31 ก.ค. 2023 เวลา 11:23 • ประวัติศาสตร์
กาญจนบุรี

กองสลากไท และ สลากไทพลัส พามาทำความรู้จัก กาญจนบุรี

กองสลากไท และ สลากไทพลัส พามาทำความรู้จักกับ กาญจนบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกของประเทศไทย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเชียงใหม่ และมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 129 กิโลเมตร มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าระยะทางประมาณ 370 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง
ได้แก่ ทิศเหนือ จรดจังหวัดตากและจังหวัดอุทัยธานี ทิศใต้ จรดจังหวัดราชบุรี ทิศตะวันออก จรดจังหวัดสุพรรณบุรีและนครปฐม ทิศตะวันตก จรดประเทศพม่า
ประวัติ
ความเป็นมาของกาญจนบุรีเท่าที่มีการค้นพบหลักฐานนั้น ย้อนไปได้ถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อมีการค้นพบเครื่องมือหินในบริเวณบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี ล่วงมาถึงสมัยทวารวดี ซึ่งมีหลักฐานคือซากโบราณสถานที่ตำบลปรังเผล อำเภอสังขละบุรี เป็นเจดีย์ลักษณะเดียวกับจุลประโทนเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม บ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
รวมทั้งค้นพบโบราณวัตถุ เช่น พระพิมพ์สมัยทวารวดีจำนวนมาก สืบเนื่องต่อมาถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 16-18 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบคือปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งมีรูปแบบศิลปะแบบขอม สมัยบายน
กาญจนบุรียังปรากฏในพงศาวดารเหนือว่า กาญจนบุรีเป็นเมืองขึ้นของสุพรรณบุรีในสมัยสุโขทัย ครั้นมาถึงสมัยอยุธยา กาญจนบุรีก็มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการทำสงครามระหว่างกองทัพไทยกับพม่า จนกระทั่งถึงสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ เดิมตัวเมืองกาญจนบุรีเดิมนั้นตั้งอยู่ที่ตำบลลาดหญ้า (บริเวณเขาชนไก่ในปัจจุบัน) ภายหลังจนถึง พ.ศ. 2374 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดให้ก่อสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการขึ้นเป็นการถาวร
ณ เมืองกาญจนบุรีใหม่โดยตั้งอยู่ ณ ตำบลปากแพรก อันเป็นสถานที่บรรจบของแม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย โดยตัวเมืองอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำแควใหญ่ ซึ่งมีความเหมาะสมทางยุทธศาสตร์และด้านการค้า โดยเริ่มก่อสร้างเมืองเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2374 และสำเร็จในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 และได้แยกออกจากสุพรรณบุรีนับแต่นั้นเป็นต้นมา ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ส่วนใหญ่เพื่อติดต่อค้าขายกับเมืองราชบุรี ดังพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสไทรโยค กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
"แต่มีเมืองปากแพรกเป็นที่ค้าขาย ด้วยเขาชนไก่เมืองเดิมอยู่เหนือมากมีแก่งถึงสองแก่ง ลูกค้าไปมาลำบาก จึงลงมาตั้งเมืองเสียที่ปากแพรกนี้เป็นทางไปมาแก่เมืองราชบุรีง่าย เมืองที่สร้างขึ้นใหม่ กว้าง 5 เส้น ยาว 10 เส้น 18 วา มีป้อม 4 มุมเมือง ป้อมย่านกลางด้านยาวตรงหน้าเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้มีป้อมใหญ่อยู่ตรงเนิน ด้านหลังมีป้อมเล็กตรงกับป้อมใหญ่ 1 ป้อม" การสร้างเมืองกาญจนบุรีใหม่นี้
ดังปรากฏในศิลาจารึกดังนี้ ให้พระยาราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจเป็นพระยาประสิทธิสงครามรามภักดีศรีพิเศษประเทศนิคมภิรมย์ราไชยสวรรค์พระยากาญจนบุรี ครั้งกลับเข้าไปเฝ้าโปรดเกล้าฯ
ว่าเมืองกาญจนบุรีเป็นเมืองอังกฤษ พม่า รามัญ ไปมาให้สร้างเมืองก่อกำแพงขึ้นไว้จะได้เป็นชานพระนครเขื่อนเพชรเขื่อนขัณฑ์มั่นคงไว้แห่งหนึ่ง ในปัจจุบันกำแพงถูกทำลายลงโดยธรรมชาติและหน่วยราชการเพื่อประโยชน์อย่างอื่น เหลือเพียงประตูเมืองและกำแพงเมืองบางส่วน
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการจัดรูปแบบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล กาญจนบุรีถูกโอนมาขึ้นกับมณฑลราชบุรี และยกฐานะเป็นจังหวัดกาญจนบุรีในปี พ.ศ. 2467
เหตุการณ์ที่ทำให้กาญจนบุรีมีชื่อเสียงไปทั่วโลก คือช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นได้ตัดสินใจสร้างทางรถไฟยุทธศาสตร์ จากชุมทางหนองปลาดุกในประเทศไทยไปยังเมืองทันบูซายัตในพม่า โดยเกณฑ์เชลยศึกและแรงงานจำนวนมากมาเร่งสร้างทางรถไฟอย่างหามรุ่งหามค่ำ จนทำให้มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ทั้งจากความเป็นอยู่ที่ยากแค้นและโรคภัยไข้เจ็บที่รุมเร้า ซึ่งภาพและเรื่องราวของความโหดร้ายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปรากฏอยู่ในพิพิธภัณฑ์หลายแห่งในกาญจนบุรี
ชื่อเรียกอื่น ๆ ของกาญจนบุรี เช่น เมืองกาญจน์ ปากแพรก ศรีชัยยะสิงหปุระ (ซึ่งในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เรียกเมืองกาญจนบุรีว่า ศรีชัยยะสิงหปุระ) และเมืองขุนแผน เป็นต้น
ภูมิศาสตร์
ลักษณะภูมิประเทศจังหวัดกาญจนบุรี แบ่งออกได้ 3 ลักษณะดังนี้
เขตภูเขาและที่สูง พื้นที่ทางด้านทิศเหนือของจังหวัด ได้แก่บริเวณอำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิอำเภอศรีสMKImage002วัสดิ์และอำเภอไทรโยค มีลักษณะเป็นเทือกเขาต่อเนื่องมาจากเทือกเขาถนนธงชัยถัดไปทางด้านตะวันตกของจังหวัด เทือกเขาตะนาวศรีซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับ
ประเทศเมียนมาร์ทอดยาวลงไปทางด้านใต้ บริเวณนี้จะเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่สำคัญของจังหวัด คือแม่น้ำแควใหญ่ และแควน้อย
2.เขตที่ราบลูกฟูก ได้แก่พื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขาสลับกับเนินเขาเตี้ย ๆ อยู่บริเวณอำเภอเลาขวัญ อำเภอบ่อพลอยและบางส่วนของอำเภอพนมทวน
เขตที่ราบลุ่มน้ำ ได้แก่พื้นที่ทางด้านใต้ของจังหวัด ลักษณะเป็นที่ราบ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ อยู่บริเวณอำเภอท่ามะกา อำเภอท่าม่วงและบางส่วนของอำเภอพนมทวน อำเภอเมืองกาญจนบุรี
อาณาเขตติดต่อ
ตามภูมิศาสตร์ที่ตั้ง จังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่อยู่ในภาคตะวันตก แต่ในทางการปกครองแบบ 4 ภูมิภาค (เหนือ อีสาน กลาง ใต้)และกรมอุตุนิยมวิทยา จะถูกจัดอยู่ในภาคกลาง มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ 5 จังหวัด ดังนี้
  • ทิศเหนือ ติดกับ อำเภออุ้มผาง (จังหวัดตาก) อำเภอบ้านไร่ (จังหวัดอุทัยธานี) รัฐมอญและรัฐกะเหรี่ยง (ประเทศพม่า)
  • ทิศตะวันออก ติดกับ อำเภอบ้านไร่ (จังหวัดอุทัยธานี) อำเภอด่านช้าง อำเภอหนองหญ้าไซ อำเภอดอนเจดีย์ อำเภออู่ทองและ อำเภอสองพี่น้อง(จังหวัดสุพรรณบุรี)
  • ทิศใต้ ติดกับ อำเภอกำแพงแสน (จังหวัดนครปฐม) อำเภอสวนผึ้ง อำเภอจอมบึง อำเภอโพธารามและ อำเภอบ้านโป่ง(จังหวัดราชบุรี)
  • ทิศตะวันตก ติดกับรัฐมอญ และภาคตะนาวศรี (ประเทศพม่า) โดยมีแนวเขาสำคัญแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับพม่าคือทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาตะนาวศรี
สถานที่ท่องเที่ยว
  • น้ำตกเอราวัณ - ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเอราวัณ ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100 – 400 เมตร แบ่งเป็น 7 ชั้น เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดกาญจนบุรี ความพิเศษของน้ำตกเอราวัณ คือ น้ำเป็นสีฟ้าใสอมเขียว ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 62 กม.
  • วัดหินแท่นลำภาชี ตั้งอยู่บ้านหินแท่น ตำบลหนองไผ่ อำเภอด่านมะขามเตี้ย เป็นวัดที่เลื่องชื่ออุโบสถที่สวยที่สุดในจังหวัดกาญจนบุรี ที่มีสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี องค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่หน้าอุโบสถ โดยอุโบสถที่สวยงามแห่งนี้เรียกว่า โบสถ์สำเภาแก้วร้อยล้าน ถูกสร้างขนาบข้างด้วยเรืออนันตนาคราชลักษมีหนึ่งเดียวในประเทศไทย
  • วัดถ้ำเสือ อยู่ที่ ตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง วัดและสถานที่ท่องเที่ยวตั้งอยู่บนยอดเขา สวยงามสะดุดตา เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวมหัศจรรย์ในจังหวัดกาญจนบุรี
  • สะพานข้ามแม่น้ำแคว ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองกาญจนบุรี เป็นสะพานข้ามทางรถไฟสายมรณะ
  • ด่านเจดีย์สามองค์ ตั้งอยู่ที่ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี เป็นจุดผ่านแดนระหว่างไทยกับพม่า มีตลาดชายแดน เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของอำเภอสังขละบุรี
โฆษณา