📍เทคนิคดูแลปัญหาขนคุด KP Keratosis Pilaris Treatment

📍เทคนิคดูแลปัญหาขนคุด KP Keratosis Pilaris Treatment https://bit.ly/3A4xCCK
🔬ขนคุด (Keratosis Pilaris) หรือเรียนอีกชื่อว่า “ผิวหนังไก่”
•เกิดจากพันธุกรรมที่มีความผิดปกติของการสร้างเซลล์ผิวหนัง (Keratiniza tion)
•ที่ส่งผลให้บริเวณรูขุมขน มีการอุดตันของรูขุมขนด้วยสารเคอราติน ที่เป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง เรียกว่า Keratin plug ส่งผลให้ขนไม่สามารถงอกทะลุรูขุมขนออกมาได้ เกิดเป็นขนคุดอยู่ใต้ผิวหนัง
🧬ปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดขนคุด?
โรคขนคุด เกิดในคนทุกอายุทุกเชื้อชาติ ทั้งเพศชายและเพศหญิง อาจเป็นโรคเดี่ยวๆ
•หรือพบร่วมกับโรคอื่น เช่น Atopic dermatitis (โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง), Ichthyosis (โรคผิว หนังเกล็ดปลา/ผิวหนังแห้งมากจนตกสะเก็ด)
•โดยมักพบในผู้ที่มีผิวแห้งมากกว่าผิวมัน และอาการจะเป็นมากขึ้นในฤดูหนาวที่มีอาการเย็นและแห้ง*
อาการของขนคุดเป็นอย่างไร?
จากการสะสมของโปรตีนเคอราติน อุดตันรูขุมขน ทำให้ขนไม่สามารถงอกพ้นผิวหนังออกมาได้ตามปกติ •จึงเกิดเป็นตุ่มตามรูขุมขนมากมาย ทำให้ผิวหนังดูสากคล้ายกระดาษทราย หรือหนังไก่
•บริเวณที่พบได้ คือ ต้นแขนด้านนอก* ต้นขาด้านนอก* บริเวณใบหน้า* ก็สามารถเกิดได้เช่นกันซึ่งมักพบในเด็ก และอาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นสิว ตุ่มจากโรคขนคุดเหล่านี้ มักไม่มีอาการอื่น (เช่น คัน เจ็บ) และมีสีออกสีเนื้อ
•พบได้บ้างที่มีการอักเสบ ซึ่งจะทำให้มีรอยแดงรอบรูขุมขน และมีอาการคันร่วมด้วย
•อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของอาการ/ลักษณะตุ่มในแต่ละคนค่อนข้างมาก ตั้งแต่ตุ่มแดงอักเสบชัดเจน จนถึงมีอาการเล็กน้อย มีตุ่มไม่มาก และในเรื่องความสากของผิวหนัง
•ลักษณะโรคขนคุดเมื่อดูด้วยกล้องพิเศษ dermoscopy จะพบมีการอุดตันรูขุมขนด้วยkeratin และมีการอักเสบรอบๆรูขุมขน
บริเวณที่มาสามารถเกิดขนคุดขึ้นได้
* แขนหรือใต้วงแขน
* น่องขา ต้นขาและหัวเข่า
* รักแร้
* ผิวหน้า
💊เทคนิคการดูแลปัญหาขนคุด
•หลีกเลี่ยงการขัดถูอย่างรุนแรง scrubbing ซึ่งจะทำให้เกิด เห่อการอักเสบแดงคันของขนขุดได้
•ดูแลผลัดเซลล์ผิวอย่างอ่อนโยน exfoliating โดยขจัดเซลล์ผิวหนังชั้นนอกที่นูนเป็นตุ่มออกอย่างเบาๆด้วยผ้าเช็ดตัว ใยบวบ ฟองน้ำนิ่มๆ ***ต้องขอเน้นว่าเช็ดอย่างเบาเบานะครับ ห้ามขัดถูรุนแรงเด็ดขาด ไม่อย่างนั้นจะยิ่งทำให้เห่อเป็นมากขึ้น
•ทาผลิตภัณฑ์ที่มีสารที่ช่วยในการผลัดเซลล์ผิว Keratolytic agents ซึ่งช่วยให้เซลล์ผิวชั้นนอกที่หนาหลุดลอกออก ***โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสารเช่น
Alpha hydroxyl acid AHA มีการศึกษาการใช้70% glycolic acid ทาไว้ 5-7 นาที
Glycolic acid
Lactic acid
Retinoid (retinol, tretinoin, adapalene, tazarotene)
Salicylic acid 6%
Urea 20%
•โดยต้องใช้ตามที่ผลิตภัณฑ์แนะนำนะครับเพราะถ้าใช้มากเกินไปอาจจะเกิดอาการระคายเคืองผิวหนังอักเสบแดงคันตามมาได้
•หรือถ้าใช้แล้วมีอาการแห้งแดงคันอักเสบ แนะนำให้เว้นการใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวดังกล่าวสองถึงสามวันจนอาการหายดีแล้วค่อยกลับมาใช้ใหม่ครับ
-ทามอยเจอไรเซอร์บำรุงผิวปริมาณมากโดยเฉพาะ Moisturizer ที่ประกอบด้วย ยูเรีย Urea และแลคติคแอซิด Lactic acid*
-เนื่องจากการทาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการผลัดเซลล์ผิวจะทำให้ผิวแห้งมีอาการระคายเคืองได้ การทามอยเจอไรเซอร์ให้ผิวชุมชื่นจึงมีความสำคัญมาก
•โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากน้ำมัน thick oil-free cream เพื่อลดการอุดตันของรูขุมขน
•แนะนำให้ทาหลังอาบน้ำเสร็จภายใน3- 5 นาที บนผิวเปียกหมาดหมาด
•ทาเมื่อรู้สึกผิวแห้ง และให้ทาอย่างน้อยสองถึงสามครั้งต่อวัน
•เมื่ออาการตุ่มขนคุดดีดีขึ้นแล้วแนะนำให้ดูแลอย่างต่อเนื่อง Maintainance โดยอาจใช้วิธีข้างต้นสองถึงสามครั้งต่อสัปดาห์
•ดูแลได้ครับ แต่ใช้เวลาและมีโอกาสเป็นซ้ำได้
💊การป้องกันการกำเริบของขนคุด Prevent Flare Up
-ทาครีมบำรุงผิวเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวแห้งอย่างสม่ำเสมอ ***เนื่องจากขนคุดมักจะเห่อเป็นมากเมื่อผิวแห้ง***
❌หลีกเลี่ยงการกำจัดขนบริเวณที่เป็นขนคุดด้วยการแว็กซ์หรือการโกนซึ่งจะทำให้ขนคุดเห่อเป็นมากขึ้น
•ถ้าต้องการกำจัดขนแนะนำเป็นการใช้เลเซอร์กำจัดขนซึ่งจะไม่ทำให้เกิดการเห่อของขนคุดครับ
-อย่าอาบน้ำนานเกินไป แนะนำไม่เกิน 20 นาที (ดีที่สุดไม่เกิน 5 นาทีครับ) และอาบน้ำอุณหภูมิอุ่นเล็กน้อย *หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อนครับ
-ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่อ่อนโยน การใช้การใช้สบู่ก้อนอาจจะทำให้ผิวแห้งมากขึ้นได้ครับ
-หลีกเลี่ยงการโดนแดดจัด การทำผิวสีแทนหรือการอาบแดดซึ่งจะทำให้ตุ่มขนคุดชัดขึ้นได้ครับ
-ใช้เครื่องเพิ่มความชุ่มชื้นในอากาศ Humidifier เมื่ออากาศเย็นและแห้งมากครับ
💊การรักษาอื่นๆแนะนำปรึกษาแพทย์ก่อนนะครับ
-การผลัดเซลล์ผิวอุดตัน (Keratolytic) เช่นการใช้ Urea, Lactic acid ,Alpha hydroxyl acid (AHA), Salicylic acid, Glycolic acid
-การทาอนุพันธุ์ของวิตามิน-เอ Topical Isotretinoin
-การทายาทาสเตียรอยด์ ใช้ในช่วงที่ตุ่มของโรคขนคุดมีอาการ แดง คันอักเสบโดยให้ยาเพียงช่วงเวลาสั้นๆประมาณ 2 สัปดาห์ (ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนนะครับ)
💊การใช้เลเซอร์
•การใช้เลเซอร์กำจัดขน เช่น IPL Long pulse Nd Yag diode laser
•การใช้เลเซอร์กลุ่มอื่นๆเช่น
•Pulsed dye laser PDL (Vbeam ) โดยเฉพาะขนคุดที่มีอาการแดงอักเสบร่วมด้วย
•Alexandrite laser
•Nd:YAG laser
•Fractional CO2 laser
#รักษาขนคุด #เลเซอร์ขนคุด
#รักษาขนคุดที่ขา #รักษาขนคุดที่แขน #รักษาขนคุดรักแร้ #ขนคุด #ขนคุดที่ขา #ขนคุดอักเสบ #ขนคุดรักษา #ขนคุดที่หลัง #รีวิวรักษาขนคุด #แก้ขนคุด #keratosispilaris
#หมอรุจชวนคุย 👨‍⚕️😉🔬
โฆษณา