31 ก.ค. 2023 เวลา 10:07 • ธุรกิจ
โรงเรียน​สุรธรรมพิทักษ์

เทียบบัญญัติไตรยางค์ เพื่อการทำ "ธุรกิจ"

ผมเชื่อว่าใครหลายคนที่เริ่มทำธุรกิจมือใหม่แล้วเจอปัญหาเกี่ยวกับการผลิตสินค้า ยกตัวอย่างตัวผมเองที่ผมทำขนมขายฝากตามร้านต่างๆใกล้บ้าน ปัญหาหนึ่งที่ผมเจอคือการเทียบสัดส่วนในการผลิตขนม ซึ่งตอนแรกก็ไม่มีปัญหาอะไรถ้าทำตามสูตรของขนมชนิดนั้นที่ให้มา
*ก่อนที่จะไปรับชมเนื้อหาผมขอฝากกดติดตามเพจกดไลค์เพื่อเป็นกำลังใจในการสร้างบทความสาระดีๆด้วยนะครับ*
สมมุติว่าการทำนมจืดโดยใช้นมผง สูตรก็คือ นมผง 300 กรัมต่อน้ำ 700 มิลลิลิตร จะได้นมจืด 1 สูตร
หรือสมมุติว่าทำพุดดิ้งปริมาณ 3,500 มิลลิลิตรจะสามารถทำพุดดิ้งได้ทั้งหมด 30 ถ้วย
ถ้าทำตามสูตรข้างต้นนี้ไปเรื่อยๆมันก็ไม่มีปัญหาอะไรหรอกครับ แต่ถ้าสมมุตินมผงไม่พอ 300 กรัมล่ะหรือต้องการทำพุดดิ้งในปริมาณที่น้อยกว่าเดิมเพราะจำนวนถ้วยมีไม่พอ เมื่อของในสต๊อกที่จะผลิตสินค้ามีจำนวนไม่พอ หรือต้องการกำลังการผลิตที่มากขึ้น ซึ่งแน่นอนจะไม่ได้ใช้สูตรที่กล่าวมาข้างต้นอยู่แล้ว เราต้องมีความอ่อนตัวตามสถานการณ์ไม่ใช่ตามสูตรแต่ต้องคงสูตรเอาไว้ในอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงและจะทำให้ขนมออกมารสชาติเหมือนเดิม แล้วเราจะทำอย่างไร?
ยกตัวอย่างข้างต้น สูตรนมจืดนะครับ มีอยู่ครั้งนึงที่นมผงมีปริมาณไม่พอ ซึ่งสูตรนมจืดก็คือ นมผง 300 กรัม ต่อน้ำ 700 ml เท่ากับนมจืด 1 สูตร แต่ตอนนั้นผมเหลือนมผงอยู่ที่ 150 กรัม ถ้าจะใส่น้ำ 700 ML ก็ไม่ได้เพราะความเข้มข้นมันจะต่างกันรสชาติที่ออกมามันก็ไม่เหมือนกัน คิดอยู่นานไม่รู้จะทำอย่างไรจึงโทรหาพี่ซึ่งพี่คนนี้เขาเก่งเรื่องการคำนวณ และหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต จึงได้คำตอบของปัญหานี้ว่ามันคือการ "เทียบบัญญัติไตรยางค์"
ก่อนอื่นผมจะอธิบายความหมายของบัญญัติไตรยางก่อนนะครับ ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์
บัญญัติไตรยางค์ คือการเทียบหาค่าที่ 3 หรือค่าที่ 4 เมื่อรู้ว่าค่าที่ 1 และค่าที่ 2 หรือค่าที่ 3 อยู่แล้ว ซึ่งการเปรียบเทียบสิ่งของจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในสัดส่วนที่เท่ากัน เรียกว่าการเทียบบัญญัติไตรยางค์และคำว่าบัญญัติไตรยางค์ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Rule of Three ได้ให้ความหมายว่า วิธีเลขอย่างหนึ่ง ซึ่งกำหนดส่วนสัมพันธ์ของตัวเลข 3 จำนวนเพื่อหาจำนวนที่ 4 โดยวิธีเทียบหา 1 ก่อนแล้วจึงไปหาส่วนที่ต้องการคำนวณเลขทั้ง 3 จำนวนที่กำหนดให้และให้หามาคูณหารกันเป็น 3 ขั้น
ผมจะไม่ลงรายละเอียดเยอะเพราะสูตรที่ผมจะบอกนั้นง่ายมากจากโจทย์ข้างต้น นมผง 300 กรัมต่อน้ำ 700 มิลลิลิตร จะได้นมจืด 1 สูตรแต่ถ้าผมมีนมผง 150 กรัมจะใช้น้ำกี่มิลลิลิตรวิธีคำนวณก็ง่ายๆดูจากรูปภาพได้เลยนะครับ
นมผง 300 กรัม = น้ำ 700 มิลลิลิตร
ถ้านมผง 150 กรัมเท่ากับน้ำกี่มิลลิลิตร
วิธีคิด 300 = 700
150 = ?
