19 ส.ค. 2023 เวลา 10:00 • ธุรกิจ

3 เทคนิควางแผนการเงิน

การวางแผนการเงินก็เหมือนกับการสร้างบ้าน ที่ เราต้องเริ่มจากสร้างฐานให้แข็งแรงเพื่อรองรับน้ำ หนักของบ้านทั้งหมด จากนั้นก็ค่อยๆ ต่อเดิมขึ้นไป เรื่อยๆ จนได้แผนการเงินที่เหมือนบ้านที่แข็งแรง สมบูรณ์แข็งแรง
.
Step 1 : บริหารการใช้เงิน
.
พื้นฐานการวางแผนการเงินคือสร้างฐานให้แข็ง แรง ฐานการเงินคือวางวางแผนรายรับ รายจ่าย เหตุผลที่ต้องบริหารรายรับ รายจ่ายให้ได้ก่อนก็ พราะเราจะได้รู้ว่ามีวินัยในการจัดการเงินได้ดีหรือ ไม่ ไม่ใช่ว่าได้เงินมาแล้วเอาไปใช้หมดแถมยัง ติดลบ เป็นหนี้บัตรเครดิต ใช้เงินเดือนชนเดือน เดือดร้อนก็ยืมคนอื่น
.
ถ้าเป็นแบบนี้คงยากที่จะไป ขั้นต่อไปได้ ดังนั้น ลองทําบัญชีรายรับ รายจ่าย ว่าแต่ละเดือนมีเงินพอใช้ไหม เงินหมดไปกับอะไร บ้างที่ไร้สาระ สามารถตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออก ได้ไหม เพื่อให้มีเงินเหลือเก็บ (เทคนิคออมเงิน)
.
Step 2 : บริหารจัดการความเสี่ยง
.
บริหารจัดการความเสี่ยง เมื่อมีเงินเหลือใช้แล้ว หลายคนใจร้อน ข้ามขั้นเอาเงินไปลงทุนเลย ใจ เย็นๆก่อนนะครับ การจัดการความเสี่ยงก็เพื่อไม่ให้ เงินที่เราเก็บได้หมดไป
.
วัยรุ่นหลายคนยังคิดว่า สุขภาพเรายังแข็งแรงเลยลืมส่วนนี้ไป การเจ็บป่วย คือตัวการผลาญเงินที่สําคัญที่สุดของมนุษย์เรา ใครไม่เคยนอนโรงพยาบาล ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุ คง ไม่รู้ว่าค่าใช้จ่ายสูงขนาดไหน ป่วยธรรมดา 2-3 หมื่นก็ถือว่าเยอะแล้ว ถ้าป่วยหนักๆ อาจจะหมด เงินเป็นแสนบาทก็ได้ มีเพื่อนผมคนนึง ผ่าตัดไส้ติ่ง หมดไปแสนกว่าบาทประกันสุขภาพจ่ายบางส่วน เงินเก็บหายไปกับตา ฉะนั้นก่อนจะข้ามขั้นไป ลงทุน ลองหาแผนประกันสุขภาพที่พอจ่ายเบี้ย ไหวไว้สักฉบับ เพื่อมีเหตุจำเป็นต้องใช้หรือเจ็บ
.
สําหรับผู้ใหญ่วัยกลางคนที่ทีครอบครัว และมี ประกันสุขภาพอยู่แล้วอาจจะดูว่าเรามีหนี้อยู่เท่า ไหร่ ถ้าเราเป็นอะไรไป ใครจะใช้หนี้ต่อให้ ลูกจะได้ เรียนต่อไหม ครอบครัวจะลำบากไหม การบริหาร ความเสี่ยงอาจจะเป็นการทำประกันชีวิต ประกัน ภัยให้มีวงเงินเพียงพอสำหรับการใช้หนี้เมื่อเราเป็น อะไรไป หรือทําเผื่อไว้เป็นเงินก้อนให้ลูก ให้ภรรยา ให้สามีไว้ตั้งหลัก (ประกันสุขภาพปกป้องเงินในกระเป๋า)
.
Step 3 : ออมเงินและลงทุน
.
ถึงเวลาลงทุนแล้ว หลังจากที่วางแผนรายรับ ราย จ่ายได้แล้ว ทำให้เป็นวินัยสม่ำเสมอก็จะมีเงินเหลือ ใช้เพื่อไปลงทุนแน่นอน ส่วนการบริหารความเสี่ยง ก็จัดการแล้วก็ไม่ต้องกลัวแล้วว่าถ้าเจ็บป่วยเงิน เก็บที่เราที่อยู่จะถูกเอาไปใช้เพราะเรามีประกัน คุ้มครอง เรามาดูกันต่อว่าจะลงทุนยังไงดี
.
ผมขอแบ่งการลงทุนเป็น 2 กลุ่มนะครับเพราะ แม้ว่าการลงทุนคือการทำให้เงินงอกเงย แต่มันมี ผลประโยชน์บางอย่างแอบแฝงอยู่ด้วย
.
1. การลงทุนที่ได้ประโยชน์จากการลดหย่อนภาษี เช่น สำหรับใครที่มีรายได้เยอะ เสียภาษีเยอะ การซื้อประกันชีวิต หรือกองทุน SSF หรือ RMF นอกจากจะได้การลงทุนแล้วยังสามารถ เอาไปลดหย่อนภาษีได้ด้วย แม้ว่าการซื้อ ประกันชีวิตอาจจะเอาไปลดหย่อนภาษีได้แต่ ผลตอบแทนไม่สูงมากแต่ก็การันตีเงินคืน แน่นอน นอกจากนี้เราก็สามารถแบ่งไปซื้อกอง ทุนอื่นๆ ที่ได้ผลตอบแทนสูงและลดหย่อนภาษี ได้เหมือนกัน
.
2. ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ หรือกองทุนรวม ข้อ จํากัดของข้อ 1 การซื้อประกันชีวิตกับกองทุน SSF/RMF จะได้ผลตอบแทนและสิทธิ์ลด หย่อนภาษีก็จริง แต่ต้องถือไว้ตามระยะเวลาที่ กำหนด ถ้าใครที่มีประกันและกองทุนเต็ม
.
แบ่งการลงทุนเป็น 2 กลุ่มนะครับเพราะ แม้ว่าการลงทุนคือการทำให้เงินงอกเงย แต่มันมี ผลประโยชน์บางอย่างแอบแฝงอยู่ด้วย
1. การลงทุนที่ได้ประโยชน์จากการลดหย่อนภาษี เช่น สำหรับใครที่มีรายได้เยอะ เสียภาษีเยอะ การซื้อประกันชีวิต หรือกองทุน SSF หรือ RMF นอกจากจะได้การลงทุนแล้วยังสามารถ เอาไปลดหย่อนภาษีได้ด้วย แม้ว่าการซื้อ ประกันชีวิตอาจจะเอาไปลดหย่อนภาษีได้แต่ ผลตอบแทนไม่สูงมากแต่ก็การันตีเงินคืน แน่นอน นอกจากนี้เราก็สามารถแบ่งไปซื้อกอง ทุนอื่นๆ ที่ได้ผลตอบแทนสูงและลดหย่อนภาษี ได้เหมือนกัน
.
2. ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ หรือกองทุนรวม ข้อ จํากัดของข้อ 1 การซื้อประกันชีวิตกับกองทุน SSF/RMF จะได้ผลตอบแทนและสิทธิ์ลด หย่อนภาษีก็จริง แต่ต้องถือไว้ตามระยะเวลาที่ กำหนด
.
#เคล็ดลับความสำเร็จสำหรับคนทำงาน
#เทคนิคสร้างธุรกิจ #สุดยอดนักขาย
#การเอาชนะใจลูกค้า
#EQtraining #EQGroup
โฆษณา