21 ส.ค. 2023 เวลา 09:25 • ข่าวรอบโลก

สถานการณ์ที่อ่อนไหวภายในก่อนประธานSAC เยือนจีนในห้วง กันยายน 2566

ปัญหาภายใน มม.มีทิศทางที่เป็นลบ(ความขัดแย้งจะต่อเนื่อง มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงและไม่มีการประนีประนอม ) และสร้างความอ่อนแอให้SAC เพิ่มขึ้นตามลำดับ ดังจะเห็นจากการต่อการใช้กม. พิเศษออกไปอีก ๖ เดือน เพื่อมอบอำนาจให้กับ ประธานSAC ในการดูแลความมั่นคงของชาติ โดยอ้างว่าเพื่อเตรียมการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม ภายในมีพัฒนาการที่ชัดเจนมากขึ้น และเป็นตัวแปรคือ การเคลื่อนไหวของกกล.ชนกลุ่มน้อยมีทิศทางที่จะยอมรับและให้ความร่วมมือกับ กลุ่มต่อต้านSAC โดยแบ่งเป็น ๔ กลุ่มดังนี้
​​กลุ่มที่หนึ่ง กลุ่มที่ให้การสนับสนุน NUG และ PDF อย่างเปิดเผย ประกอบด้วย KIAหรือ องค์กรอิสระคะฉิ่น KNU หรือสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNPPหรือ พรรคก้าวหน้าแห่งชาติคะเรนนี และ CNF หรือ แนวร่วมแห่งชาติชิน ส่งผลให้พื้นที่ยึดครองเต็มไปด้วยการสู้รบและSACได้ทุ่มกำลังเข้าไปปราบปรามแต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ
​​กลุ่มที่สอง รู้จักกันในชื่อ Three Brotherhoodประกอบด้วย AAหรือ กองทัพอาระกัน TNLAหรือ กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง และMNDA หรือ กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา สนับสนุนขบวนการต่อต้านมากขึ้นตามลำดับ และเริ่มมีข่าวสารให้เห็นมากขึ้น ขณะเดียวกันก็รวบรวมอำนาจและดินแดนมาเป็นของตนเอง
​​
กลุ่มที่สาม เป็นชนกลุ่มน้อยส่วนที่เหลือของข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศในปี 2558 ซึ่งมีการหารือกับรัฐบาลทหารอย่างต่อเนื่อง อาทิ RCSS KNU โดยมีบางกลุ่มรอดูท่าทีจากคู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตามในกลุ่มนี้ คือ RCSSจะเป็นเป้าหมายของการปิดล้อมจากSACกับกลุ่มว้า เพราะมีศักยภาพทั้งในด้านกำลังพลและพื้นที่ยึดครอง จึงเป็นเป้าหมายอันดับต้นๆในการปราบปราม
​​กลุ่มที่สี่ มีท่าทีสนับสนุนSAC เพราะอิทธิพลจากจีน ประกอบด้วย UWSAหรือ กองทัพสหรัฐว้า ที่ทรงพลังและเป็นอิสระ SSPPหรือ พรรคก้าวหน้ารัฐฉาน และMNDAA หรือ กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติ
​​
จากการประเมินขนกลุ่มน้อย มีกำลังพลประมาณ 130,000 นาย (ขณะที่กองทัพเมียนมา เคยมีกำลัง 300,000 นาย ปัจจุบันลดลงประมาณ 150,000 นาย ) แสดงถึงกำลังพลที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และ หลายกลุ่มสามารถเข้าถึงอาวุธขั้นสูงได้ และแม้ว่าจะมีความแตกต่างทางยุทธศาสตร์ แต่ชนกลุ่มน้อย ที่มีฐานมั่นทั้งหมด มีแรงจูงใจที่จะสนับสนุนการต่อต้านขณะบางกลุ่มพยายามทำให้กองทัพอ่อนแอลง และขยายการควบคุมดินแดนของตนเอง
​​เป็นที่น่าสังเกตอย่างยิ่งว่า การที่ชนกลุ่มน้อยมีขีดความสามารถมากขึ้น และการรวมมือกันกับNUG เช่น KIA และKNU ร่วมมือกับ NUG และกลุ่ม Three Brotherhood ซึ่งสนับสนุนขบวนการต่อต้านในรูปแบบที่เป็นทางการ ผลลัพธ์คือการโจมตีของชนกลุ่มน้อยต่อทหารกองทัพเมียนมา หลายครั้งทำให้ดินแดนและทหารสูญเสียไปเรื่อยๆ
​​ขณะที่กลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ต่างๆ มีความเข้มแข็งมากเพิ่มขึ้น หลังรัฐประหารของเมียนมา ภูมิทัศน์ด้านความมั่นคงในเมียนมา ได้เปลี่ยนจากการแย่งชิงอำนาจระหว่างพรรค NLD กับกองทัพเมียนมา มาต่อสู้ระหว่างSAC กับNUG และPDF ก่อนที่ไปสู่การต่อสู้แบบหลายฝ่ายกับชนกลุ่มน้อย ที่กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญเพิ่มเติม โดยส่งผลต่อชัยชนะของฝ่ายต่อต้านSAC
​​ในมิติทางการทหารจะเห็นได้ชัดว่าชนกลุ่มน้อยจะเป็นตัวแปรสำคัญ และโชคดีว่าไม่มีเอกภาพมากนักในปัจจุบัน หากเอกภาพทั้งระหว่างชนกลุ่มน้อยและระหว่างชนกลุ่มน้อยกับNUG PDF มีมากขึ้นจะทำให้มิติการควบคุมพื้นที่ฝ่ายSACจะสูญเสียมากยิ่งขึ้นตามลำดับ และมีโอกาสที่จะเกิดอีกในระยะต่อไป จากการที่ต่างประเทศได้สนับสนุน NUG ให้ได้รับชัยชนะ อันเป้าหมายระยะยาว ซึ่งจะมีผลต่อการลดพื้นที่ยึดครองของSAC
ในขณะที่สถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศ ยิ่งตกต่ำลง และไม่มีเสถียรภาพของค่าเงินดังจะเห็นทางการเมียนมาคุมเข้มไม่ให้ชาวเมียนมาเก็บเงินตราต่างประเทศ จำนวน 10,000 ดอลลาร์ สรอ.เกิน 6 เดือน โดยต้องนำมาแลกที่ธนาคาร
ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอ จึงเปิดโอกาสให้ทุนจีนไหล่เข้ามาภายในมากขึ้นตามลำดับดังจะเห็นจากการลงทุนของจีนในเมียนมามีถึง590โครงการ มูลค่า 21.68 พันล้านเหรียญดอลลาร์ สรอ. (หรือประมาณ 764,108,920,000บาท )นับตั้งแต่หลังการควบคุมอำนาจในปี 2564 นั้นหมายความว่าเมียนมาตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของจีนด้านเศรษฐกิจแล้ว
​​ด้วยภาพที่เกิดขึ้นข้างต้น การเยือนจีนของประธานSACในครั้งนี้(ตามมาด้วยการประชุมBRIที่จีนเป็นเจ้าภาพในห้วงตุลาคม 2566) อาจมีการขอความช่วยเหลือจีนให้ช่วยสนับสนุนSACเพื่อไม่ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสมดุลทางอำนาจที่ฝ่ายSACจะเสียเปรียบในอนาคตจากการรวมมือของชนกลุ่มน้อยกับNUG
.....................................................
โฆษณา