27 ก.ค. 2023 เวลา 02:04 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์

OPPENHEIMER

oppenheimer (home coming) [Luksemburg-German]
คือต้องบอกก่อนว่าใจจริงหลังได้เห็นตัวอย่างแล้วไม่ค่อยอยากดูเท่าไหร่ เพราะ ถ้ามันเป็นหนังสารคดีจะรู้สึกว่าตัวเองก็รู้หมดแล้วนะ มันจะนำเสนอแบบไหนได้อีก
ครับ เพราะ คำพูดที่ว่ามันจะนำเสนอแบบไหนได้อีกที่มาอยู่ในมือเสด็จพ่อโนแลน คุณไม่คิดจะอยากลองชิมดูหน่อยดูหน่อยเหรอครับ555
และก็อีกอย่างก็คือขี้เกียจนั่งรถไปดูนี่แหละ แต่โอเคครับ ไหนๆ ก็ใกล้จะเปิดเทอมแล้ว ไปหาแรงบันดาลใจในการเรียนสักหน่อยก็ไม่เสียหาย เลยตัดสินใจไปดูครับ
พอได้ดูแล้ว บอกเลย "เหี้*" ไม่ใช่หนังเหี้* แต่มันไปแบบ เข้ เหลือจะเชื่อ ไม่คิดว่าจะทำออกมาแบบนี้
ถ้าให้สรุปสั้นๆ "มันไม่ใช่หนังสารคดีวิทยาศาสตร์ สงครามโลก แต่มันเป็นหนังสอบสวนที่ไม่ได้อยู่ในศาล"
คำพูดอาจจะย้องแย้งกับตัวอย่าง แต่นั่นเป็นความคิดของผมหลังจากจบฉากทดสอบการจุดระเบิดที่ los alamos ครับ
คือหนังมันทิ้งปริศนาไว้ก่อนจะเล่าเรื่อง Manhattan Project คือเรื่องในห้องสอบปากพยานกับเรื่องที่สภาไว้ ซึ่งเรารู้อยู่แล้วว่าหลังจากทิ้งระเบิดไป เรื่องของเขาก็ยังไม่จบเพียงเท่านั้น เพราะ Oppenheimer เขาเป็นนักเคลื่อนไหวนั่นเอง
โอเคครับ สมมติใครยังไม่ได้ดูและอยากไปดูเอง เชิญก่อนได้ครับ เพราะ หลังจากนี้ผมจะพูดถึงความรู้สึกหลังได้ดูซึ่งมีรายละเอียดบางอย่างในหนังครับผม ซึ่งอาจจะทำให้เสียอรรถรสตอนที่คุณไปดูครับ
คำแนะนำ : ไม่ต้องกลัวครับว่าจะดูไม่รู้เรื่อง บางอย่างที่คุณไม่เข้าใจก็ผ่านไปได้ครับ ที่สำคัญอยู่ตรงถ้าคุณไม่ได้คุ้นหน้านักฟิสิกส์หรือนักการเมืองเท่าไหร่ คุณอาจจะต้องโฟกัสเป็นพิเศษว่าเขากำลังพูดถึงใครและใครกับใครคุยอะไรกันอยู่ เพราะว่า ตัวละครเยอะมาก555
เริ่มจากก่อนหน้านั้นผมเคยคิดอยู่ว่าก่อนจะดู interstellar ต้อง Lecture ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปก่อนเข้าไปดู รวมไปถึง Extra-dimension หรือความคิดที่ว่า ความรู้สึก อาจจะเป็นมิติหนึ่งไปด้วย
(ความคิดนี้เกิดขึ้นตอนกำลังสระผมอยู่ครับ555)
หรือก่อนจะดู inception ก็คิดว่าต้อง Lecture ทฤษฎีโมเดลของกระแสประสาทและความฝันไปก่อนจะดู
หรือล่าสุด tenet ที่ต้อง Lecture อุณหพลศาสตร์เข้าไปก่อนจะดูหรือความสัมพันธ์ของเอนโทรปีที่หดปุ๊บจะเกิด Praradox ใหม่เช่นไร ดั่งจินตภาพ Maxwell's demon
เพราะ หลังจากได้ดูคุณจะได้รู้อะไรเพิ่มขึ้นมาอีกเยอะแยะเลย จากการนำเสนอของหนัง
