7 ส.ค. 2023 เวลา 09:23 • ธุรกิจ
ข้อ 1 ตัวเลขแบบเป๊ะๆคงไม่มีค่ะ แต่ดูได้คร่าวๆดังนี้
- ถ้า shortage ระยะเวลาการส่งมอบจะยืดออกไปจากเดิม & ราคาจะผันผวน & ผู้ผลิตอาจชักจูงโน้มนาวให้ลูกค้าใช้สินค้าตัวอื่นทดแทน เป็นต้น
- ถ้า oversupply งัดมาตรการลดแลกแจกแถมมาใช้ หรือปรับเปลี่ยนสินค้าที่ล้นสต๊อกให้กลายเป็นสินค้าตัวใหม่
1
ข้อ 2 ในโลกยุคปัจจุบัน ทุกอย่างเปลี่ยนเร็วมาก!! นวัตกรรมใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลา product life cycle หดสั้นลง แค่การมองเห็นโอกาสยังไม่เพียงพอ ไม่ใช่ยุคปลาใหญ่กินปลาเล็กอีกต่อไป แต่ต้องเป็นปลาเร็วที่คล่องตัว
ดังนั้นคำว่า "ในระยะยาว" ไม่ได้ใช้กับกรณีที่คุณยกตัวอย่างมาค่ะ แต่ถ้าอยากรู้ว่าคุ้มหรือไม่ที่จะจัดตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อเคสพิเศษ มีหัวข้อทฤษฎีหนึ่งที่ใช้วิเคราะห์เรื่องนี้โดยตรงเรียกว่า optimization ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมดูค่ะ
1
ข้อ 3 ตามที่ จขกท กล่าวมาทั้งหมดจะว่าเพียงพอก็ไม่เชิงค่ะ การศึกษาหาความรู้เป็นภาคทฤษฎีค่ะ ส่วนการไปทำงานที่เกี่ยวข้องนับเป็นภาคปฏิบัติ
จะดูว่าเพียงพอหรือไม่ หรือมีประสิทธิภาพหรือไม่ ก็ต้องดูตอนเจอปัญหา เจอวิกฤติ แล้วคุณรับมืออย่างไร สามารถเอาความรู้และประสบการณ์มาใช้หรือประยุกต์ใช้ได้ดีเพียงใด
1
หรือถ้าประสบความสำเร็จ คุณสามารถถอดบทเรียน สามารถอธิบายที่มาที่ไปของความสำเร็จนั้นได้ พิสูจน์ได้ ทำซ้ำได้ เช่นนี้ก็สามารถเรียกได้ว่า มีประสิทธิภาพค่ะ
นอกจากการหาประสบการณ์ตรงด้วยการไปทำงาน พวกเวทีประกวดแข่งขันต่างๆก็นับเป็นประสบการณ์ที่ดีมากค่ะ เคสแข่งขันที่กำหนดโจทย์ชัด เป้าหมายชัด เกณฑ์ตัดสินชัด พวกนี้เป็นแหล่งระดมสมองอย่างดีของกลุ่มทุนเลยแหละ
1
โฆษณา