เทียบบัญญัติไตรยาง
150 × 700 ÷ 300
= 350
คำตอบคือนมผง 150 กรัมใช้น้ำ 350 ml
หรือในทางกลับกันถ้าต้องการใช้น้ำ 1,500 มิลลิลิตรจะใช้นมผงกี่กรัม
วิธีทำ
300 = 700
? = 1500
เทียบบัญญัติไตรยางค์
300 × 1500 ÷ 700 = 642.86
คำตอบ คือน้ำ 1,500 มิลลิลิตรใช้นมผง 642.86 กรัม
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วเป็นยังไงบ้างครับไม่ยากเลยใช่ไหมความรู้ตอนประถมที่เราเรียนแล้วลืมสามารถนำมาใช้ประโยชน์มากเลยทีเดียว เราสามารถที่จะเพิ่มสูตรหรือลดสูตรก็ได้ในสัดส่วนของสูตรที่มี
โจทย์ข้างต้นที่ผมยกตัวอย่างไม่ใช่ใช้ประโยชน์ในการทำขนมอย่างเดียวนะครับ สามารถนำไปใช้งานกับธุรกิจอื่นเช่นงานไม้งานก่อสร้างก็ได้
ผมจะยกตัวอย่างอีกหนึ่งตัวอย่าง ถ้าไม้ตัวหนึ่งมีความยาว 14 นิ้วและมีความกว้าง 10 นิ้ว แต่ถ้าเราอยากได้ไม้ขนาดที่เล็กลงในสัดส่วนที่ข้างต้น ด้วยความยาว 8 นิ้ว จะมีความกว้างกี่นิ้ว
ก็ง่ายๆครับ
วีธิคิด ไม้ยาว 14 นิ้ว = กว้าง 10 นิ้ว
ไม้ยาว 8 นิ้ว = กว้าง ? นิ้ว
14 = 10
8 = ?
เทียบบัญญัติไตรยางค์
8 × 10 ÷ 14 = 5.7
คำตอบคือ ถ้าต้องการไม้ที่ ยาว 8 นิ้ว จะต้องใช้ไม้มี ความกว้าง 5.7 นิ้ว
ผมหวังว่าทุกคนน่าจะไม่งงนะครับและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการทำบางสิ่งบางอย่างได้
"ปัญหาทุกสิ่งทุกอย่างผมเชื่อว่ามีทางออก บางทีทางออกอาจจะอยู่ที่ปลายจมูก สิ่งที่เราเรียนมาและลืมไปแล้ว ถ้าเราได้ทบทวนความจำนิดหน่อย ก็อาจช่วยแก้ปัญหาให้คุณได้"
วุฒิ infinity
บทความนี้ผมต้องจบไว้เพียงเท่านี้อย่าลืมกดไลค์กดติดตามเพจด้วยนะครับเพื่อเป็นกำลังใจในในการเขียนหาสาระพดีๆ หรือมีความคิดเห็นประการใดก็แสดงความคิดเห็นกันมาได้นะครับสำหรับวันนี้ผมต้องลาไปก่อนสวัสดีครับ
โฆษณา