25 ส.ค. 2023 เวลา 01:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

กลยุทธ์ปรับพอร์ต “Provident Fund” ให้ทรงพลังขึ้นในทุกๆ ปี

“กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” อาวุธลับสำคัญและทรงพลังอย่างมากของชาวมนุษย์เงินเดือน ซึ่งถือเป็นสวัสดิการที่เรียกว่า “โบนัสคูณสอง คูณสาม คูณสี่” เลยก็ว่าได้
2
แต่ถึงแม้ว่าอาวุธนี้จะทรงพลังมากแค่ไหน หากเราไม่หมั่นตรวจสอบ และปรับพอร์ตการลงทุน อาวุธลับชนิดนี้ก็มีสิทธิ์ที่จะมีพลังลดน้อยลงได้เช่นกัน
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า เราควรปรับพอร์ตการลงทุนแล้ว ?
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า…
“การปรับพอร์ตกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” คือ การปรับเพิ่ม หรือลดสัดส่วนการลงทุนของสินทรัพย์แต่ละชนิด เพื่อให้สัดส่วนการลงทุนในปัจจุบันนั้นกลับมาอยู่ในสัดส่วนเดิมที่เคยกำหนดไว้ตั้งแต่ตอนต้น หรือสอดคล้องกับความต้องการ และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
ซึ่งตลอดระยะเวลาที่เราลงทุนก็จะมีปัจจัยหลายด้านที่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ของตลาด หรืออายุของผู้ลงทุนเอง
เพราะฉะนั้นแล้ว เมื่อเรารู้ว่าสถานการณ์ตลาด ช่วงอายุเรา หรือความต้องการของเราเปลี่ยน เมื่อนั้นก็คือเวลาที่เหมาะสมที่เราจะต้องกลับมาตรวจสอบ และปรับพอร์ตการลงทุนนั่นเอง
และเมื่อรู้แล้วว่า เราควรปรับพอร์ตเมื่อไร
คำถามต่อมาคือ เราควรจะปรับพอร์ตอย่างไรดี ?
วันนี้ KTAM ขอมาแชร์กลยุทธ์ที่ใช้ในการปรับพอร์ตกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ทรงพลังยิ่งกว่าเดิม โดยจะขอแบ่งออกเป็น 2 กลยุทธ์
  • กลยุทธ์ที่ 1 ปรับพอร์ตตาม “ช่วงอายุ”
สำหรับการปรับพอร์ตตามช่วงอายุ มี 3 สิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญ ได้แก่
- อายุของผู้ลงทุน
- ระยะเวลาการลงทุนที่เหลือ
- ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
ช่วงเริ่มต้นทำงาน (Gen Z)
เนื่องจากคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่มีอายุน้อย ทำให้ระยะเวลาการลงทุนในกองทุนนี้ยังมีอยู่อีกมาก อีกทั้งภาระหนี้สินก็อาจยังไม่มี ทำให้ความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงนั้นค่อนข้างสูงกว่ากลุ่มคนช่วงอายุอื่น
ดังนั้น หากปัจจุบันกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีการลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำอย่างตราสารหนี้ค่อนข้างมาก ก็ควรปรับพอร์ตการลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงในสัดส่วนที่มากขึ้นอย่างตราสารทุน เพื่อให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้น
ตัวอย่าง พอร์ตการลงทุน
- สินทรัพย์เสี่ยงสูง (ตราสารทุน) 80-90%
- สินทรัพย์เสี่ยงต่ำ (ตราสารหนี้) 10-20%
แต่หากบริษัทไหนไม่มีแผนการลงทุนให้เลือกจัดสรรเอง ก็สามารถปรับพอร์ตโดยการเลือกแผนการลงทุนที่มีสินทรัพย์เสี่ยงสูงสุดได้
ช่วงเริ่มต้นสร้างตัว (Gen Y)
สำหรับคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่ทำงานมาได้สักพักแล้ว และอยู่ในช่วงของวัยกำลังสร้างตัว ทำให้อาจมีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นมาบ้าง การยอมรับความเสี่ยงได้นั้นอาจยังอยู่ในระดับสูงได้อยู่ แต่ไม่ควรสูงเท่ากับช่วงเริ่มต้นทำงาน
ดังนั้น การปรับพอร์ตการลงทุนนี้ ควรลดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงลงเพียงเล็กน้อย เพื่อตอบรับกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ลดลง
ตัวอย่าง พอร์ตการลงทุน
- สินทรัพย์เสี่ยงสูง (ตราสารทุน) 60-70%
- สินทรัพย์เสี่ยงต่ำ (ตราสารหนี้) 30-40%
ช่วงใกล้เกษียณ (Gen X)
เนื่องจากคนกลุ่มนี้มีอายุที่มากขึ้น ทำให้ระยะเวลาในการลงทุนกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นก็มีลดน้อยลงด้วย อีกทั้งยังอยู่ในช่วงท้ายของการทำงาน และเข้าใกล้วัยเกษียณ ส่งผลให้ความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงนั้นก็ลดลงอย่างมาก
ดังนั้น การปรับพอร์ตการลงทุน ก็ควรเน้นไปที่นโยบายที่มีสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ เช่น ตราสารหนี้ เป็นหลัก เพื่อรักษาเงินต้นไว้ใช้ในยามเกษียณ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรปรับเป็นสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ 100% เพื่อเปิดโอกาสให้เงินลงทุนที่มีอยู่นั้นงอกเงยได้ และเพื่อให้ผลตอบแทนที่ได้รับสามารถชนะเงินเฟ้อได้ด้วย
ตัวอย่าง พอร์ตการลงทุน
- สินทรัพย์เสี่ยงสูง (ตราสารทุน) 40-50%
- สินทรัพย์เสี่ยงต่ำ (ตราสารหนี้) 50-60%
  • กลยุทธ์ที่ 2 ปรับพอร์ตตาม “ภาวะตลาด”
สำหรับกลยุทธ์นี้ การปรับพอร์ตจะมาจากการสังเกตสถานการณ์ตลาดที่เปลี่ยนแปลง สามารถแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ ตลาดเกิดวิกฤติ และตลาดปรับตัวสูงมากแล้ว
 
และเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพการปรับพอร์ตได้อย่างชัดเจน ขอยกตัวอย่างให้ ณ วันเริ่มต้นลงทุน นาย A ลงทุนในตราสารทุน 70% และตราสารหนี้ 30%
กรณีตลาดเกิดวิกฤติ
โดยปกติแล้วเมื่อตลาดเกิดวิกฤติ ราคาสินทรัพย์เสี่ยงส่วนใหญ่มักจะลดลงมาก หากเรามองว่าสินทรัพย์ชนิดนั้นมีราคาที่เหมาะสมแล้ว และมีแนวโน้มเติบโตในอนาคต เราก็สามารถปรับพอร์ตการลงทุน โดยการเพิ่มสัดส่วนเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูงชนิดนั้น เพื่อรอเวลาที่ตลาดกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ดังนั้น นาย A ควรปรับพอร์ตการลงทุน โดยสามารถลงทุนตราสารทุนในสัดส่วนที่สูงขึ้นได้ 90% และตราสารหนี้ 10%
1
กรณีตลาดปรับตัวสูงมากแล้ว
สำหรับกรณีนี้ หากตลาดมีการปรับตัวสูงมามากแล้ว และมองว่าไม่สามารถไปต่อได้ หรืออยู่ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ลง และมีแนวโน้มว่าตลาดจะปรับตัวลดลง จากปัจจัยอื่น ๆ เช่น พื้นฐานธุรกิจ นโยบายที่ไม่เอื้ออำนวย การปรับพอร์ตการลงทุนก็ควรลดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง และค่อยเพิ่มสัดส่วนมากขึ้น เมื่อมองว่าตลาดเริ่มกลับสู่ภาวะปกติแล้ว
ดังนั้น นาย A ควรปรับพอร์ตการลงทุน โดยลดการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างตราสารทุน ซึ่งอาจจัดให้อยู่ในสัดส่วน 60% และตราสารหนี้ 40% เป็นต้น
และทั้งหมดนี้ คือ เคล็ดลับการปรับพอร์ตกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อให้อาวุธลับที่เรามีอยู่นั้นทรงพลังยิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งจะเห็นได้ว่าการปรับพอร์ตการลงทุนนั้นไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแค่หมั่นตรวจสอบพอร์ตการลงทุนของเราทุก ๆ ปี และนำเทคนิคด้านบนเหล่านี้มาใช้ปรับพอร์ตอยู่เสมอ
📍 สำหรับใครที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว แต่กำลังออกจากงาน และกำลังคิดว่าจะทำอย่างไรกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้ดี KTAM แนะนำให้ยังคงการเป็นสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้ เพราะหากเราออกจากกองทุนนี้ ก็อาจทำให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เราได้รับนั้นถูกยกเว้น และต้องจ่ายภาษีคืนได้
หากใครที่ต้องการถือเงินลงทุนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อนั้น ก็สามารถโอนเงินลงทุนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมายังกองทุน RMF for PVD ซึ่งเป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้น เพื่อรองรับเงินโอนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยเฉพาะ ซึ่งมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีเหมือนกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ด้วย
ซึ่ง KTAM ก็มีกองทุน RMF for PVD นี้ให้บริการเช่นกัน สามารถสอบถามรายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวนที่ ธนาคารกรุงไทย ผู้สนับสนุนการขาย หรือ บลจ.กรุงไทย โทร. 02-686-6100 กด 9
ศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ KTAM PVD FUND ได้ที่ : https://rb.gy/70hy4
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ หากลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด อาจต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเสียเงินเพิ่ม
References :
โฆษณา