10 ส.ค. 2023 เวลา 10:51 • ธุรกิจ

เราคือ ผู้สนับสนุน (We are Supporter)

เราคือ ผู้สนับสนุน (We are supporter)
ธุรกิจจะแข็งแกร่งได้ ต้องมีระบบสนับสนุนที่ดี (Business Strong with Logistic)
ธุรกิจที่จะอยู่รอดได้ ต้องมีความสามารถในการแข่งขัน และความสามารถในการแข่งขันนั้น ย่อมมาจากการมีสินค้าและบริการที่ดี และการตลาดที่ยอดเยี่ยม แต่การที่ธุรกิจจะเป็นแบบนั้นได้ จะต้องมีองค์ประกอบทางธุรกิจที่ยอดเยี่ยมด้วย
และองค์ประกอบที่ว่านั้น เราเรียกว่า Logistic System (ระบบสนับสนุนแบบองค์รวม)
และหนึ่งในหน่วยงานสนับสนุนที่ทุกองค์กรต้องมี ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็ก หรือใหญ่ นั้นก็คือ หน่วยงานจัดซื้อ /จัดหา
ในยุคแรกๆของงานจัดซื้อ / จัดหา นั้นจะต้องดูแลคลอบคลุมทั้งหมด ในทุกๆกระบวนการ ที่จะต้องมีการจ่ายชำระเงิน เพื่อค่าสินค้า/บริการ และอาจรวมถึงการดูแลคลังสินค้าด้วย
(สำหรับคลังสินค้า ขึ้นอยู่กับนโยบาย ถ้าเป็นองค์กรขนาดเล็กส่วนใหญ่ก็จะให้แผนกบัญชี หรือไม่ก็แผนกจัดซื้อดูแล)
แต่มาถึงยุคนี้ที่ธุรกิจเปลี่ยนไปจากเดิมมาก ธุรกิจกิจมีขนานใหญ่โตมากขึ้น มีกิจกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้น มีปริมาณงานที่มากขึ้น จนต้องมีการแตกแยกย่อยงานออกไป จนมีการนำเอาคำว่าLogistic มาใช้
ให้นึกถึงร้าน 7-11 ถ้าเขาไม่มีระบบ Logistic ที่ดี เขาจะไม่สามารถที่จะจัดหา จัดส่ง สินค้าเข้าไปที่ร้าน ที่มีปริมาณร้านมากกว่า 9,000 สาขา ! ได้เลย
แต่ก็หลายท่านอาจคิดว่า ธุรกิจของเราคงไม่เกี่ยวข้องกับ Logistic มาก เพราะมีขนาดเล็ก หรือ คิดว่าเราไม่มีได้มี transection ที่มากมายแบบ Modern Trade !
แต่จากนิยามของ Logistic ที่มีการนิยามไว้ คือ
Logistic : “การดำเนินกิจกรรมต่างๆ นี้ มีเป้าหมายเพื่อ ตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม”
Ref : Fundamental of Logistics Management โดย Grant et. al., 2006
ได้สรุปเป็นกิจกรรมหลักด้านLogistic 9 กิจกรรม ดังนี้
 
1. การให้บริการแก่ลูกค้าและกิจกรรมสนับสนุน (Customer Service and Support)
2. การวางแผนหรือการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า (Demand Forecasting and Planning)
3. การจัดซื้อจัดหา (Purchasing and Procurement)
4. การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management)
5. การสื่อสารด้านโลจิสติกส์และกระบวนการสั่งซื้อ (Logistics Communication and Order Processing)
6. การจัดการวัสดุ และบรรจุภัณฑ์ (Materials Handling and Packaging)
7. การขนส่ง (Transportation)
8. การเลือกสถานที่ตั้งของโรงงานและการจัดการคลังสินค้า (Facilities Site Selection, Warehousing, and Storage)
9. โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics)
จากที่กล่าวมาทั้ง 9 หัวข้อนี้ จะเห็นว่างานของ Purchasing แถบจะเรื่องเดียวกับงาน Logistic เลย (ไม่ทางตรง ก็ทางอ้อม)
ขอยกตัวอย่าง จากข้อ 4.การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management)
ถ้าไม่ได้วิเคราะห์อย่างละเอียดแล้ว เราก็ต้องเข้าใจว่าเป็นงานของ แผนกคลังสินค้า (Store)
แต่จริงๆแล้วงานของ store นั้นเป็น การบริหารเชิงกายภาพ (Physical Management) นั้นก็คือ เบิก จ่าย จัดเก็บ ดูแล รักษา !
การบริหาร Inventory คือ การบริหารเชิงมูลค่า (Value) และใครจะบริหารเชิงมูลค่า ได้ดีที่สุดล่ะ
ผู้ที่จะบริหารได้ดีที่สุด จะต้องรู้ใน Stock Value / Material order lead time / Material Request date
และหน่วยงานจัดซื้อก็รู้ข้อมูลทั้งหมดนั้น !
ที่พูดมาทั้งหมดนี้ เพื่อจะบอกว่า หน่วยงานจัดซื้อ/จัดหา นั้นหน่วยงานพื้นฐาน ที่สามารถจะช่วยสนับสนุนธุรกิจ ให้มีความแข็งแกร่งได้ ครับ (เพราะมีขอบข่ายการปฏิบัติที่กว้างมาก)
ดังนั้นถ้าคุณต้องการให้ธุรกิจของคุณมีความแข็งแกร่งด้วยระบบสนับสนุนที่ดี คุณก็ต้องทำการพัฒนาหน่วยงาน จัดซื้อ/จัดหา ให้ที่ดีที่สุด เท่าที่คุณจะทำได้
และสิ่งที่ทำได้ คือ เรียนรู้ว่า งานจัดซื้อ จะสนับสนุนระบบ Logistic & Supply Chains ของบริษัทได้อย่างไร ?
Cr. Anant Vachiravuthichai
เคล็ดลับที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จในงานจัดซื้อ ..........มาเรียนรู้กับเราได้ที่นี้
หัวข้อใหม่ที่จะเริ่มอบรมในเดือน Aug-Dec 2023 นี้
งานจัดซื้อ เพื่อระบบโลจิสติก และห่วงโซ่อุปทาน (Purchasing for logistic & Supply Chains : LSC)
ดูรายละเอียด และแผนการอบรม ได้ที่ : https://seminardd.com/s/67228
หรือ สนใจหัวข้ออื่นๆ สามารถดูแผนการอบรมเพื่อ “งานจัดซื้อ” สำหรับปี 2566 / 2023
ในปีนี้ Tangram Strategic Consultant เราจะมี class แบบ Online / Onsite
>สำหรับ Online 12 Classrooms สามารถดูรายละเอียดได้ที่
>สำหรับ Public Class 6 classrooms สามารถดูรายละเอียดได้ที่
#จัดซื้อมืออาชีพ #อบรมจัดซื้อ #20วาทะแห่งปัญญา
โฆษณา