9 ส.ค. 2023 เวลา 08:39 • ท่องเที่ยว

ความแตกต่างระหว่างวันขั้วโลกและคืนสว่าง

ในรัสเซีย มี 2 ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่คล้ายกันมาก แต่มีชื่อเรียกที่ต่างกัน อันเนื่องมาจาก ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ และช่วงเวลาในการชมปรากฏการณ์ดังกล่าวนั้น แตกต่างกัน
แม้นาฬิกาจะแสดงเวลาเที่ยงคืนแต่ชาวบ้านทางตอนเหนือของรัสเซียนั้น พบว่ายังมีแสงสว่างจ้า ไปทุกที่ราวกับเป็นเวลาช่วงกลางวัน แล้วพวกเขาจะรู้ได้อย่างไร ว่ามันคือปรากฏการณ์วันขั้วโลก หรือปรากฏการณ์คืนสว่าง
ความแตกต่างของมันอยู่ที่ ปรากฏการณ์วันขั้วโลกนั้น จะเกิดขึ้น ช่วงฤดูร้อน กับเมืองทางตอนเหนือ ที่อยู่เหนือวงกลมอาร์คติก หรือ 66 องศา 33 ลิบดา ในเวลาเที่ยวคืนฟ้ายังสว่าง โดยที่ตำแหน่งดวงอาทิตย์นั้น อยู่เหนือเส้นขอบฟ้า ยิ่งเมืองไหนอยู่ในตำแหน่งใกล้ขั้วโลกเหนือ ปรากฏการณ์วันขั้วโลกก็จะยาวนานขึ้น บางเมืองทางตอนเหนือของรัสเซียเช่น นอร์ริสก์ พระอาทิตย์ไม่ตกดินยาวนานถึง 68 วัน หรือเมอร์แมนสก์ ที่พระอาทิตย์ไม่ตกดินยาวนานถึง 62 วัน
ในขณะที่ปรากฏการณ์คืนสว่าง จะปรากฏในเมืองที่อยู่ต่ำกว่าเส้นละติจูด (60-64)องศา โดยจะปรากฏเส้นสีขาว แบ่งแยกช่วงอาทิตย์ขึ้นและอาทิตย์ตก จากการที่ดวงอาทิตย์ลอยต่ำจนเกือบ ต่ำกว่าเส้นขอบฟ้า ทั้งนี้ แม้เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก จะตั้งอยู่ในพิกัดที่ค่อนข้างต่ำเกินไปที่จะเกิดปรากฏการณ์นี้ แต่ในความเป็นจริง นักท่องเที่ยวสามารถชม คืนสว่างในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กได้ช่วง 11 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม
ที่สำคัญเมืองทางตอนเหนือ จะเห็นปรากฏการณ์ทั้งคู่ แบบติดต่อกัน กล่าวคือ หลังการเกิดคืนสว่างแล้ว ก็ต่อด้วยปรากฏการณ์วันขั้วโลก ชนิดสว่างติดต่อกัน มากกว่า 3 เดือนเลยทีเดียว
โฆษณา