23 ส.ค. 2023 เวลา 22:55 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

จิตสำนึกควอนตัม

จิตสำนึกควอนตัมเป็นหัวข้อที่น่าสนใจ (intriguing) และเป็นที่ถกเถียง (controversial) กันมาก ซึ่งเจาะลึกถึงความเชื่อมโยง ที่อาจเกิดขึ้นระหว่าง โลกลึกลับ ของกลศาสตร์ควอนตัม (mysterious world of quantum mechanics) กับ ธรรมชาติอันลึกลับของจิตสำนึกมนุษย์ (enigmatic nature of human consciousness) ถือเป็นหัวข้อระดับแนวหน้าของการอภิปรายทางวิทยาศาสตร์และปรัชญา (forefront of scientific and philosophical discussions)
เป็นสาขาที่พยายามจะคลี่คลายความสัมพันธ์ ระหว่างหลักการพื้นฐานของฟิสิกส์ควอนตัม และกลไกพื้นฐานของประสบการณ์จิตสำนึก ในบทความนี้ เราจะสำรวจแนวคิดหลักและการถกเถียง เกี่ยวกับจิตสำนึกควอนตัม โดยให้ความกระจ่าง (shedding light) ต่อความเข้าใจถึงความหมาย (implications) ของจิตใจและความเป็นจริง
บทนำ
(Introduction)
แนวคิดเรื่องจิตสำนึกควอนตัมทำหน้าที่เป็นจุดตัดที่น่าหลงใหล (captivating intersection) ระหว่างธรรมชาติอันลึกลับของจิตสำนึกของมนุษย์ และ ความลึกลับอันลึกซึ้งของกลศาสตร์ควอนตัม เป็นสาขาของสหวิทยาการ (interdisciplinary) ที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อสำรวจความเชื่อมโยง และการมีปฏิสัมพันธ์ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างแง่มุมพื้นฐานทั้งสองของความเป็นจริง
Quantum consciousness
กล่าวโดยสรุป การแสวงหาจิตสำนึกควอนตัม ได้แสดงให้เห็นถึง การเดินทางอันน่าทึ่ง ที่เชื่อมโยงความล้ำลึกของจิตสำนึกมนุษย์ เข้ากับ ความลึกลับของกลศาสตร์ควอนตัม แม้ว่าจะยังเป็นเพียงพื้นที่ศึกษา (area of study) ที่เต็มไปด้วยการคาดเดา (speculative) และยังเป็นที่ถกเถียง (controversial) แต่ก็เป็นเหมือนคำมั่นสัญญา (promise) ที่จะปฏิวัติ (revolutionizing) ความเข้าใจของเราเกี่ยวกับจิตใจ ความเป็นจริง และตำแหน่งของเราในจักรวาล
ในขณะที่นักวิจัยยังคงสำรวจสาขาที่น่าหลงใหลนี้ต่อไป ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องเปิดกว้างต่อมุมมองใหม่ (open to new perspectives) โดยตระหนักว่าการแสวงหาความเข้าใจจิตสำนึก ในแง่ของกลศาสตร์ควอนตัมนั้น เป็นการสำรวจความต่อเนื่อง (ongoing) และ การแปรเปลี่ยน (transformative) เกี่ยวกับการดำรงอยู่ของเรา (our existence)
ธรรมชาติของจิตสำนึก
(The Nature of Consciousness)
ในบริบทของจิตสำนึกควอนตัม ธรรมชาติของจิตสำนึกถือเป็นศูนย์กลางในการวิจัย เพื่อทำความเข้าใจว่าการรับรู้เชิงอัตวิสัย (subjective awareness) เกิดขึ้นได้อย่างไร และอาจเชื่อมโยงกับหลักการของกลศาสตร์ควอนตัมอย่างไรบ้าง แง่มุมของจิตสำนึกควอนตัมนี้ ได้เจาะลึกคำถามเชิงปรัชญาและวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับแก่นแท้ของประสบการณ์จิตสำนึก ความสัมพันธ์ระหว่างจิตใจกับโลกทางกายภาพ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากปรากฏการณ์ควอนตัมต่อความเข้าใจเรื่องจิตสำนึกของเรา ต่อไปนี้เป็นประเด็นสำคัญบางประการเกี่ยวกับธรรมชาติของจิตสำนึก
