29 ก.ค. 2023 เวลา 10:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

#เรียนรู้จากอดีต

รู้จักเหตุการณ์ Plaza Accord ต้นต่อของความมั่งคั่งและวิกฤตการณ์ญี่ปุ่น
คนญี่ปุ่นทุกคนเคยรวยขึึ้นเกือบ 1 เท่าตัว ภายใน 10 เดือน และเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยเศรษฐกิจเติบโต
วันนี้เราจะมาพูดถึงเหตุการณ์ Plaza Accord หนึ่งในเหตุการณ์ที่ทำให้คนญี่ปุ่นเคยรวยที่สุดในโลกจากเหตุการณ์ค่าเงินแข็ง ตามมาด้วยการย้ายโรงงานออกนอกประเทศ และเกิดฟองสบู่ในญี่ปุ่น ลากยาวมาเป็นปัญหากับค่าเงินฝืดจนถึงทุกวันนี้
ประเทศญี่ปุ่นผู้ที่เติบโตอย่างรวดเร็วด้วยนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเช่น น้ำมัน, เหล็ก, หรือถ่านหิน แต่ญี่ปุ่นสามารถ นำวัตถุดิบ แล้วมาแปรรูปต่างๆ จนก้าวล้ำมาเป็น ผู้ผลิตรถยนต์เครื่องใช้ไฟฟ้าแนวหน้าของโลก ในปี 1985 ประเทศญี่ปุ่นได้เปรียบดุลการค้าและดุลการชำระเงินกับประเทศคู่ค้าเกือบทั้งโลก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่เสียเปรียบด้านการค้ากับประเทศญี่ปุ่นมาก
เนื่องจากสินค้าญี่ปุ่นตีตลาดสหรัฐอเมริกา ทำให้สินค้าญี่ปุ่นขายดีมากในตลาดประเทศสหรัฐอเมริกา แต่สินค้าของสหรัฐอเมริกาไม่เป็นที่นิยมและขายในตลาดญี่ปุ่นไม่ได้ เนื่องจากเรื่องราคาและคุณภาพที่ญี่ปุ่นสามารถทำได้ดีกว่า
แน่นอนว่า ประเทศสหรัฐผู้ประสบผลขาดดุลถึงร้อยละ 3.5 ของมูลค่าเศรษฐกิจประเทศ เนื่องสินค้าสหรัฐถูกแย่งส่วนแบ่งในตลาดโลก และ ขณะนั้น เงินดอลลาร์แข็ง ทำให้ผู้ส่งออกในสหรัฐไม่สามารถส่งออกสินค้าได้
สหรัฐอเมริกาจึงจัดประชุมประเทศ G5 คือ ประเทศที่แข็งแรงและได้เปรียบได้ดุลการค้าสหรัฐ 4 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมันและญี่ปุ่น ที่โรงแรมพลาซ่า กรุงนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ.1985 ได้มีการลดค่าเงินดอลลาร์ เพื่อช่วยลดการขาดดุลทางการค้าของสหรัฐ ทำให้ค่าเงิน YEN แข็ง เหตุการณ์นี้ถือว่าเป็นการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเงินครั้งใหญ่ของโลก
โดยสหรัฐอเมริกาบังคับให้ญี่ปุ่นต้องแข็งค่าเงินจากอัตราแลกเปลี่ยน 250 เยน ต่อ 1 USD ให้แข็งขึ้นเป็น 150 เยน ต่อ 1 USD เท่ากับแข็งค่าขึ้นเกือบ 70 %ภายในเวลาเพียง 10 เดือน ปรากฏการณ์ครั้งนั้นถูกเรียกว่า พลาซ่า แอคคอร์ด (Plaza Accord) ตามชื่อของโรงแรมพลาซ่า
จนถึงทุกวันนี้ ค่าเงินที่แข็งขึ้นทำให้ราคาสินค้าญี่ปุ่นในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้นทันทีทันใด 70 % แต่ทว่าผลกระทบยังไม่เกิดขึ้นทันที เพราะสินค้าที่ผลิตขึ้นในประเทศญี่ปุ่นที่มีคุณภาพของญี่ปุ่น แม้ราคาจะสูงขึ้นแต่ผู้บริโภคยังคงซื้อต่อ เนื่องจากผู้ซื้อยังหาสินค้าที่ผลิตขึ้นจากประเทศอื่นที่มีคุณภาพอย่างเดียวกันมาทดแทนไม่ได้ ด้วยผลกระทบของ Plaza accord ทำให้ ชาวญี่ปุ่นรวยขึ้นทันที 70 % (เนื่องจากค่าเงินแข็งขึ้น ทำให้ค่าของเงินสูงขึ้นตาม)
เมื่อคำนวณมูลค่าเงิน YEN เป็นเงิน USD จะเพิ่มขึ้น 70 %คือ รวยขึ้น 70 % และคนญี่ปุ่นจะใช้เงินซื้อสินค้าที่นำเข้าจากประเทศอื่นได้ในราคาถูกกว่าเดิม 70 %หรือคนญี่ปุ่นไปท่องเที่ยวต่างประเทศจะพักโรงแรม ซื้อข้าวของได้ถูกลง 70 % เพราะค่าเงินแข็งขึ้น เพราะฉะนั้น คนญี่ปุ่น จึงติดใจในการทำให้ค่าเงินแข็งขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1985 – 1990 ค่าเงินญี่ปุ่นจึงแข็งขึ้นทุกปี จนกระทั่ง 1 USD เท่ากับ 75 เยน ซึ่งหมายถึง แข็งค่าจาก 250 เยนต่อ 1 USD มาเป็น 75 เยนต่อ 1 USD คือ แข็งค่าขึ้นประมาณ 300 %
ในช่วงปี1986-1991 คนญี่ปุ่นหลงมีความสุขกับค่าเงินที่แข็งขึ้นทั้งประเทศ เศรษฐีญี่ปุ่นกลายเป็นเศรษฐีอันดับ 1 ของโลก มีการลงทุนในประเทศและนอกประเทศ มีการออกเงินกู้เป็นจำนวนมหาศาลธนาคารญี่ปุ่นก็กลายเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพราะทรัพย์สินมีราคาเพิ่มขึ้น 3 เท่า บริษัทของคนญี่ปุ่นมีเงินไปซื้อตึกเอ็มไพร์สเตทในสหรัฐอเมริกา ที่เป็นตึกสูงที่สุดในโลกขณะนั้น บริษัท Sony ไปซื้อกิจการสร้างภาพยนตร์ใน Hollywood เปลี่ยนชื่อเป็น Sony Entertainment มาจนถึงทุกวันนี้
มหาเศรษฐีญี่ปุ่นมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ตลาดหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ราคาสูงเป็นจำนวนมาก จนตลาดหุ้นพุ่งสูง ในปี 1989
พอ 10 ปีผ่านไปใน -ปี ค.ศ.1995 เป็นต้นมา เศรษฐกิจญี่ปุ่นก็ทรุดตัว สินค้าทุกอย่างที่ผลิตขึ้นในประเทศญี่ปุ่นขายในส่วนแบ่งตลาดโลกไม่ได้เนื่องจากราคาที่สูง สินค้าทุกอย่างที่ผลิตขึ้นในประเทศญี่ปุ่นนั้นจะถือว่าเป็นของราคาแพง นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวประเทศญี่ปุ่นลดลงมาก ทำให้ญี่ปุ่นมีงบขาดดุลถึง56% จากรายได้ภาษีที่เก็บมา
ดัชนีNIKKEI 225 เคยทำสถิติสูงถึง38,957.44 กลับลงมาอยู่ที่ 12000
ขณะที่โรงงานผลิตสินค้าต้องย้ายฐานการผลิตไปผลิตที่ประเทศอื่น อย่างประเทศไทย หรือประเทศเวียดนาม ที่มีแรงงานราคาถูกในการผลิตสินค้า
แรงงานในประเทศญี่ปุ่นเริ่มจะตกงาน บริษัทญี่ปุ่นระดับโลกไม่ว่าจะเป็นบริษัทรถยนต์ผู้นำโลกต่างๆ และ บริษัทเทคโนโลยีที่โด่งดัง หลายบริษัทต้องปลดคนงานญี่ปุ่นลงจำนวนมากเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ประเทศญี่ปุ่น
บริษัทภาคการผลิตจริง (Real Sector) เริ่มขาดทุน โดยเฉพาะธุรกิจผลิตสินค้าภายในประเทศ และส่งออกขาดทุนหมด ธนาคารญี่ปุ่นไม่สามารถปล่อยกู้กับธุรกิจส่งออก และธุรกิจผลิตสินค้าขายให้คนญี่ปุ่นกินและใช้ในประเทศได้ ธนาคารญี่ปุ่นหันมาปล่อยกู้กับธุรกิจเก็งกำไร (Speculation) อสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และธุรกิจเก็งกำไรในตลาดหุ้น
คนญี่ปุ่นและบริษัทธุรกิจหันมาเล่นหุ้นลงทุนทำธุรกิจเก็งกำไรที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ บ้านในชนบท คอนโด ตึกสูงในเมืองได้กำไรดีกว่าเร็วกว่าจนขยายตัวราคาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ราคาบ้าน ราคาที่ดิน และราคาหุ้นในตลาดหุ้นปรับตัวสูงขึ้นมาก เกิดภาวะเงินเฟ้อทั่วประเทศ
ฟองสบู่ญี่ปุ่นก็แตกเหมือนประเทศอื่นๆ ราคาหุ้น ราคาที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ตกอย่างรุนแรง เศรษฐกิจและธุรกิจญี่ปุ่นขาดทุนล้มละลาย ซบเซาและถดถอยเป็นเวลายาวนานมากติดต่อกันถึง 20 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 – 2010 ที่ผู้คนทั่วโลกรู้จักกันในนาม “The Lost 2 Decades” หรือ “2 ทศวรรษที่หายไป” ของญี่ปุ่น
ระหว่างปี ค.ศ.1995 – 2007 12 ปีแห่งความย่ำแย่
GDP ของญี่ปุ่นได้ลดลงอย่างมหาศาลจาก 5.33 ล้านล้าน USD เหลือแค่ 4.36 ล้านล้าน USD เท่ากับลดลง 18.2 % ส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศลดลง เกิดภาวะเงินฝืด เศรษฐกิจถอดถอยเรื้อรังมาเป็นเวลานานติดต่อกันถึง 20 ปี
เมื่อประชาชนญี่ปุ่นมีรายได้ลดลง การจับจ่ายใช้สอยก็ลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้บริษัทต่างๆ มียอดขายลดลง จำเป็นต้องไล่พนักงานออกและปรับราคาสินค้าลง Sony และ Toyota ลดพนักงานประจำลง หันมาจ้างพนักงาน Part Time แทน เมื่อประชาชนญี่ปุ่นคาดว่าระดับราคาสินค้ามีแนวโน้มจะลดลง ถูกลงในอนาคต ประชากรญี่ปุ่นขาดความมั่นใจในอนาคตโดยเลือกที่จะเก็บออมมากขึ้นแทนการจับจ่ายใช้สอย ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นนับวันยิ่งถอถอย
ยิ่งไปกว่านั้น ปี2020 ประเทศญี่ปุ่นวางแผนที่จะใช้การแข่งขันโอลิมปิคปี2020 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการท่องเที่ยว แต่ทว่าการระบาดของโรคโควิด19 ทำให้ไม่สามารถเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวรับชมการแข่งขันได้ คาดการณ์ว่าประเทศญี่ปุ่นขาดทุนจากการจัดงานโอลิมปิกปี2020 ประมาณ 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
BottomLiner
บทสรุปการลงทุน
#การเงิน #ประวัติศาสตร์ #ญี่ปุ่น #การเงิน #เศรษฐกิจ
=====
ไม่อยากพลาดสาระเนื้อหาในการลงทุนต่างประเทศ อย่าลืมกดติดตาม
เพราะตอนนี้โซเชียลต่าง ๆ ถูกปิดการเข้าถึงมาก ๆ
ไม่งั้นอาจพลาดโพสต์ดี ๆ จากเราได้ครับ
โฆษณา