10 ส.ค. 2023 เวลา 07:59 • ความคิดเห็น
เราได้สรุปความไปโดยสังเขป ในประเด็น "วิชชาธรรมกาย" ของหลวงปู่สด เกี่ยวข้องอย่างไรกับ "วัดพระธรรมกาย" ไปในคอมเม้นท์ก่อนหน้าแล้ว เราขออนุญาตไล่ความเข้าใจ เพื่อเพียงพอจะตอบคำถามในประเด็นที่เจ้าของกระทู้สอบถามเราเป็นการส่วนตัวนะคะ
1. คำว่า "ธรรมกาย" มีบรรจุคำนี้ในพระไตรปิฏก โดยท่านพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เป็นผู้แจงคำนี้ไว้ในประมวลศัพท์ว่า.... https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%B8%C3%C3%C1%A1%D2%C2
1
2. คำว่า "วิชชาธรรมกาย" เกิดขึ้นครั้งแรก จากการเทศน์สอนศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่สด ท่านเป็นคนมีจิตใจมุ่งมั่น เป็นผู้ค้นพบ "วิชชาธรรมกาย" ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติตามแนวสติปัฎฐาน 4 อย่างที่เราๆ เคยได้ยินคำว่า "ศูนย์กลางกายฐาน 7" เผื่อคุณสนใจนะคะ.....
1
3. ตามข้อ 2 ความเห็นส่วนตัวเราจึงมองว่า เทคนิคหรือวิธีปฏิบัติของครูอาจารย์แต่ละท่าน ก็คงมีกันทุกท่าน แต่แตกต่างกันไปในกุศโลบาย เพื่อให้เข้าสู่สมาธิตั้งมั่น ซึ่งคงไม่ต่างจาก การท่องยุบหนอ-พองหนอ หรือ พุทธหายใจเข้า-โธหายใจออก แล้วแต่ว่า ศิษยานุศิษย์ จะถูกจริตกับแนวปฏิบัติของครูอาจารย์ท่านใดค่ะ
ตามประวัติพระศาสดา พระพุทธองค์ ก็ทรง "ค้นพบ" หนทางแห่งความดับทุกข์ ซึ่งเลยไปจากเรื่องราว 1,2 และ 3 ไม่สามารถนำมาเทียบกับมนุษย์ทั่วไปได้
นอกจากนี้ แม้เราเอง เราก็ได้สัมผัสประสบการณ์ครั้งแรก จากการทดลองปฏิบัติตามแนวทาง "ศูนย์กลางกายฐาน 7" เราสอบถามพระอาจารย์ว่า จำเป็นต้องบริกรรม "สัมมาอะระหัง" หรือไม่ ท่านตอบด้วยเมตตาว่า "จะบริกรรมว่าพ่อ-แม่ก็ยังได้เลย" ที่สุด เราใช้บริกรรม "พุทธโธ" นั่งจนปวดเมื่อย เริ่มจะเบื่อ
1
จนที่สุดก็ไปกราบภาพหลวงปู่ แล้วก็นึกในใจว่า "หนูจะเลิกนั่งแล้วนะคะหลวงปู่ มันปวดเมื่อย จิตใจก็ไม่สงบ" และคราวนี้เราก็ได้ประสบการณ์ตรงค่ะ ประสบการณ์ที่เราได้สัมผัส เกิดขึ้นชั่ว 10 นาที มันหายวับไป เพราะเราตกใจว่ามันคืออะไร มันเกิดขึ้น หลังจากที่เราผล็อยหลับ และคิดว่าตัวเองหลับทั้งที่ยังนั่งอยู่ (เรื่องรู้ได้เฉพาะตน ที่จริงไม่ควรนำมาเล่า แต่ก็เพื่อแถลงว่า เราถูกจริตกับแนวทางนี้ "สติ สบาย สม่ำเสมอ สังเกตุ" ค่ะ
2
ส่วนเรื่องราวอื่นๆคงแล้วแต่มุมมอง
และการศึกษาหาความรู้และข้อเท็จจริงนะคะ
คัดกรองเฉพาะที่มีประโยชน์กับเราก็แล้วกันค่ะ
โฆษณา