การรับรู้เชิงอัตวิสัย (Subjective Awareness) เนื่องจากจิตสำนึก (Consciousness) จะอ้างถึงภาวะของการตระหนักรู้ (aware) ถึง ความคิด (thoughts) ความรู้สึก (sensations) อารมณ์ (emotions) และสภาพแวดล้อม (surroundings) ส่งผลให้เกิดประสบการณ์อัตวิสัย (subjective experiences) ที่เรียกว่า ควอเรีย (qualia) ซึ่งเป็นเหมือน ความรู้สึกดิบ (raw feelings) และความรู้สึก (sensations) อันเนื่องมาจากการรับรู้ (perceptions)
A dualist model of perception for subjective experiences
ปัญหาใจ-กาย (The Mind-Body Problem) ได้กล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างจิตสำนึก (consciousness) กับ กายภาพสมอง (physical brain) ตามหลักคิดของพวกวัตถุนิยม (Materialism) มักจะอ้างว่า ใจ เป็นเพียงคุณสมบัติที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทางประสาทที่ซับซ้อน (complex neural processes) ในสมอง ซึ่งจิตสำนึก ก็คือปรากฏการณ์ (epiphenomenon) ของกระบวนการดังกล่าว
โดยมิได้คำนึงถึงแง่มุมเชิงคุณภาพ (qualitative) และ เชิงอัตวิสัย (subjective) ของประสบการณ์จิตสำนึก (conscious experience) อย่างแท้จริง ในขณะที่พวกทวินิยม (Dualism) ได้เสนอว่า จิตสำนึกแยกจากขอบเขตทางกายภาพและดำรงอยู่อย่างเป็นอิสระจากสมอง ส่วนพวกจิตนิยม (Panpsychism) เสนอว่าจิตสำนึกเป็นลักษณะพื้นฐานของจักรวาล ซึ่งปรากฏอยู่ในทุกระดับของการดำรงอยู่ แม้แต่ในอนุภาคมูลฐาน
Different approaches toward resolving the mind–body problem (ref.1)
กล่าวโดยสรุป ธรรมชาติของจิตสำนึก ได้แสดงถึงสายใยที่ซับซ้อน (intricate web) ของการซักถามเชิงปรัชญา (philosophical inquiry) และการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ (scientific exploration) แม้ว่าแนวคิดนี้ยังคงไม่มีข้อสรุป แต่ก็ได้นำเสนอมุมมองใหม่เกี่ยวกับคำถามเก่าแก่ของจิตสำนึก และความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจ ด้วยการสำรวจความเชื่อมโยงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างกลศาสตร์ควอนตัมกับประสบการณ์จิตสำนึก นักวิจัยยังคงผลักดันขอบเขตความเข้าใจของเรา เกี่ยวกับจิตใจมนุษย์ และตำแหน่งของมันในจักรวาล
ทฤษฎีการลดเป้าหมายแบบออร์เคสตรา
(Orchestrated Objective Reduction (Orch-OR) Theory):
ทฤษฎี Orch-OR เป็นสมมติฐานที่เสนอโดยนักฟิสิกส์ เซอร์ โรเจอร์ เพนโรส (physicist Sir Roger Penrose) และวิสัญญีแพทย์ สจวร์ต ฮาเมอรอฟ (anesthesiologist Stuart Hameroff) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างกลศาสตร์ควอนตัมกับจิตสำนึก โดยเสนอว่า จิตสำนึกเกิดจากกระบวนการควอนตัม ที่เกิดขึ้นภายในไมโครทูบูล (microtubules) ของเซลล์ประสาทในสมอง
ทฤษฎีนี้เป็นการผสมผสานองค์ประกอบของกลศาสตร์ควอนตัม (quantum mechanics) และ ประสาทวิทยา (neuroscience) เพื่อเสนอมุมมองที่เป็นเอกลักษณ์เกี่ยวกับธรรมชาติของจิตสำนึก ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดที่สำคัญของทฤษฎี Orch-OR
Stuart Hameroff MD and Sir Roger Penrose (ref.4)
การเชื่อมโยงควอนตัมในไมโครทูบูล (Quantum Coherence in Microtubules) ทฤษฎี Orch-OR วางแนวคิดไว้ว่า การเชื่อมโยงควอนตัม ซึ่งเป็นสถานะที่อนุภาคควอนตัมถูกซิงโครไนซ์ (synchronized) และสามารถมีอยู่ในหลายสถานะ (multiple states) พร้อมกันนั้น มีอยู่ในไมโครทูบูลของเซลล์ประสาท
