12 ส.ค. 2023 เวลา 15:11 • การศึกษา

เรียนปริญญาตรีสาขาปรัชญา จบไปทำอาชีพอะไร

นี่เป็นคำถามที่ผมมักเจอตั้งแต่สมัยอยู่มัธยม ตอนที่บอกเพื่อนว่า"จะเข้าคณะปรัชญา"บอกตามตรงว่าสมัยนั้นผมยังตอบไม่ได้เลยว่าถ้าเลือกเรียนสาขานี้จบไปจะไปทำงานอะไรนอกจากอาจารย์ มันจึงทำให้ผมหลงทางในการศึกษาในระดับอุดมศึกษาอยู่หลายปีเลยทีเดียว
แล้วสรุปคำตอบของคำถามนี้คืออะไรกันแน่ บอกตามตรงว่าผมก็ยังไม่แน่ใจเหมือนกัน เพราะ ณ ปัจจุบันที่กำลังเขียนบทความนี้อยู่ผมก็ยังเรียนไม่จบ จึงยังไม่สามารถการันตีได้ว่าตัวเองจบไปจะมีงานทำรึเปล่า แต่จากประสบการณ์ที่สะสมมาตลอดการเรียนหนังสือ ผมก็ค่อนข้างมั้นใจว่าตัวเองพอจะมีแนวทางที่จะหางานทำอยู่บ้างหลังเรียนจบ(ถ้าไม่ได้สืบกิจการต่อจากครอบครัว)
ระดับแรกเราต้องรู้ก่อนว่า "เรียนปรัชญาแล้วได้อะไร" อย่างที่ผมบอกในบทความก่อนหน้านี้ว่า ปรัชญานั้นไม่ใช่การเรียนเพื่อที่จะเชื่อในทฤษฎีหรือคำตอบของนักปรัชญาคนใดคนหนึ่งแล้วนำไปใช่ แต่เป็นการศึกษาและฝึกฝนวิธีวิพากษ์ทางปรัชญาของนักปรัชญาเหล่านั้นต่างหาก แล้วจึงนำวิธีวิพากษ์นั้นมาวิพากษ์สิ่งต่าง ๆ ในชีวิต ทำให้อย่างน้อย ๆที่สุดการเรียนปรัชญาในระดับอุดมศึกษา สิ่งที่เราจะได้ก็คือ critical thinking หรือ การคิดเชิงวิพากษ์
แล้วมันมีความสำคัญอย่างไร critical thinking หลายคนคงได้ยินคำ ๆนี้มาบ้างแล้วถามว่ามันคืออะไรล่ะ มันคือการคิดอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ แยกแยะ ของข้อมูลโดยใช่ตรรกะอย่างรัดกุมโดยไม่ใช่อคติ ซึ่งสภาเศรษฐกิจโลกนั้นประเมินไว้ว่ามันจะกลายเป็นทักษะของวิชาชีพที่สำศัญที่สุดใช่ทศวรรษนี้เลยทีเดียว เช่น มันเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ และรับมือกับข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก การแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ดังนั้น ถ้าจะยกตัวอย่างการคิดเชิงวิพากษ์
"การโกหกนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรม"
"แล้วถ้าโกหกศัตรูเพื่อปกป้องสิ่งที่เรารักละ เช่น เพื่อน ประเทศ ศาสนาล่ะ"
"นั้นเป็นสิ่งที่ยุติธรรม เพราะ ทำเราทำไปเพื่อปกป้องประเทศของเรา"
"งั้นถ้าเราพูดความจริงที่ทำให้เพื่อนพ้องของเราเสียกำลังใจหรือเศร้าจนไม่สามารถปกป้องประเทศของเราได้ละ"
"นั้นไม่ยุติธรรมเพราะการพูดสิ่งนั้นทำให้เกิดผมเสียกับประเทศ".
"แล้วสรุปความยุติธรรม คือการไม่โกหก หรือการปกป้องประเทศกันแน่!
สุดท้ายคำตอบของปัญหาที่ว่าจบปรัชญาไปทำอาชีพอะไร ถึงแม้ว่าเรานั้นจะทักษะของcritical thinkingจาการเรียนปรัชญาแล้วแต่ผมว่ามันก็ยังน้อยไปสำหรับ เอออ "ประเทศกำลังพัฒนา 555" ที่อาจถูกนอกว่ายังไม่จำเป็นมากนัก แต่อย่างไรก็ตามจากที่ผมไปสำรวจมา มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้นจะเปิดให้นักศึกษาสาขาปรัชญาหรือในกลุ่ม อักษร ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ลงวิชาโทกับวิชาเลือกได้ ผมมองว่านี้แหละคือโอกาศที่เราจะสามารถกลบจุดบอดของเราได้
ยกตัวอย่างเช่น ผมนั้นสามรถลงเรียนเอกปรัชญาและลงวิชาโทและเลือกของการตลาดได้ หลังจากนั้นเราอาจจะไปลงคอร์สออนไลน์ต่างๆ เช่น coursera ฯ เพื่อสะสมทักษะใหม่ ๆแต่อย่างไรก็ตามมันก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของเราด้วย ถึงแม้ว่าเราจะไม่ไปลงคอร์สออนไลย์ให้เสียเงินเพิ่ม แต่ถ้าเราสามารถนำทักษะในการคิดวิพากษ์มาประยุกต์ใช่กับความรู้ที่เราเรียนในวิชาโทได้ ผมว่าเราก็ไม่น่าจะแพ้ใครนะครับ ปล.ในส่วนนี้ยังไม่รวมถึงConnectionหรือชื่อเสียงของมหาลัยนะครับ
ผมหวังว่าบทความนี้จะสามารถเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่คิดจะศึกษาวิชาปรัชญาในระดับปริญญาตรีนะครับ
โฆษณา