7 ส.ค. 2023 เวลา 06:36 • สิ่งแวดล้อม
กรุงเทพมหานคร
..ที่มาของสำนวนไทย "ร้อนจนตับแตก"..
เป็นคําโบราณ โดยมีที่มาจาก "ใบจาก" ที่เราใช้มุงหลังคาบ้านเรือน หรือกระท่อม ที่เรียกว่า "ตับจาก"
โดยเป็นคำนาม หมายถึง "ใบจาก" ที่พับทบกับแกนไม้ไผ่ โดยเรียงซ้อนกันเป็นแผง แล้วเย็บด้วยหวาย ตากให้แห้ง ใช้มุงหลังคา เป็นต้น
และ "ตับจาก" เมื่อโดนแดดแรงๆ หรือโดนความร้อน (จนร้อนมากๆ) "ใบจาก" ที่ถูกเย็บเรียงติดๆ กันเป็นตับ ก็จะ "แตก" (หรือมีอาการที่ "โก่งตัวเบียดกัน") ระหว่าง "ใบจาก" แต่ละใบในตับ ทำให้เกิดเสียงดังเปรี๊ยะๆ จนเราสามารถได้ยิน
และอาจเป็นใบจากที่ "ใบหนามากๆ" หรือแก่จัด และแห้งมากๆ เมื่อ "แตก" จึงเกิดเสียงดังมาก
คนในสมัยโบราณ จึงได้นำเอามาเป็นตัวชี้วัดว่า..
หากวันไหนได้ยิน หรือรู้ได้ว่า "ตับจาก" (ที่มุงหลังคาบ้าน) "แตก" เมื่อไหร่..
ก็แสดงว่า..วันนั้นจะเป็นวันที่ร้อนมากๆ หรือเรียกว่า "ร้อนจนตับแตก"
โฆษณา