7 ส.ค. 2023 เวลา 08:21 • ปรัชญา

จังหวะแห่งสรรพสิ่ง

มูซาชิสามารถเชื่อมโยงศาสตร์ของดาบเข้ากับทุกสิ่งได้อย่างแนบเนียนและสมเหตุสมผล ซึ่งนี่คือสิ่งที่มูซาชิเรียกว่า "ใช้หนึ่งเพื่อรู้หมื่น"
ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนได้อยู่ในคัมภีร์ดินในบทที่ชื่อว่า "จังหวะของศิลปะการต่อสู้" โดยตัวของมูซาชิได้บรรยายเอาไว้ดังนี้
อันจังหวะนั้นมีอยู่ในทุกสรรพสิ่ง แต่จังหวะแห่งศิลปะการต่อสู้นั้นยากยิ่งนักที่จะชำนาญได้โดยปราศจากการหมั่นฝึกฝน
อันจังหวะมีอยู่ในทุกสิ่งทั้งปวงบนโลกนี้ เช่น จังหวะการเต้น, จังหวะดนตรี, เครื่องเป่า, เครื่องสาย หรือแม้กระทั่งการขี่ม้า สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีจังหวะที่สอดผสานกัน
ในศิลปะการต่อสู้ก็เช่นกันล้วนมีจังหวะที่เหมาะสมและกลมกลืน จังหวะในการยิงธนู, จังหวะในการยิงปืน, หรือแม้กระทั่งการขี่ม้า เจ้าต้องไม่เพิกเฉยต่อจังหวะในศาสตร์และศิลป์ทั้งหลายเหล่านี้ หรือแม้แต่จังหวะของความว่างเปล่า
เส้นทางแห่งนักรบ มีจังหวะในการได้ยศและเสื่อมยศ จังหวะของความสมหวัง และจังหวะแห่งความผิดหวัง
เส้นทางของพ่อค้า มีจังหวะร่ำรวยและจังหวะของการเสียทรัพย์ขาดทุน
ความกลมเกลียวและความแตกแยกในจังหวะเกิดขึ้นในทุกเส้นทางของชีวิต มันสำคัญที่เจ้าต้องจำแนกให้ได้ระหว่างจังหวะของความเฟื่องฟู และจังหวะแห่งการเสื่อมถอยของทุกสิ่งอย่างระมัดระวัง
ศิลปะการต่อสู้ของมูซาชิได้ถูกพัฒนาไปมากกว่าศาสตร์ของการฆ่าฟัน เขาได้พัฒนาวิชาดาบจนกลายปรัชญา ใช้วิถีแห่งดาบในการใช้ชีวิต และการดำเนินชีวิตนั่นเอง
โฆษณา