ซึ่งเป็นโครงสร้างโปรตีนทรงกระบอก (cylindrical protein) โดยตามทฤษฎีแล้ว ไมโครทูบูลเหล่านี้ จะทำหน้าที่เป็นท่อนำคลื่นควอนตัม (quantum waveguides) ที่สามารถรักษาสถานะควอนตัม (quantum states) และนำข่าวสารควอนตัม (quantum information) ได้
Neurons are shown schematically with internal microtubules (ref.2)
การลดเป้าหมาย OR (Objective Reduction : OR) ในกลศาสตร์ควอนตัม กระบวนการยุบตัวของฟังก์ชันคลื่น (wave function collapse) จะเปลี่ยนระบบควอนตัม จากภาวะการซ้อนทับของสถานะ (superposition) ไปสู่สถานะที่แน่นอน (definite state) ในระหว่างการตรวจวัด โดยทฤษฎี Orch-OR ได้เสนอรูปแบบเฉพาะ (specific form) ในการยุบตัวของฟังก์ชันคลื่น
เรียกว่า "การลดวัตถุประสงค์ (OR) ซึ่งต่างจากมุมมองมาตรฐานของการยุบตัวของฟังก์ชันคลื่นในกลศาสตร์ควอนตัม ที่เป็นกระบวนการสุ่มที่ขับเคลื่อนโดยการวัด ขณะที่ในทฤษฎี Orch-OR นั้นจะไม่ใช่การสุ่ม แต่เกิดขึ้นเนื่องจากกระบวนการที่อยู่ภายในตัวจิตสำนึก
การบงการเหตุการณ์ OR (Orchestrated OR Events) ตามทฤษฎี Orch-OR ประสบการณ์จิตสำนึก มีความเกี่ยวข้องกับ การบงการเหตุการณ์ OR ที่เกิดขึ้นในไมโครทูบูลของเซลล์ประสาท การบงการเหตุการณ์ OR ถือเป็นพื้นฐานของการเกิดขึ้นของจิตสำนึก เมื่อถึงเกณฑ์วิกฤต (critical threshold) ของการเชื่อมโยงควอนตัม (quantum coherence) ภายในไมโครทูบูล เหตุการณ์ OR จะเกิดขึ้น ซึ่งนำไปสู่การยุบตัวของฟังก์ชันคลื่น และส่งผลให้เกิดประสบการณ์การรับรู้แบบอัตวิสัย
Wave function collapse
การรับรู้ควอนตัมและจิตสำนึกที่ไร้กระบวนวิธี (Quantum Cognition and Non-Algorithmic Consciousness) ทฤษฎี Orch-OR เสนอว่า การยุบตัวของฟังก์ชันคลื่นในไมโครทูบูลนั้น ไม่สามารถคำนวณได้และไม่มีกระบวนวิธี (non-algorithmic) ซึ่งหมายความว่า ไม่สามารถลดทอนเป็นกระบวนการคำนวณแบบดั้งเดิม (reducible to classical computational processes)
ธรรมชาติของจิตสำนึกที่ไร้กระบวนวิธีนี้ถูกมองว่า เป็นรูปแบบสำคัญ (key aspect) ของการทำความเข้าใจประสบการณ์จิตสำนึก ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับกระบวนการคิดที่ซับซ้อนและสร้างสรรค์ (complex and creative thought) ที่อยู่พ้นไปจากแนวทางแบบดั้งเดิม (realm of classical causality)
ผลกระทบต่อจิตสำนึกและเจตจำนงเสรี (Implications for Consciousness and Free Will) ทฤษฎี Orch-OR ชี้ให้เห็นว่า จิตสำนึกไม่ได้เป็นเพียงผลผลิตของ การคำนวณระบบประสาทแบบดั้งเดิม (classical neural computation) เท่านั้น แต่ยังเกิดจากกระบวนการควอนตัมอีกด้วย มุมมองนี้มีผลกระทบต่อการทำความเข้าใจเจตจำนงเสรี
เนื่องจากธรรมชาติที่ไม่สามารถกำหนดได้ (non-deterministic nature) ของกลศาสตร์ควอนตัม อาจทำให้มีทางเลือกและการกระทำที่ไม่แน่นอน (indeterminate choices and actions) ซึ่งอยู่นอกเหนือขอบเขตของแนวทางแบบดั้งเดิม
