงรักษาอย่างเป็นประจำ เช่น
• เครื่องส่งลมเย็น Fan coil / AHU
• เครื่องสูบน้ำเย็น (Chill/Cond/Water Pump)
• พัดลมระบายอากาศ (Exhaust Fan)
• หอผึ่งน้ำ/หอหล่อเย็น (Cooling Tower) เป็นต้น
ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอื่นๆ
• ค่าน้ำยาเคมีระบบ (ป้องกันตะกรัน สนิม ตะไคร่น้ำ)
• ค่าน้ำยาทำความสะอาดเครื่องทำความเย็น (Chiller)
• ค่าเปลี่ยนถ่ายน้ำมันคอมเพรสเซอร์ ไส้กรองน้ำมัน,สารทำความเย็น
• เครื่องมือซ่อมบำรุงรักษา/อำนวยความสะดวก เช่น เครื่องมือวัดอุณหภูมิอินฟราเรด เครื่องมือตรวจสอบรอยรั่ว ฯลฯ
• ค่าใช้จ่ายรายการวัสดุ อุปกรณ์สิ้นเปลือง เช่น สีทากันสนิม ฉนวน กาว อุปกรณ์ทำความสะอาดอื่นๆ เป็นต้น
โดยผู้ตรวจสอบ บำรุงรักษาระบบทำความเย็น ต้องจัดทำรายงานประจำเดือน
• สรุป
• ใบรายงานผลการตรวจเช็คสภาพเครื่องจักร อุปกรณ์
• ใบบันทึกการเดินระบบประจำวัน
• ใบรายงานการซ่อมแซม แก้ไข
• ใบรายงานแจ้งซ่อม
• แผนงานเดือนถัดไป
สรุปแล้ว เครื่องทำความเย็น และ ชิลเลอร์ แม้จะมีต้นทุนที่สูงและมีความซับซ้อน แต่ก็สามารถให้ประโยชน์อย่างมากในแง่ของการควบคุมอุณหภูมิ แต่สิ่งสำคัญคือต้องพิจารณาเรื่องการจัดการต้นทุนการติดตั้งล่วงหน้าและค่าบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่องของเครื่องทำความเย็น ไปจนถึงต้นทุนการใช้พลังงาน
รวมถึงค่าซ่อมแซมและค่าเปลี่ยนอุปกรณ์ที่อาจเกิดขึ้นด้วย การบำรุงรักษาที่เหมาะสมสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องทำความเย็น และช่วยให้มั่นใจว่าระบบปรับอากาศจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และต่อเนื่อง
ดังนั้นการหมั่นตรวจสอบสภาพชิลเลอร์ และระบบปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ ถือว่าเป็นสิ่งที่เจ้าของธุรกิจไม่ควรมองข้าม ถือเป็นจุดเล็กๆ แต่มีความสำคัญไม่น้อยทีเดียว ที่จะเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
หลังจากเช็คลิสต์รายการตรวจสอบสภาพชิลเลอร์ในเบื้องต้นแล้ว หากพบว่ามีชิ้นส่วน หรือ อุปกรณ์ชำรุด บกพร่อง ควรดำเนินการแก้ไข และบำรุงรักษาในทันที โดยสามารถเรียกใช้บริการจากผู้ดูแลระบบ และมีความเชี่ยวชาญระบบชิลเลอร์ และระบบปรับอากาศ
𝗔𝗖𝗧 : 𝗔𝗱𝘃𝗮𝗻𝗰𝗲 𝗖𝗼𝗼𝗹 𝗧𝗲𝗰𝗵𝗻𝗼𝗹𝗼𝗴𝘆 พร้อมให้บริการตั้งแต่ การออกแบบ ติดตั้งระบบปรับอากาศ ระบบคูลลิ่งทาวเวอร์ ระบบชิลเลอร์ ในอาคาร สำนักงาน และโรงงานอุสาหกรรม ด้วยทีมงานวิศวกรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และฝ่ายบริการ
ที่พร้อมคัดสรรชิ้นส่วนและอุปกรณ์คุณภาพดีตามมาตรฐานสากล มาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมกับอาคาร เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด และการประหยัดพลังงาน
พร้อมบริการหลังการขาย และการบริการซ่อมบำรุง-รักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) ด้วยประสบการณ์มากกว่า 30 ปีในการออกแบบระบบปรับอากาศทุกประเภทธุรกิจ ทั้งในและต่างประเทศ ติดต่อเราเลยตอนนี้ !
Line id : @advancecool หรือคลิก
https://lin.ee/Uv6td2a
Website :
http://www.advance-cool.com/
Email :
info@advance-cool.com
#ระบบปรับอากาศ #HVAC #ออกแบบระบบปรับอากาศ #ติดตั้งระบบปรับอากาศ #ระบบปรับอากาศอาคารใหญ่ #ระบบปรับอากาศภายในอาคาร #รับเหมาติดตั้งระบบปรับอากาศ
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย