Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยเรื่องหลากมุมกับ ภก.ปราโมทย์
•
ติดตาม
16 ส.ค. 2023 เวลา 09:55 • สุขภาพ
น้ำตาเทียม ใช้อย่างไร?
น้ำตาเทียมมีที่ใช้อย่างแพร่หลายในโรคและภาวะต่างๆที่เกี่ยวกับดวงตา ก่อนที่เราจะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ใด ๆ เราจำเป็นต้องรู้จักส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เสียก่อน สำหรับน้ำตาเทียมนั้นส่วนประกอบจะแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ สารช่วยหล่อลื่น และให้ความชุ่มชื้นกับดวงตา สารที่ทำให้น้ำตาเทียมมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำตาธรรมชาติ และสารกันเสีย โดยน้ำตาเทียมในรูปแบบนี้ถูกบรรจุในภาชนะ 2 แบบคือ แบบรายเดือน และแบบรายวัน (สารกันเสีย)
ควรระวังการใช้ยาหยอดตารายเดือนที่มีส่วนผสมของ Benzalkonium chloride ในผู้ที่สวมคอนแทคเลนส์ โดยเฉพาะแบบนิ่ม (Soft lens) เนื่องจากจะก่อให้เกิดความเสียหายกับตัวเลนส์ได้ และน้ำตาเทียมแบบรายวันเมื่อเปิดแล้วใช้ได้ไม่เกิน 1 วัน
โดยน้ำตาเทียมแต่ละประเภทมีเงื่อนไขการใช้ที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้
(นำมาเผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทาน ไม่มีเจตนาแสวงหาผลกำไร)
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่มี CMC เป็นส่วนประกอบ
1. น้ำตาเทียมที่มีส่วนผสมของคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (Carboxymethyl cellulose, CMC) เป็นสารให้ความหนืดที่มีความหนืดต่ำที่สุดในบรรดาของสารช่วยหล่อลื่น และให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตา เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งไม่รุนแรง หรือใช้เพื่อป้องกันตาแห้ง ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ได้แก่ Cellufresh® (เซลลูเฟรช) และ Tearmac® (เทียร์แมค)
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่มี HPMC เป็นส่วนประกอบ
2. น้ำตาเทียมที่มีส่วนประกอบของไฮดรอกซีโพรพิล เมทิลเซลลูโลส (Hydroxypropyl methylcellulose, HPMC) เป็นสารให้ความหนืดที่มีความหนืดระดับปานกลาง เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งที่ไม่รุนแรงถึงปานกลาง ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ได้แก่ Natear® (แนทเทียร์) Opsil Tears® (ออฟซิลเทียร์ส:ควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่ดวงตาแพ้ง่าย และผู้ที่สวมใส่คอนแทคเลนส์โดยเฉพาะแบบนิ่ม) Genteal® (เจนเทียล) และ Sof Tear® (ซอฟเทียร์)
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่มี HPMC เป็นส่วนประกอบ
3. น้ำตาเทียมที่มีส่วนประกอบของไฮยาลูโรนิคเอซิด (Hyaluronic acid) เป็นสารให้ความหนืดที่มีความหนืดระดับปานกลาง ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้ดวงตา ลดการอักเสบ และมีฤทธิ์สมานแผล เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งปานกลาง ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดดวงตา
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ได้แก่
Vislube® (วิสลูบ) น้ำตาเทียมแบบรายวันที่ปรับสูตรเป็นแบบ ไฮโปโทนิค (hypotonic) ทำให้น้ำซึมเข้าผิวเซลล์ได้ดี ปราศจากสารกันเสียจึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ผู้ที่สวมใส่คอนแทคเลนส์ หรือผู้ที่ได้รับการผ่าตัดดวงตา หรือผู้ที่มีอาการตาแห้งปานกลางถึงรุนแรง