กล่าวโดยสรุป ทฤษฎี Orch-OR ถือเป็นสมมติฐานที่น่าสนใจ ที่พยายามเชื่อมช่องว่างระหว่างกลศาสตร์ควอนตัมกับจิตสำนึก ด้วยการเสนอว่าจิตสำนึกเกิดขึ้นจากกระบวนการควอนตัมที่จัดเตรียมไว้ภายในไมโครทูบูลของเซลล์ประสาท ทฤษฎี Orch-OR ได้ให้มุมมองที่เป็นเอกลักษณ์ เกี่ยวกับธรรมชาติของประสบการณ์จิตสำนึก แม้ว่าทฤษฎีนี้ยังคงเป็นหัวข้อการวิจัย และการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เน้นย้ำถึงความพยายามแบบสหวิทยาการ ในการทำความเข้าใจ ความลึกลับอันลึกซึ้งของจิตสำนึก และความเชื่อมโยงที่อาจเกิดขึ้นกับอาณาจักรควอนตัม
ทฤษฎีพลวัตสมองควอนตัม
(Quantum Brain Dynamics (QBD) Theory)
ทฤษฎี QBD ถือเป็นหัวข้อวิจัยในสาขาจิตสำนึกควอนตัม ที่เน้นสำรวจความเป็นไปได้ที่ปรากฏการณ์ควอนตัม จะมีบทบาทสำคัญในการทำงานของสมอง และการเกิดขึ้นของจิตสำนึก ซึ่งแตกต่างจากทฤษฎี Orch-OR ที่จะเน้นไปที่จิตสำนึกเป็นหลัก ในขณะที่ทฤษฎี QBD จะครอบคลุมภาพกว้าง (broader range) ของแบบจำลองและสมมติฐานที่อิงควอนตัมโดยตรง ซึ่งเสนอว่า การประมวลผลข้อมูลควอนตัม (quantum information processing) และการเชื่อมโยงควอนตัม (quantum coherence) เป็นกลไกที่อยู่เบื้องหลังกระบวนการรับรู้ (cognitive processes)
Some models for human consciousness (ref.3)
การประมวลผลข้อมูลควอนตัม (Quantum Information Processing) แนวคิดหลักอย่างหนึ่งใน QBD คือสมองอาจใช้การประมวลผลข้อมูลควอนตัม เพื่อทำหน้าที่รับรู้บางอย่าง ในขณะที่การประมวลผลข้อมูลในคอมพิวเตอร์คลาสสิก จะใช้บิตไบนารี่ คือ 0 หรือ 1 แต่คอมพิวเตอร์ควอนตัม จะใช้ บิตควอนตัม (quantum bits) หรือคิวบิต (qubits)
ซึ่งสามารถอยู่ในภาวะทับซ้อนของทั้ง 0 และ 1 พร้อมกัน คุณสมบัตินี้ช่วยให้คอมพิวเตอร์ควอนตัม สามารถทำการคำนวณบางอย่าง ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าคอมพิวเตอร์แบบคลาสสิก และยังมีความเหมาะสมมากกว่า สำหรับการประมวลผลที่ซับซ้อนของจิตสำนึก
การเชื่อมโยงควอนตัมในสมอง (Quantum Coherence in the Brain) เมื่อการเชื่อมโยงควอนตัม หมายถึงสถานะที่ระบบควอนตัม เช่น อะตอม หรือ อนุภาค สามารถรักษาสถานะการทับซ้อน (superposition states) และยังคงมีความสัมพันธ์ (remain correlated) ซึ่งกันและกัน ทฤษฎี QBD แนะนำว่า
การเชื่อมโยงควอนตัมอาจมีอยู่ในโครงสร้างบางอย่างภายในสมอง เช่น ไมโครทูบูล (คล้ายกับทฤษฎี Orch-OR) หรือชีวโมเลกุล (biomolecules) อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางประสาท การรักษาการเชื่อมโยงควอนตัมในระดับจุลภาค อาจทำให้การประมวลผลข้อมูลแบบขนาน (parallel information processing) ในสมองมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อุโมงค์ควอนตัม (Quantum Tunneling) เป็นปรากฏการณ์ทางกลควอนตัม ที่อนุภาคสามารถทะลุผ่านอุปสรรคด้านพลังงาน ซึ่งวัตถุคลาสสิกไม่สามารถทะลุผ่านได้ ทฤษฎี QBD บางรุ่นเสนอว่า อุโมงค์ควอนตัม อาจมีบทบาทในการถ่ายโอนข้อมูลภายในโครงข่ายประสาท ช่วยให้สามารถโต้ตอบนอกพื้นที่ (non-local interactions) และสื่อสารระหว่างบริเวณสมอง (brain regions) ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การพัวพันควอนตัมในโครงข่ายประสาท (Quantum Entanglement in Neural Networks) ความพัวพันควอนตัม ถือเป็นความสัมพันธ์ ระหว่างอนุภาค โดยไม่คำนึงถึงระยะทาง ถูกเสนอว่า เป็นกลไกที่มีศักยภาพในการประสานข้อมูลในโครงข่ายประสาท สถานะที่พัวพันกัน อาจทำให้การส่งข้อมูลเร็วขึ้นและพร้อมกัน (faster and simultaneous transmission of information) ทำให้สมองสามารถประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อนและประสานกระบวนการรับรู้หลายอย่าง (coordinate multiple cognitive processes) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Central elements of quantum physics (ref.3)
การเชื่อมโยงควอนตัมที่มองเห็นได้ (Macroscopic Quantum Coherence) ทฤษฎี QBD บางรุ่น ได้สำรวจความเป็นไปได้ ของการเชื่อมโยงควอนตัมที่มองเห็นได้ในสมอง เมื่อผลกระทบควอนตัม (quantum effects) ขยายออกไปเกินกว่าระดับจุลภาค (microscopic scale) และมีอิทธิพลต่อกระบวนการทางประสาทในระดับมหภาค แนวคิดนี้ท้าทายมุมมองแบบดั้งเดิมที่ว่า ผลกระทบควอนตัมจะเกี่ยวข้องเฉพาะในระบบที่แยกเดี่ยว (isolated) ระบบเย็น (cold) และระบบเล็กจิ๋ว (tiny) เท่านั้น
กล่าวโดยสรุป ทฤษฎี QBD ได้นำเสนอสมมติฐานและแบบจำลองที่หลากหลาย ซึ่งเสนอว่า ปรากฏการณ์ควอนตัม เป็นกลไกที่เป็นไปได้ ซึ่งอยู่เบื้องหลังกระบวนการรับรู้ และการเกิดขึ้นของจิตสำนึก ในขณะที่ยังคงเป็นหัวข้อของการวิจัย และการอภิปรายอย่างต่อเนื่อง การสำรวจผลกระทบควอนตัมในสมอง ก็ได้เปิดช่องทางใหม่ ในการทำความเข้าใจความซับซ้อนของจิตสำนึก และการทำงานของการรับรู้
ขณะที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และเทคนิคการทดลอง ได้รับการปรับปรุงเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ทฤษฎี QBD ก็อาจให้ความกระจ่างเกี่ยวกับ บทบาทของกลศาสตร์ควอนตัม ในการสร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับจิตใจ และจิตสำนึก (mind and consciousness) ของเรา
บทสรุป
(Conclusion)
จิตสำนึกควอนตัม ถือเป็นสาขาวิชาที่น่าหลงใหล และเกี่ยวโยงไปใน หลากหลายสาขาวิชา (multidisciplinary field) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความเชื่อมโยง และปฏิสัมพันธ์ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างกลศาสตร์ควอนตัม กับ ธรรมชาติอันลึกลับของจิตสำนึกมนุษย์ แม้ว่าแนวคิดเรื่องจิตสำนึกควอนตัมยังคงเป็นการคาดเดาและเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ก็ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับทฤษฎี สมมติฐาน และวิธีการทดลองมากมาย ที่เชื่อมช่องว่างระหว่างฟิสิกส์ควอนตัม ประสาทวิทยา และปรัชญา
กล่าวโดยสรุป จิตสำนึกควอนตัมยังคงเป็นสาขาที่ล้ำหน้า และพัฒนาอยู่ ซึ่งดึงดูดจินตนาการ และ ความอยากรู้อยากเห็น ของนักวิทยาศาสตร์ และนักปรัชญา แม้ว่าแนวคิดนี้ยังคงอยู่ในขอบเขตของการวิจัย แต่การสำรวจก็นำเสนอศักยภาพ ในการปรับเปลี่ยนความเข้าใจของเราเกี่ยวกับ จิตใจ (mind) จิตสำนึก (consciousness) และธรรมชาติพื้นฐานของความเป็นจริง (fundamental nature of reality)
ในขณะที่สาขานี้ยังคงพัฒนาต่อไป การแสวงหาการไขปริศนาแห่งจิตสำนึกควอนตัม ยังคงเป็นการเดินทางที่น่าตื่นเต้น โดยมีผลกระทบอย่างลึกซึ้ง ต่อตำแหน่งของเราในจักรวาล (our place in the universe) และธรรมชาติประสบการณ์ของมนุษย์ (nature of human experience)
Reference :
(สาธยายสายวิทย์ ep.1 จิตสำนึกควอนตัม)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา