20 ส.ค. 2023 เวลา 07:08 • การศึกษา

การดำเนินคดีอาญาน่ารู้ : "ผู้เยาว์" เป็นผู้เสียหาย

ผู้เยาว์คือใครนั้น เชื่อว่าโดยส่วนใหญ่มักจะตอบกันว่า ผู้เยาว์ คือ เด็ก
ประเด็นต่อมาคือ แล้วที่เรียกว่า ผู้เยาว์ คือ เด็ก นั้น ในทางกฎหมายจะต้องมีอายุเท่าไรกันแน่ ซึ่งกฎหมายได้ให้คำตอบไว้ว่า
ผู้เยาว์คือ บุคคลที่อายุไม่เกิน 20 ปี
ดังนั้น หากบุคคลใดก็ตาม อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป บุคคลนั้นไม่ใช่ผู้เยาว์เสียแล้ว หากแต่เรียกบุคคลนั้นว่าเป็น ผู้บรรลุนิติภาวะ หรืออาจเรียกเป็นภาษาไม่ทางการว่า เป็นผู้ใหญ่แล้วนั่นเอง
หากยังเป็นผู้เยาว์อยู่ แน่นอนว่า สิทธิหน้าที่บางอยา่ง ผู้เยาว์ไม่อาจจะทำได้ด้วยตนเอง อาจเพราะด้วยเหตุในด้านความปลอดภัย ความยังไม่รู้ผิดชอบชั่วดี ซึ่งล้วนแต่เป็นมาตรการทางกฎหมายที่หวังจะคุ้มครองผู้เยาว์เป็นสำคัญ ไม่ให้ผู้เยาว์ตกถูกหลอก
เว้นเสียแต่ว่า เรื่องนั้นๆเป็นเรื่องที่ผู้เยาว์ทำแล้วได้ประโยชน์ หรือเป็นเรื่องที่ผู้เยาว์สามารถทำได้เอง เช่น ผู้เยาว์ไปซื้อขนมกินที่ร้านสะดวกซื้อ ผู้เยาว์ไปซื้อหนังสือเรียน คุณปู่ให้เงินสำหรับเป็นทุนการศึกษาแก่หลานซึ่งยังเป็นผู้เยาว์อยู่ เป็นต้น
ปัญหาคือ ในกรณีที่ผู้เยาว์ตกเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา ผู้เยาว์จะดำเนินคดีอาญาได้ด้วยตนเองหรือไม่ ?
เบื้องต้นให้เข้าใจหลักการว่า เมื่อผู้เยาว์ยังเป็นเด็ก กฎหมายไม่ประสงค์ให้ผู้เยาว์ดำเนินคดีอาญาได้เอง ควรจะต้องอยู่ในความรู้เห็นของผู้ที่มีหน้าที่ดูแลผู้เยาว์ด้วย ผู้นั้นคือ ผู้แทนโดยชอบธรรม
ดังที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังนี้
บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้
(1) ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่งได้กระทำต่อผู้เยาว์หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(1)
สรุปในเบื้องต้น คือ ผู้เยาว์ที่ตกเป็นผู้เสียหาย ตกให้ผู้แทนโดยชอบธรรมดำเนินคดีอาญาให้แทน
ผู้เยาว์ คือ ผู้เสียหายโดยตรง
ผู้แทนโดยชอบธรรม คือ ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย
แล้วผู้แทนโดยชอบธรรมคือใคร
ให้เข้าใจว่า ผู้แทนโดยชอบธรรม ก็คือ บุคคลที่มีหน้าที่ดำเนินการต่างๆแทนผู้เยาว์ ได้แก่ บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ลุงป้าน้าอา ของผู้เยาว์
เราสามารถแบ่งลักษณะของผู้แทนโดยธรรมออกเป็น 2 กลุ่มคือ
  • 1.
    ผู้ใช้อำนาจปกครอง คือ บิดามารดาของผู้เยาว์นั่นเอง โดยบิดามารดานั้นจะต้องเป็นบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ด้วย
  • 2.
    ผู้ปกครอง คือ กรณีที่ผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดา เช่น บิดามรดาถึงแก่ความตายไปแล้ว หรือบิดามารดาที่แยกกันอยู่กับผู้เยาว์ บุคคลที่ดูแลผู้เยาว์เช่น กรณีอยู่กับคุณปู่ หรือคุณน้า คุณปู่หรือคุณน้าแล้วแต่กรณี สามารถยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลแต่งตั้งตนเองเป็นผู้ปกครองได้
มีประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตรผู้เยาว์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้สิทธิดำเนินคดีอาญาแทนผู้เยาว์ด้วย ไว้ติดตามกันต่อในบทความหน้า
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา : www.bsru.ac.th
เฟสบุ๊คสาขาวิชานิติศาสตร์ มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา : LAWBSRU
เว็บไซต์สาขาวิชานิติศาสตร์ มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา : LAWBSRU
โฆษณา