22 ก.ค. 2023 เวลา 11:13 • ข่าวรอบโลก
จีน

แผนปราบโรงเรียนกวดวิชาของจีนล้มเหลว คอร์สกวดวิชาเถื่อนผุดเป็นดอกเห็ด...

..
ใกล้ครบรอบสองปี ที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง สั่งให้มีการปราบปรามธุรกิจติวเตอร์ ที่มีมูลค่ารวมมากกว่า 1 แสนล้านดอลล่าร์
จนทำให้มีคนในธุรกิจนี้ ต้องตกงานไปหลายหมื่นคน
บริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาต่างขาดทุนและเจ๊ง จนต้องปิดตัวไปแทบจะหมดเกลี้ยง...
แต่แล้วจากการติดตามข้อมูลของสื่อ ลงลึกไปถึงตัวผู้ปกครองชาวจีนส่วนใหญ่
กลับได้ทราบข้อมูลที่ตรงกันข้ามกับภาพที่เห็นจากภายนอก
จากคำบอกเล่าของผู้ปกครองชนชั้นกลางชาวจีนแทบทุกคนพูดกับสื่อก็คือ
โรงเรียนกวดวิชาบนดินนั้นหายไปจริง แต่ธุรกิจกวดวิชา มันไม่ได้หายไปไหน
2
เพราะปัจจุบัน มันได้กลายเป็นธุรกิจคอร์สติวใต้ดินแบบผิดกฎหมายขึ้นมาทดแทน
ผู้ปกครองหลายคนแสดงความเห็นตรงกันว่า
สาเหตุที่ธุรกิจติวเตอร์ยังคงมีอยู่ เพราะมันยังคงมีความจำเป็น ความต้องการของเด็กและผู้ปกครองยังมีต่อธุรกิจนี้
1
หากขยายความต่อไปอีกนิด คำว่าความจำเป็นที่ผู้ปกครองนักเรียนชาวจีนพูดถึง ก็คือ
ตราบใดที่ระบบการสอบแข่งขันรวมของจีนที่มีเพียงปีละครั้งแบบที่เรียกว่า gaokao ยังคงมีอยู่
2
คงเป็นเรื่องยากที่ผู้ปกครองจะเลิกส่งเด็กไปติวกับติวเตอร์ ไม่ว่าเขาจะสอนแบบถูกกฎหมายหรือผิดกฎหมาย
ในช่วงแรกของการออกกฎหมายปฏิรูปเพื่อลดจำนวนโรงเรียนกวดวิชาในจีน
รัฐบาลจีนอ้างเหตุผลไว้สองประการคือ..
1
หนึ่ง ต้องการลดความเครียดของเด็กนักเรียน ที่ต้องใช้เวลาไปกับการเรียนพิเศษหลังเลิกเรียน
2
กับสอง ต้องการลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง ที่ต้องใช้เงินจำนวนมากเป็นค่าจ้างครูในโรงเรียนกวดวิชาของลูก
แต่ผลที่ได้มาหลังการบังคับปราบปรามโรงเรียนกวดวิชากลับตาลปัตรไปหมด
เพราะจากการสอบถามผู้ปกครองส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่า..
1
หลังจากโรงเรียนกวดวิชาถูกสั่งปิด นอกจากโรงเรียนกวดวิชาไม่ได้หมดไปจริง
ครูติวเตอร์ที่เคยสอนเป็นชั้นเรียนขนาดใหญ่ จำเป็นต้องลดขนาดห้องติวลง เพื่อหลบเลี่ยงสายตาของเจ้าหน้าที่
1
เมื่อห้องติวเล็กลง จำนวนเด็กที่รับได้ก็น้อยลง สถานที่เรียนก็ต้องเปลี่ยนเป็นไปสอนกันในโรงแรมหรืออพาร์ตเม้น
ค่าเล่าเรียนจึงแพงขึ้นจากเดิมมากกว่า 50 -100%
2
ถามว่า เรื่องนี้รัฐบาลจีนรู้ไหม?
ตอบได้เลยว่ารู้ แต่สิ่งที่รัฐบาลทำกับปัญหานี้ก็คือ การเร่งการปราบปรามให้หนักยิ่งขึ้น
มีคำสั่งลงมายังรัฐบาลท้องถิ่น ให้จัดการกับธุรกิจการศึกษาเถื่อน ที่มักแฝงตัวมาในรูปแบบของคอร์สร้องเพลงหรือวาดภาพ
รวมทั้งการเปิดเป็นธุรกิจให้คำปรึกษาเรื่องการเรียนต่อ เป็นต้น
หรือแม้แต่ครูสอนพิเศษบางคน ก็ถึงกับใช้วิธีปลอมตัวมาในรูปของแม่บ้านทำความสะอาด ก็ยังมี
3
ปัญหาเรื่องการแข่งขันทางการศึกษาในจีน ถูกนักวิเคราะห์นำไปผูกติดกับปัญหาการลดลงของอัตราการเกิดของประชากร
1
เพราะด้วยสภาพความยากในการจะส่งเสริมลูกสักคนให้ไปยืนอยู่ในจุดที่ดีของชีวิต
ผ่านระบบการแข่งขันทั้งด้านการเรียนและการหางานทำ ที่ตลาดแรงงานกำลังตกต่ำสุดขีด
ทำให้คนจีนรุ่นใหม่เลือกที่จะไม่มีครอบครัว หรือถึงจะมีครอบครัวแต่ก็ไม่อยากจะมีลูก
1
References;
ติดตามอ่านบทความได้ที่
โฆษณา