หนึ่งในสิ่งที่สามารถพูดได้ในโพสต์นี้คือชื่อของหนัง เช่น interstellar (ระหว่างดาวฤกษ์) , inception (การจุติ (การเริ่มใหม่)) , tenet (หลักการ)
พอได้ดูปุ๊บก็จะรู้ว่าทำไมถึงไม่ใช่ synonyms (คำไวพจน์) อื่นหรือทำไมถึงต้องใช้คำนี้ เช่น ตอนที่ต้องอยู่ในหลุดดำที่ใช้ทฤษฎีการล่มสลายของดาวฤกษ์ , ในความฝันที่วนไปมา , ปฏิบัติการสุดท้ายที่เดินหน้า 10 นาที, ย้อนกลับ 10 นาที
เป็นอะไรที่ต้องเข้าไปดูในหนังถึงจะเจอ และทำให้หลังออกมาจากโรงหรือดูหนังจบทำให้รู้สึกอิ่มไปหมด เพราะ ได้ในสิ่งที่ไม่คิดว่าจะได้ออกมา
ครั้งนี้ก็เช่นกันครับ คือก่อนจะได้เห็นตัวอย่าง ตอนที่ได้ยินเสียงลือเสียงเล่าอ้างมาเคยสงสัยไหมครับ ทำไมถึงต้อง oppenheimer ทั้งที่คนอื่นก็มีเยอะแยะ
นอกจากเห็นความคิดในเชิงวิทยาศาสตร์แล้ว เขายังมีความคิดในเรื่องอื่นๆ ที่เรียกได้ว่า 'รอบด้าน' มากๆ
แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่าทำไม แต่ถ้าหากคุณสนใจด้านการเขียนบทกับวิทยาศาสตร์แล้วละก็ ... คงเห็นอะไรบางสินะครับ
relative theory, electro-magnetic wave, thermodynamics จากลำดับเชิงพรรณนานี้จะสังเกตเห็นว่า 'ทุกเรื่องเกี่ยวข้องกับ thermo-nuclear' หมดเลยครับ
และใช่ครับ เรื่องนี้ก็เช่นกัน ถ้าหากก่อนจะดู Oppenheimer คงต้อง Lecture เรื่อง nuclear reaction กับ chain reaction เข้าไปด้วยครับ
หรือจะรวมไปถึงทฤษฎีการเล่นแร่แปรธาตุ เพราะ จะทำให้คุณเห็นว่าการเปลี่ยนธาตุนั้นยากเพียงใด และทำให้การใช้พลังงานในการทำให้เกิดปฏิกิริยานั้นถึงไม่คุ้มกับผลตอบแทนเชิงพาณิชย์เอาซ่ะเลย
จริงๆ จะแตะ quantum theory ไปนิดนึงก็ได้ครับ จะได้สัมผัสได้ว่า ตอนที่วิทยาศาสตร์เกิดสิ่งนี้ขึ้นมาทำไมถึงรู้สึกขัดแย้งและต้องถกเถียงกันมากขนาดนี้
และยิ่งถ้าคุณอ่านหรือฟังมาบ้าง หลายๆ คำในหนังมันเป็นคำที่ classic มากและก็ไม่คิดว่าจะกล้าใส่ลงมา
หนักสุดก็คือ "ภควัทคีตา" นี่แหละครับ หนึ่งในเรื่องราวของมหาภารตะ ซึ่งถ้าสนใจในเรื่องภาษา proto-indo-european แล้ว แค่สองเหตุผลนี้ก็ทำให้อินกับหนังได้แล้วครับ
โอเคครับ ทำไมผมถึงพูดแบบนี้ก่อนน่ะเหรอครับ เพราะ หนังใช้องค์ประกอบเหล่านี้ได้มีประสิทธิภาพมากครับ
และจะเป็นเหตุผลที่ผมเรียก oppenheimer ว่า home coming เลยครับ และทำให้ตระหนักได้ว่าทำไมต้อง oppenheimer
เพราะ หากจะให้ไล่เรียงลำดับการดูหนังของเสด็จพ่อแล้วละก็คงต้องดู memento มาก่อน เพราะ ลำดับการเสนอและไล่อารมณ์สืบสวนและย้อนอดีตไปด้วยจะคล้ายกันมากครับ
โดยนัยยะของภาพความดำจะเป็นการอุปนัย (การสรุปผลจากเงื่อนไขเล็กๆ ที่ต่อกัน) ซึ่งในหนังจะมีนัยยะของ fusion reaction เข้ามาด้วย
หรือภาพสีจะเป็นการนิรนัย (การแตกผลลัพธ์จากเหตุผลใดๆ) ซึ่งมีนัยยะถึง fission reaction เช่นกันครับ
ซึ่งเคยคิดสงสัยกันไหมครับว่า 'ทำไมระเบิดนิวเคลียร์ถึงได้มีรูปทรงเป็นดอกเห็ด'
เพราะ อุณหภูมิภายในระเบิดสูงมากกว่าบรรยากาศภายนอกมากๆ อากาศเย็นเข้าไปแทนที่อย่างรวดเร็วและส่วนที่ความกดอากาศต่ำก็จะลอยขึ้นสูงอย่างรวดเร็วเช่นกัน
ทำให้เกิดรูปทรงระเบิดในลักษณะเช่นนั้นครับ อีกนัยก็แสดงให้เห็นว่า พลังงานที่เกิดขึ้นนั้นมหาศาลมากๆ
ซึ่งการนำเสนอเช่นนี้ก็อาจหมายถึง เรื่องราวที่เกิดขึ้นนั้นมี impact มากๆ ไม่ต่างจากระเบิดนิวเคลียร์เลยครับ
หรือจะเป็นในส่วนที่เล่าถึงช่วงชีวิตที่อยู่ที่ยุโรปหรือตอนที่คิดอะไรบางอย่างในหัว เป็นการดึงเสน่ห์ของ inception มาทำให้สัมผัสได้ถึงความคิดที่ซับซ้อนและมากมายที่เกิดขึ้นภายในเสี้ยววินาที
หรือจนกระทั่งทฤษฎีการกำเนิดหลุดดำที่เกิดจากดาวฤกษ์ที่ล่มสลาย หรือการที่เปิดด้วยการย้อนรำลึกที่ตอนมาถึง AEC (ใช่ไหมนะ เผื่อผมจำผิด555) และจบลงด้วยสถานที่เดียวกัน และเปรยว่าการล่มสลายของโลกได้มาถึงแล้ว
ซึ่งมันช่างน่าเชื่อมกับ interstellar หรือ tenet ที่กล่าวถึงโลกที่กำลังจะล่มสลายเสียเหลือเกิน
นอกจากรายละเอียดที่กล่าวไป ก็จะทำให้คนทั่วไปเห็นถึงวิวัฒนาการของวิทยาศาสตร์ในยุคเปลี่ยนผ่านได้ตั้งแต่เริ่มที่คำพูดคลาสสิคอย่าง "The God does not play dice" (พระเจ้าไม่ทอยลูกเต๋า)
ที่หมายถึงมันไม่มีอะไรที่ไม่แน่นอน จนกระทั่งการทำให้คนตระหนักได้ว่ามวลสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานมหาศาลได้ (E = mc²) ซึ่งจากสมการ มวลหนึ่งๆ หากเป็นอนุภาคก็คงจะไม่สามารถทำความเร็วได้ถึงระดับความเร็วแสง
แต่หากมองเป็นคลื่นที่ใช้คุณสมบัติ superposition ซึ่งเป็นคุณสมบัติเชิงควอนตัมแล้วละก็ ... การไปถึงความเร็วแสงก็คงเป็นของสามัญดั่งสมการของ Maxwell (c = sqrt(1/με))
และสิ่งนี้ถูกแสดงให้เห็นจริงได้จากการสร้างระเบิดปรมาณูว่าสสารก็สามารถแสดงคุณสมบัติเชิงควอนตัมได้
และทำให้เห็นว่าที่ยากไม่ใช่ฟิสิกส์แต่เป็นคณิตศาสตร์555 เพราะ ในความเป็นจริง ทฤษฎีนั้นใครๆ ก็คิดได้ (การสร้างสมการ) แต่การสร้างมันขึ้นมาจริงๆ (การแทนค่าในสมการ) มันยากต่อการคำนวณมาก
(นึกสภาพในยุคนั้นไม่มีคอมพิวเตอร์ที่สามารถคิดเลขหนักๆ ได้ ทุกอย่างต้องทดมือ)
อย่างการสร้างระเบิดงี้ที่แข่งกันคือการคำนวณปฏิกิริยาลูกโซ่ที่สมการไม่ได้จบแค่สมการเดียว และตัวแปรที่ใช้ก็เยอะมากๆ และการแตกตัว (การสร้างสมการขั้นถัดๆ ไป) ไม่ใช่อะไรที่นึกอยากจะทดๆ ก็จบได้
ซึ่งดั่งคำพูดของผมข้างต้น "มัน impact มากครับ"
อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ได้เตรียมตัวเข้าไปคือ เรื่องการเมือง กฏหมาย และความสัมพันธ์ต่อผู้คน
คือไม่ได้คิดว่าหนังจะนำเสนองี้ไง เป็นการนำเสนอแบบหนังสืบสวนเลยครับ นึกสภาพพวกเราเป็นลูกขุนที่เห็นคำวินิฉัยก่อนและค่อยๆ ได้รับข้อมูลในอดีตว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้นครับ
(ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร กับใคร)
ซึ่งเมื่อนำเสนอด้วยวิธีนี้หรือการทำให้เห็นว่า Oppenheimer ที่รอบตัวคลุกคลีกับฝ่ายซ้ายจัดเยอะๆ คำพูดของเขา พฤติกรรมของเขาที่สนใจในทุกๆ ศาสตร์เพื่อให้รู้
มันทำให้หนังเรื่องนี้เป็นหนังเรื่องหนึ่งที่ไม่ได้ขายแค่ระเบิด แต่เป็นหนังดราม่าเรื่องหนึ่งที่ทำให้เห็นทุกแง่มุมของผู้เปลี่ยนแปลงโลกผู้นี้
ซึ่งหากจะบอกว่าหาก Oppenheimer หรือตัวละครอื่นๆ เป็นเพียงตัวละครสมมติและทำให้หนังเรื่องนี้เป็นหนัง ไม่ใช่สารคดีก็สามารถพูดได้เช่นกัน
ถ้าถามว่าถูกใจส่วนนี้ตรงไหนก็ตรงที่ "the congress is not a tribunal" ละมั้งครับ555
จากทั้งหมดที่กล่าวมาหรือบางสิ่งที่ผมไม่ได้ใส่ในโพสต์นี้มันทำให้เราได้รำลึกถึงหลายๆ อย่างที่อ่านหรือเรียนมาตั้งแต่ต้นยันปัจจุบัน ไม่ต่างจากการกลับบ้านและเริ่มเรียบเรียงความคิดเลยครับ
หรือแม้จะไม่ใช่เช่นนั้น หนังก็ส่งต่อสิ่งต่างๆ ที่เคยปรากฏจากหลายๆ เรื่องทำให้ได้รำลึกถึงเรื่องต่างๆ ที่เสด็จพ่อเคยสร้างไว้มาก่อนก็เหมือนกับได้ย้อนหวนคืนสู่อดีตดั่งคำว่า oppenheimer เลยครับ
จริงๆ จะบอกว่านี่ไม่ใช่ทั้งหมดของหนังหรอกครับ แต่ถ้าให้พูดมากกว่านี้คนที่ยังไม่ได้ดูและเผลอหลงเข้ามาอ่านจนถึงตรงนี้ก็คงไม่ต้องไปดูกันแล้วล่ะครับ555
ข้อแนะนำอีกอย่างก็คือ ถ้าอยากดูให้รู้ timeline สักหน่อยไปเปิดฟังสารคดี Oppenheimer ก่อนได้ครับ เพราะจะทำให้เราเห็นเส้นเรื่องมากขึ้น เพราะ หนังเล่าตัดไปมาครับ
ส่วน los alamos มาจากภาษาสเปนครับ หมายถึง เหล่า ต้น álamo (poplar) ครับ (ถ้า ala มีความหมายเช่นเดียว aero ครับ หมายถึง ลมหรืออากาศ) มีอยู่ที่ New Mexico ครับ มีนัยยะถึง ระเบิด ครับ555 คิดว่านะครับ555
โอเคครับ ขอขอบคุณที่อ่านมาจนถึงตรงนี้ครับ หากผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ ขอบคุณมากครับผม
โฆษณา