1 ส.ค. 2023 เวลา 02:30 • ธุรกิจ

สองพี่น้องที่มีปัญหาเสื้อผ้าล้นตู้ สู่ “Hangles” แอปขายเสื้อผ้ามือสอง

ที่เติบโต 150% ใน 2 เดือน
ไม่อยากใส่เสื้อผ้าซ้ำ เสื้อผ้าล้นตู้ แต่กลับรู้สึกเหมือนไม่มีอะไรจะใส่
อยากส่งต่อ แต่ไม่มีเวลาลงขาย ขี้เกียจส่ง และอีกสารพัดความน่าเบื่อ เวลาที่อยากจะส่งต่อเสื้อผ้ามือสอง
ปัญหาเหล่านี้ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ “Hangles” สตาร์ตอัปไทย จากฝีมือของสองสาวที่เคยมีปัญหาเสื้อผ้าล้นตู้
จึงได้พัฒนาแพลตฟอร์มส่งต่อเสื้อผ้ามือสอง ที่ช่วยให้ทุกคนยังสามารถสนุกกับการแต่งตัวได้ แบบไม่ต้องทำลายสิ่งแวดล้อม ในคอนเซปต์ “สายแฟแคร์โลก”
แถมแพลตฟอร์มนี้ ยังได้รับรางวัลการันตี จากเวทีด้านสตาร์ตอัปมาแล้ว หลายต่อหลายเวที
2
โดยวันนี้ลงทุนเกิร์ล มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณลูกน้ำ-เพ็ญพิชชา สันตินธรกุล และคุณนุ่น-พิชชาธร สันตินธรกุล สองพี่น้องผู้ปลุกปั้น Hangles มากับมือ ที่จะมาไขทุกข้อสงสัยว่า Hangles ช่วยให้การส่งต่อเสื้อผ้ามือสอง เป็นเรื่องง่ายแค่ไหน และสามารถช่วยโลกได้อย่างไร ?
 
จุดเริ่มต้นของ Hangles เกิดขึ้นในปี 2019
เมื่อสองพี่น้องชอบซื้อเสื้อผ้าและแต่งตัวเอามาก ๆ ถึงขั้นเปลี่ยนจากตู้เสื้อผ้า เป็นห้องเสื้อผ้า แต่ก็ยังมีที่เก็บไม่พอ
2
เมื่อลองโละตู้ไปเปิดท้ายขายเสื้อผ้ามือสอง หรือขายใน Social Media ก็ไม่ได้ขายง่ายอย่างที่คิด
1
สองสาวจึงเริ่มระดมสมองเพื่อหาทางออกร่วมกัน โดยตั้งต้นจากความสนใจของทั้งคู่
เริ่มจากพี่สาวอย่างคุณลูกน้ำ ที่เรียนจบด้าน Entrepreneurship จาก Bayes Business School (Cass) ประเทศอังกฤษ​ ซึ่งมีแพสชันในการทำธุรกิจสตาร์ตอัปเป็นทุนเดิม
บวกกับน้องสาว คือคุณนุ่น ที่ตอนนั้นกำลังไปเรียนแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศ ซึ่งที่นั่นให้ความสำคัญกับเรื่อง Sustainability เธอจึงเริ่มรีเซิร์ชและทำทีซิสเรื่องนี้ ทำให้อินกับเรื่องความยั่งยืนเอามาก ๆ
เมื่อมารวมกับความคลั่งไคล้แฟชั่น และแพสชันในการทำธุรกิจ ที่ทั้งสองคนชอบมาตั้งแต่เด็ก ๆ ทั้งสองจึงเริ่มรีเซิร์ชข้อมูล เพื่อทำสตาร์ตอัปด้านแฟชั่นยั่งยืน
จนในที่สุดก็พัฒนาออกมาเป็น “Hangles” แพลตฟอร์มซื้อ-ขายเสื้อผ้ามือสองครบวงจร ที่เริ่มให้บริการครั้งแรกในปี 2020 ในรูปแบบของเว็บไซต์ และพัฒนามาเป็นแอปพลิเคชันในปัจจุบัน
3
แล้วทำไมต้องชื่อแบรนด์ว่า Hangles ?
Hangles มาจากคำว่า “Hanger” ที่แปลว่า ไม้แขวนเสื้อ รวมกับคำลงท้ายของคำว่า “Circle/Recycle”
ที่ซ่อนความหมายว่า ไม้แขวนเสื้อผ้าเหล่านี้ จะถูกใช้หมุนเวียนไปเรื่อย ๆ ไม่รู้จบ นั่นเอง
7
ต้องบอกว่า Hangles ไม่ได้เป็นแค่ตัวกลางที่ให้คนมาส่งต่อเสื้อผ้าทั่ว ๆ ไป แต่ยังเป็นคอมมิวนิตี ที่สื่อสารกับทุกคนเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม และแก้ไขความเข้าใจผิดต่อความเชื่อเดิม ๆ ด้วย
2
คุณนุ่นเล่าว่า “เราตั้งใจทำแพลตฟอร์มขึ้นมาให้ Trendy เข้าถึงง่าย
เพื่อให้คนเห็นว่า จริง ๆ แล้วเสื้อผ้ามือสองไม่ใช่ของสกปรก โดยจะได้เห็นเจ้าของเสื้อผ้ามาโพสต์ด้วยตัวเอง ที่เสื้อผ้าบางชิ้นคือใส่ไปแค่ไม่กี่ครั้งเอง
1
ตอนเริ่มต้น กับตอนนี้ คำถามของลูกค้าเปลี่ยนไปมาก
พวกเขาไม่ได้ถามว่า เสื้อผ้าเป็นของใครแล้ว แต่ถามว่า เสื้อผ้าของคนนี้ จะโพสต์อีกเมื่อไรแทน”
1
ที่น่าสนใจไม่แพ้คอนเซปต์ของแบรนด์ Hangles คือการเติบโต..
เพราะหลังจากที่เปิดบริการบนเว็บไซต์ ก็ได้รับฟีดแบ็กและคำติชมจากลูกค้า จึงนำมาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และตัดสินใจพัฒนามาเป็นแอปพลิเคชัน
ซึ่งภายใน 2 เดือน หลังจากเปิดตัวแอปพลิเคชัน ก็มียอดผู้ใช้งานเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 150%
มีเสื้อผ้ามือสองสารพัดแบรนด์ ​ตั้งแต่ราคาหลักร้อย ถึงหลักหมื่นบาท หมุนเวียนในระบบแล้วมากกว่า 40,000 ตัว
ซึ่งจากการพูดคุย กับคุณลูกน้ำและคุณนุ่น สามารถสรุปเบื้องหลังการเติบโตของ Hangles ได้ดังนี้
1) แพลตฟอร์มใช้ง่าย คนขายก็สะดวก คนซื้อก็สนุก
สำหรับผู้ที่เข้ามาซื้อของ
Hangles ตั้งใจดิไซน์แพลตฟอร์มให้ดูน่ารัก และใช้งานง่ายเหมือนเล่น Social media
3
แถมยังดิไซน์การจัดหมวดหมู่สินค้าให้หาง่าย เช่น แบ่งตามไซซ์ แบ่งตามสี แบ่งตามเทศกาล หรือการจัดหมวดหมู่รวมเสื้อผ้า จากเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งจะช่วยหาเสื้อผ้าที่แมตช์กับตัวเองได้ง่าย ๆ
1
นอกจากนี้ ยังวางระบบชำระเงินให้สะดวกสบาย แถมกรณีที่เสื้อผ้าไม่ตรงปก ก็สามารถขอคืนเงินได้ 100% อีกด้วย
หรือถ้าใครอยากลองเสื้อผ้า hangles เองก็มีหน้าร้านที่ลูกค้าสามารถเข้าไปช็อปที่ตึก Circular สยามสแควร์ ซอย 2 ได้เช่นกัน
ในด้านผู้ขายเอง ก็สะดวกไม่แพ้กัน โดยสามารถเลือกขายเสื้อผ้าได้ 2 แบบ
แบบแรก คือ โพสต์ขายบนแพลตฟอร์มเอง โดยจะถูกเก็บค่าบริการรวม 7% ของราคาขาย
เพียงแค่โพสต์รูปเสื้อผ้าลงบนแพลตฟอร์ม เมื่อปิดการขายได้ ก็แค่พรินต์ใบปะหน้าจากระบบ
และรอให้ขนส่ง เข้ามารับสินค้าที่บ้าน หรือจะไปส่งเองกับผู้ให้บริการต่าง ๆ ก็เลือกได้ตามความสะดวก
2
ส่วนแบบที่สอง เหมาะกับคนที่ไม่ค่อยมีเวลา เพียงแค่ส่งเสื้อผ้ามาให้ Hangles ช่วยทำความสะอาด ถ่ายรูป และลงขายให้ ผ่านช่องทางคือ ออนไลน์, หน้าร้าน และการออกบูทในงานต่าง ๆ
โดยจะถูกเก็บค่าบริการเพิ่มขึ้นจากแบบแรก อยู่ที่ 8-50% ขึ้นอยู่กับราคาสินค้า (ยิ่งราคาสูง อัตราค่าบริการยิ่งน้อย)
ขณะที่ราคาเสื้อผ้า ที่จะขายให้แก่ลูกค้า จะตั้งราคาเองหรือจะให้ Hangles ช่วยตั้งราคาให้ก็ไม่มีเกี่ยง
2
2) สื่อสารตรง Pain Point ของผู้บริโภค
2
บางคนอาจมองว่า การแต่งตัวจัดจ้าน ใส่เสื้อผ้าไม่เคยซ้ำ เป็นการทำลายโลก เพราะสนับสนุนอุตสาหกรรมแฟชั่นที่ใช้ทรัพยากรโลกมากเกินความจำเป็น
แต่สำหรับ Hangles มองว่า ทุกคนสามารถบาลานซ์ ระหว่างความสนุกในการแต่งตัว และความใส่ใจในสิ่งแวดล้อมได้ ด้วย “แฟชั่นหมุนเวียน”
คุณนุ่น อธิบายว่า “ของมือสอง เป็นแค่ของเก่าสำหรับอีกคน แต่เป็นของใหม่สำหรับบางคน
ทุกคนยังสามารถที่จะเป็นสายแฟชั่นได้ โดยถ้าไม่อยากใส่เสื้อผ้าซ้ำ อยากให้เสื้อผ้ามือสองเป็นทางเลือกแรก และนำเสื้อผ้าที่เบื่อแล้วสำหรับคุณ กลับมา Circulate ใน hangles อีกครั้ง เพื่อยืดอายุการใช้งานของเสื้อผ้า ทั้งสร้างรายได้ แล้วยังช่วยโลกด้วย”
2
3) Zero Waste ได้จริง
Hangles ไม่ได้อยากเป็นแค่ตัวกลางในการซื้อขายเสื้อผ้ามือสองเท่านั้น แต่มีเป้าหมายที่ใหญ่กว่านั้น
นั่นก็คือ “Make Zero Waste Fashion Possible ทำให้อุตสาหกรรมแฟชั่นไม่มีขยะ”
เริ่มตั้งแต่การจัดการกับเสื้อผ้าที่มีตำหนิ ที่ไม่สามารถนำไปขายต่อได้ หากลูกค้าเลือกที่จะไม่รับคืน เสื้อผ้าเหล่านี้จะถูกคัดเลือกไปอยู่ในที่ที่เหมาะสมที่สุด
 
- เสื้อผ้าที่มีตำหนิไม่มาก จะถูกนำไปบริจาคหรือถูกส่งต่อให้ดิไซเนอร์ นำไปตัดแต่งเป็นเสื้อผ้าตัวใหม่
1
- เสื้อผ้าที่มีตำหนิเยอะมาก ไม่สามารถนำไปใช้ต่อได้แล้ว จะถูกส่งไปรีไซเคิลเป็นเสื้อผ้าใหม่ โดยมีแบรนด์ “CIRCULAR” เป็นพาร์ตเนอร์ในการผลิต
1
หมายความว่า เสื้อผ้ามือสอง ที่มาถึงมือ Hangles จะถูกนำไปเพิ่มมูลค่าให้กลับมามีชีวิตเหมือนใหม่อีกครั้ง และไม่กลายเป็นขยะเลยแม้แต่ตัวเดียว..
 
นอกจากนี้ แพลตฟอร์มยังมีฟีเชอร์ “Officials” ที่ร่วมมือกับแบรนด์แฟชั่นร้านดังใน Instagram ลงขายสินค้ามือหนึ่งที่ค้างสต็อก ในราคาเป็นมิตรอีกด้วย
4
เพราะในแต่ละปีมีสินค้าค้างสต็อกที่ต้องจบลงที่กองขยะทั่วโลกมากกว่า 30,000 ล้านชิ้นเลยทีเดียว
โมเดลธุรกิจที่ครบวงจรขนาดนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ Hangles จะเป็นอีกหนึ่งสตาร์ตอัปไทยที่น่าจับตามอง
สะท้อนจากรางวัลด้านสตาร์ตอัปมาแล้วหลายเวที เช่น
1
- รางวัล "Best Performance Startup Award" จากโครงการ True Digital Park Startup Garage
- รางวัลรองชนะเลิศจาก Krungsri UPcelerator โครงการค้นหาที่สุดของสตาร์ตอัป
- Top 100 Startups ในเวที Echelon Asia Summit 2023 ที่ได้ไป Pitching ที่ประเทศสิงคโปร์ด้วย
เรียกได้ว่านี่เป็นอีกหนึ่งสตาร์ตอัปไทย ที่เริ่มต้นจากปัญหาเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ของผู้ก่อตั้ง
แต่พัฒนาจนสามารถช่วยแก้ปัญหาให้คนอื่น ๆ ที่ประสบ Pain Point ในแบบเดียวกัน
และเป็นส่วนหนึ่งในการทะนุถนอมโลกใบนี้ได้พร้อม ๆ กัน
แบบไม่ต้องเบียดความสุขของคนรักการแต่งตัว มากจนเกินไป
สมกับสโลแกนที่ว่า “สายแฟแคร์โลก” จริง ๆ..
References:
-สัมภาษณ์พิเศษกับคุณเพ็ญพิชชา สันตินธรกุล และคุณพิชชาธร สันตินธรกุล Co-founder, Hangles
โฆษณา