20 ส.ค. 2023 เวลา 03:10 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

หลักการและประเภทการซ่อมบำรุง (Maintenance System)

ทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นส่วนของปรับอากาศ ทำความเย็น ไปจนถึงส่วนผลิต นอกจากการติดตั้ง ออกแบบ ที่ได้มาตรฐาน จำเป็นต้องมีหลักการและมาตรฐานให้กับการซ่อม บำรุงรักษา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง
งานซ่อมแซม หรืองานบำรุงรักษา คือ "การรักษาสภาพของเครื่องมือ หรือ เครื่องจักรต่างๆ ให้มีสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา" เพราะหากมีส่วนใด ส่วนหนึ่งของระบบขัดข้อง หรือเสียหายจะทำให้ธุรกิจสูญเสียผลประโยชน์อย่างมหาศาล เช่นด้านของต้นทุน โอกาสในการผลิต โดยทำให้เกิดค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด และเกิดความปลอดภัยในการทำงานมากที่สุด
ประเภทต่างๆของงานบำรุงรักษา 3 ประเภทหลัก
• การซ่อมบำรุงเชิงรับ (𝗥𝗲𝗮𝗰𝘁𝗶𝘃𝗲 𝗠𝗮𝗶𝗻𝘁𝗲𝗻𝗮𝗻𝗰𝗲) :
คือการซ่อมแซมเครื่องจักร หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่เสียหายแบบวันต่อวัน แล้วทำการซ่อมแซมให้กลับมาใช้งานใหม่อีกครั้ง หรือ 𝗖𝗼𝗿𝗿𝗲𝗰𝘁𝗶𝘃𝗲 𝗠𝗮𝗶𝗻𝘁𝗲𝗻𝗮𝗻𝗰𝗲 เพื่อให้การผลิต หรือระบบต่างๆ สามารถดำเนินงานต่อได้ โดยไม่มีการบำรุงรักษาใดๆ
แม้จะไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับการบำรุงรักษา และไม่ต้องเสียเวลาตรวจเช็ค แต่อาจจะต้องทำใจกับค่าซ่อมที่แพงกว่า ด้วยการที่ไม่มีการควบคุม หรือวางแผนการซ่อมได้ และอาจเกิดความเสียหายในระดับรุนแรงที่อาจมีผลกระทบต่อเนื่องไปยังระบบอื่นๆ ได้ จนทำให้เสียโอกาสในการผลิต
• การบำรุงรักษาเชิงป้อง (𝗣𝗿𝗲𝘃𝗲𝗻𝘁𝗶𝘃𝗲 𝗠𝗮𝗶𝗻𝘁𝗲𝗻𝗮𝗻𝗰𝗲) :
หรือการซ่อมแซมเครื่องจักรก่อนจะเกิดอาการผิดปกติ หรือเสียหาย โดยมีการวางแผนการซ่อมบำรุง ตามรอบเวลาที่เหมาะสม ที่ได้จากการบันทึก คู่มือ หรือคำแนะนำจากประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ เช่น การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันตามรอบชั่วโมงการใช้งานที่กำหนดไว้ หรือ ทุกๆ 𝟲 เดือน หรือถอดอะไหล่ซ่อม ฯลฯ
ซึ่งมีข้อดีในการวางแผนซ่อมบำรุงได้ง่าย รักษาประสิทธิภาพของเครื่องจักรได้ดีกว่าวิธีแรก เพราะไม่เกิดความเสียหายมากนัก และยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมมากกว่าวิธีแรก
ดังนั้นโรงงานจึงวางแผนซ่อม และบำรุง ก่อนที่เครื่องจักรตัวนั้นจะพัง เพราะต้นทุนงานบำรุงรักษา ความน่าเชื่อถือ และประสิทธิภาพของตัวเครื่องจักรในโรงงานจะดีกว่า โดยจะกำหนดเวลาที่เหมาะสมเข้าไป บำรุงรักษา และซ่อม
• การบำรุงเชิงรุก (𝗣𝗿𝗼𝗮𝗰𝘁𝗶𝘃𝗲 𝗠𝗮𝗶𝗻𝘁𝗲𝗻𝗮𝗻𝗰𝗲) :
คือการกำหนดกลยุทธ์ในการซ่อมและบำรุงรักษา แก้ปัญหาจากสาเหตุต้นตอโดยตรง เช่น การตรวจสอบการออกแบบตั้งต้น หรือ วัดคุณภาพของเครื่องจักร (𝗖𝗕𝗠 : 𝗖𝗼𝗻𝗱𝗶𝘁𝗶𝗼𝗻 𝗕𝗮𝘀𝗲 𝗠𝗼𝗻𝗶𝘁𝗼𝗿𝗶𝗻𝗴) และมีการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ โดยใช้การคาดการณ์จากการเก็บข้อมูลต่างๆ ในงานซ่อมที่ผ่านมา
เช่น อายุการใช้งานของเครื่องจักร ความถี่ ระยะเวลา มาวิเคราะห์เชิงสถิติด้วยเทคโนโลยีในระบบคอมพิวเตอร์ กำหนดกลยุทธ์ และวิเคราะห์ระยะเวลาซ่อมบำรุงที่เหมาะสมที่สุดในอนาคต เพื่อลดต้นทุนของงานซ่อมบำรุง ไม่ว่าจะเป็นทั้งเม็ดเงิน และเวลาให้มากที่สุด
วิธีนี้มีความแม่นยำ และมีข้อดีมากมายในเรื่องของประสิทธิภาพ การยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร ระบบต่างๆ แต่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มีประสบการณ์มาร่วมในการวิเคราะห์ ตรวจสอบ
#สรุป
การจัดการการซ่อมบำรุงส่งผลต่อธุรกิจ ทางด้านของการผลิต ไปจนถึงห่วงโซ่ต่างๆ ที่เกี่ยวพันกับต้นทุนของอุตสาหกรรม ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในเรื่องของอายุการใช้งาน ประสิทธิภาพ และความมั่นใจในระบบการใช้งาน รวมถึงแง่ของความปลอดภัยของบุคลากรทุกคน
แม้หลากหลายอุตสาหกรรมจะมีขนาด ความต้องการ วัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป แต่ควรให้ความสำคัญกับการซ่อมบำรุงเป็นอย่างมาก ความเหมาะสมของประเภทการซ่อมบำรุงแต่ละประเภท ก็ย่อมแตกต่างกันไปด้วย ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ จัดการงานซ่อมบำรุง กับอุตสาหกรรมให้เหมาะสม
หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้ที่ :
𝗔𝗖𝗧 : 𝗔𝗱𝘃𝗮𝗻𝗰𝗲 𝗖𝗼𝗼𝗹 𝗧𝗲𝗰𝗵𝗻𝗼𝗹𝗼𝗴𝘆 พร้อมให้บริการตั้งแต่ การออกแบบ ติดตั้งระบบปรับอากาศ ระบบคูลลิ่งทาวเวอร์ ระบบชิลเลอร์ ในอาคาร สำนักงาน และโรงงานอุสาหกรรม ด้วยทีมงานวิศวกรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และฝ่ายบริการ ด้วยประสบการณ์มากกว่า 30 ปีในการออกแบบระบบปรับอากาศทุกประเภทธุรกิจ ทั้งในและต่างประเทศ
Line id : @advancecool หรือคลิก https://lin.ee/Uv6td2a
#ชิลเลอร์ #Chiller #ซ่อมชิลเลอร์ #ซ่อมบำรุงระบบปรับอากาศ #ChillerMaintenanceSystem
โฆษณา