4. น้ำตาเทียมที่เหมาะกับผู้ที่มีอาการตาแห้งที่รุนแรง ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ได้แก่ Systane® ultra (ซิสเทนอัลตร้า) น้ำตาเทียมที่มีสารให้ความหนืดสูงได้แก่ โพลีเอทิลีนไกลคอล 400 (Polyethylene glycol 400, PEG-400) และโพพิลีนไกลคอล (Propylene glycol) มีทั้งแบบรายวัน (Systane® ultra UD) และรายเดือน โดยสารกันเสียที่ใช้ในแบบรายเดือนคือ Polyquad®
Tears Natural® (เทียร์ส แนเชอรัล) น้ำตาเทียมที่มีการเทคโนโลยี DUASORB® system ผสมสารให้ความหนืดและความชุ่มชื้น ได้แก่ HPMC และ Dextran 70 ที่ช่วยหล่อลื่นดวงตา มีทั้งแบบรายวัน (Tears Natural® Free) และแบบรายเดือน (Tears Natural® II)
ทั้งสองชนิดใช้สารกันเสียคือ Polyquad® (polyquaternium-1) ซึ่งเป็นสารกันเสียชนิดที่ไม่รุนแรง ก่อให้เกิดการระคายเคืองน้อย แต่ก็ควรระวังในผู้ที่ดวงตาแพ้ง่าย
ตัวอย่างน้ำตาเทียมสำหรับผู้ใช้คอนแทคเลนส์
5. น้ำตาเทียมสำหรับผู้ใช้คอนแทคเลนส์ ผู้ใช้คอนแทคเลนส์สามารถใช้ผลิตภัณฑ์น้ำตาเทียมในรูปแบบสารละลายได้ โดยต้องปราศจากสารกันเสียที่มีฤทธิ์รุนแรงอย่าง BAK หรือหันมาใช้น้ำตาเทียมในรูปแบบรายเดือนที่มีสารกันเสียที่อ่อนโยนต่อดวงตา หากเป็นกังวลเกี่ยวกับสารกันเสียเหล่านี้ท่านอาจพิจารณาใช้น้ำตาเทียมในรูปแบบรายวันได้ซึ่งจะปลอดภัยที่สุด และไม่ควรใช้น้ำตาเทียมในรูปแบบขี้ผึ้ง หรือเจลเมื่อสวมใส่คอนแทคเลนส์ นอกจากนี้มีน้ำตาเทียมหลายยี่ห้อที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สำหรับผู้ใช้คอนแทคเลนส์โดยเฉพาะ
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เช่น Bausch & Lomb ReNu® multiplus (บอชแอนด์ลอมบ์ รีนิว มัลติพลัส) มีสารหล่อลื่นและให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาคือ Povidone สามารถใช้ในขณะที่สวมคอนแทคเลนส์ได้ นอกจากนี้สารกันเสียที่ใช้คือ Edetate disodium และ Sorbic acid ซึ่งเป็นสารกันเสียกลุ่มต้านอนุมูลอิสระจึงอ่อนโยนต่อดวงตา และคอนแทคเลนส์
Clens® 100 (คลีนส์ 100) น้ำตาเทียมแบบรายเดือนที่มีสาร RLM-100 (PEG-11 Lauryl Ether Carboxylic Acid) ซึ่งมักใช้ผสมในน้ำยาล้างเลนส์ ช่วยชะล้างคราบโปรตีนในคอนแทคเลนส์ได้ นอกจากนี้สารกันเสียที่ใช้คือ Edetate disodium และ Polyquad® ซึ่งเป็นสารกันเสียชนิดที่ไม่รุนแรงก่อให้เกิดการระคายเคืองน้อยจึงอ่อนโยนต่อดวงตา และคอนแทคเลนส์
นอกจากนี้ ในผู้ป่วยโรคต้อลมและต้อเนื้อ พบว่าภาวะตาแห้งเป็นเวลานานเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดต้อลมและต้อเนื้อ ผลิตภัณฑ์น้ำตาเทียมที่ควรใช้ในผู้ที่เป็นต้อเนื้อจึงต้องปราศจากสารกันเสียที่จะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อดวงตาได้ นั่นคือน้ำตาเทียมแบบรายวัน
อ้างอิง
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4124072/pdf/opth-8-1419.pdf?fbclid=IwAR2Mv-rjXF9eRQD4XCT6NyrHOOZjO_Ak1PXnhyA_7oyZA3bWEI9JVuTKjGw
https://www.nhsdorset.nhs.uk//Downloads/aboutus/medicines-management/Other%20Guidelines/Dry%20eye%20Pathway%20final.pdf?fbclid=IwAR0g8XUDIE4ceVd7cPAbCX3HDbZSkQ8ze_J-pz060h87ETzSj6uVEprJIv4
ความรู้รอบตัว
ข่าวรอบโลก
การลงทุน
3 บันทึก
11
4
2
3
11
4
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย