Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Zero to Profit
•
ติดตาม
15 ส.ค. 2023 เวลา 13:00 • ธุรกิจ
ค่าทำบัญชีประจำเดือนต่างกับประจำปียังไง?
โดยปกติแล้ว งานบัญชีแบ่งออกเป็นงานที่ทำประจำเดือน และทำเป็นประจำทุกปี หรือที่หลายคนมักเรียกติดปากว่า “ปิดบัญชี” ค่ะ
นักบัญชีบางเจ้าเรียกเก็บ ค่าทำบัญชีแยกกันเป็น 2 ส่วน บางเจ้าก็เรียกเก็บรวมกันเป็นก้อนเดียว
แต่เจ้าของธุรกิจเคยรู้มั้ยเอ่ยว่า ค่าทำบัญชีรายเดือนต่างกับค่าปิดบัญชีประจำปีอย่างไร มีเรื่องภาษีมาเกี่ยวข้องไหม และ ผลงานที่ควรได้รับจากนักบัญชีนั้นหลักๆ มีอะไรบ้าง เราลองมาดูกัน
ค่าทำบัญชีรายเดือน ก็คือ ค่าบริการสำหรับการบันทึกบัญชีและนำส่งภาษีแบบประจำเดือน ซึ่งโดยทั่วไปกฎหมายกำหนดว่าจะต้องส่งภาษีต่อไปนี้เป็นประจำทุกๆ เดือนค่ะ
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เช่น แบบ ภงด.1 สำหรับการหัก ณ ที่จ่าย เงินเดือน แบบ ภงด.3 สำหรับหัก ณ ที่จ่าย ค่าจ้าง/ค่าบริการ/ค่าเช่าจ่ายให้บุคคลธรรมดา และแบบ ภงด.53 ที่จ่ายให้นิติบุคคล
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม ผ่านแบบ ภพ. 30
ดังนั้น อย่างน้อยทุกเดือนนักบัญชีต้องมีแบบภาษีพร้อมรายละเอียดประกอบให้เรียบร้อย พร้อมทั้งงบประจำเดือนส่งให้เจ้าของธุรกิจตรวจสอบนะคะ
ค่าปิดบัญชีประจำปี คือ ค่าบริการสำหรับงานบัญชีที่ต้องทำเป็นประจำทุกปี ได้แก่
- การปรับปรุงบัญชีประจำปี
- จัดทำและยื่นงบการเงิน
- นำส่งภาษีประจำปี ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล
เจ้าของธุรกิจต้องได้รับหลักฐานการทำบัญชี และนำส่งงบการเงิน พร้อมกับภาษีต่างๆ ประจำปีให้ครบถ้วน และนำมาเก็บไว้ที่สำนักงานด้วยนะ
นี่จึงเป็นที่มาที่ไปว่าทำไมนักบัญชีบางท่าน คิดค่าบริการแยกเป็น 2 ก้อน ซึ่งก็เป็นเพราะลักษณะงานที่แตกต่างกันนั่นเองค่ะ
แต่ไม่ว่าค่าบริการที่เราจ่ายจะเป็นก้อนเดียวหรือสองก้อน สิ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้ไว้เสมอก็คือ เราเองก็ต้องใส่ใจ และใช้ผลงานจากข้อมูลบัญชีให้มีประโยชน์ด้วยเช่นกัน จะได้ไม่เสียดายเงินที่จ่ายไปในแต่ละเดือน เพื่อนคิดว่าจริงไหมคะ
จ่ายค่าทำบัญชีแล้วได้งานชัวร์ ติดต่อ
Line: @zerotoprofit หรือ
https://lin.ee/36U1ks0Y
ติดตาม Zero to Profit ได้ที่
Website:
https://zerotoprofit.co
Facebook:
https://www.facebook.com/ZerotoprofitTH
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย