26 ส.ค. 2023 เวลา 04:02 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ประธานเฟดเผยอาจคงดอกเบี้ยเดือนหน้า แต่จะยังไม่หยุดขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ ⚠️

นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งสัญญาณว่าอัตราดอกเบี้ยจะยังคงอยู่ในระดับสูงและอาจปรับเพิ่มขึ้นได้อีกหากเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อไม่ชะลอตัวลง
ในคำปราศรัยที่ทุกคนตั้งตารอในวันศุกร์ระหว่างการประชุมประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในเมืองแจ็กสันโฮล รัฐไวโอมิง ทางด้านคุณพาวเวลล์เน้นย้ำว่าภาคกิจในการต่อสู้กับเงินเฟ้อของเฟดยังไม่สิ้นสุด อย่างไรก็ตามเฟดก็สังเกตเห็นความคืบหน้าในการชะลอการเพิ่มขึ้นของราคา
นอกจากนี้เขายังกล่าวอีกว่าธนาคารกลางจะดำเนินการ "อย่างระมัดระวัง" โดยเป็นการเปิดทางให้เฟดสามารถคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไปในเดือนกันยายน หลังจากที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับสูงสุดในรอบ 22 ปีที่ 5.25-5.5% ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
โดยภาพรวมแล้ว สุนทรพจน์ของพาวเวลล์ออกไปในโทนส่งสัญญาณว่า นโยบายของเฟดจะมีการเปลี่ยนไปโฟกัสที่การบริหารความเสี่ยงมากขึ้น ท่ามกลางความไม่แน่นอนอย่างมากเกี่ยวกับผลกระทบของการปรับขึ้นดอกเบี้ยสะสมในครั้งก่อนๆ และแนวโน้มของอัตราเงินเฟ้อและตลาดแรงงานในปัจจุบัน
1
📌 ตรงนี้สะท้อนว่าเฟดเริ่มกลัวการ overtightening นั่นเองคะ
ทั้งนี้ประเด็นสำคัญของถ้อยแถลงคือ นโยบายการเงินจะยังคง "เข้มงวด" จนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะมีแนวโน้มชะลอตัวลงสู่ 2% อย่างมั่นคง
นอกจากนี้ด้วยเศรษฐกิจสหรัฐฯที่แสดงแข็งแกร่งหลังจาก GDP ขยายตัวดีกว่าคาดในไตรมาส 2 และอัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ข้อความดังกล่าวอาจอยู่ในเราเห็นได้อีกเป็นเวลาหลายเดือน
แม้ว่าเฟดจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน แต่ผู้กำหนดนโยบายก็ยังไม่น่าจะประกาศยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ หลังจากพวกเขากำลังตั้งเป้าที่จะลบความคาดหวังของนักลงทุนในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า
📌 พอตัวเลขเศรษฐกิจแข็งแกร่ง เฟดเลยเห็นช่องที่จะใช้อ้างขึ้นดอกเบี้ยได้นั่นเองคะ
ขณะที่เจ้าหน้าที่ Fed จะมีความเห็นต่างกันออกไปบ้างว่า จำเป็นจะต้องให้นโยบายการเงินเข้มงวดมากขึ้นหรือไม่ แต่พวกเขาก็แสดงความเห็นคล้ายๆกันว่ามีความจำเป็นที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูง
โดยทางด้าน ลอเร็ตตา เมสเตอร์ ประธานเฟดคลีฟแลนด์ กล่าวในการให้สัมภาษณ์ทางสถานีโทรทัศน์บลูมเบิร์ก เมื่อวันศุกร์หลังการปราศรัยของพาวเวลล์ว่า “การใช้นโยบายการเงินตึงตัวน้อยเกินไปอาจกลายเป็นความผิดพลาดที่เลวร้ายยิ่งกว่าการใช้นโยบายตึงตัวมากเกินไปบ้าง เพราะว่าเราสามารถแก้ไขสิ่งนั้นได้” และ “เราจะคงแนวทางนี้ไว้ในแง่ของนโยบายการเงิน เพื่อให้แน่ใจว่าเราใช้นโยบายตึงตัวเพียงพอที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง”
📌 ตรงนี้บอกกลายๆว่าเฟดไม่กลัวที่จะขึ้นดอกเบี้ยมากเกินไป เพราะแก้ไขได้ง่ายกว่าการขึ้นดอกเบี้ยน้อยเกินไปคะ
นอกจากนี้การดำเนินนโยบายการเงินเผชิญกับความซับซ้อนมากขึ้นหลังจากมีปัจจัยที่ไม่แน่นอนหลายประการ โดยทาง
ด้าน พาวเวลล์ เปรียบเทียบว่าเป็น "การนำทางโดยดวงดาวภายใต้ท้องฟ้าที่มีเมฆมาก"
ในบรรดาปัจจัยต่างๆ ทางพาวเวลล์ได้กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ของ Fed ไม่สามารถทราบแบบเรียลไทม์ หรือแม่นยำได้ว่าอัตราดอกเบี้ยควรที่จะอยู่ที่ระดับเท่าไหร่ถึงจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวตามที่ต้องการ รวมถึงยังไม่ชัดเจนว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสะสมมาในครั้งก่อนๆส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและตลาดการเงินมากน้อยเพียงใด และผลกระทบดังกล่าวจะเกิดขึ้นอีกมากเพียงใด (ตรงนี้แกหมายนโยบายการเงินมี lag time คะ)
1
โดยสิ่งนี้ทำให้งานของเฟดยากขึ้นในการสร้างสมดุลระหว่างความเสี่ยงในใช้นโยบายตึงตัวมากเกินไป และอาจกระตุ้นให้เกิดการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและภาวะเศรษฐกิจถดถอยตามมา เทียบกับความเสี่ยงที่ใชนโยบายการเงินตึงตัวน้อยเกินไป ซึ่งอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อไม่ปรับตัวลง พาวเวลล์กล่าว
1
“ในสถานการณ์เช่นนี้ การพิจารณาการจัดการความเสี่ยงถือเป็นสิ่งสำคัญ” เขากล่าว “เราจะดำเนินการอย่างระมัดระวังในขณะที่เราตัดสินใจว่าจะขึ้นดอกเบี้ยต่อหรือจะคงอัตราดอกเบี้ย และรอข้อมูลเศรษฐกิจเพิ่มเติม”
📌 ตรงนี้สะท้อนว่าเฟดเตรียมที่จะคงดอกเบี้ยในการประชุมเดือนกันยายน เพื่อรอดูตัวเลขเศรษฐกิจก่อน แต่ยังกั๊กๆว่าปีนี้อาจมีขึ้นดอกเบี้ยได้อีกครั้งเช่นกันคะ
อย่างไรก็ตามแม้ว่าเฟดจะมีข้อความที่ชัดเจนเกี่ยวกับการรักษาสมดุลความเสี่ยง แต่พาวเวลล์เน้นย้ำว่าเป้าหมายสูงสุดของเฟดคือการทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมาย 2%
และเขายินดีที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แต่เขาตั้งข้อสังเกตว่าเศรษฐกิจอาจจะยังไม่ชะลอตัวลงเร็วเท่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อมีความเสี่ยงที่จะเพิ่มขึ้นอีกครั้ง และอาจทำให้เราต้องใช้นโยบายการเงินเข้มงวดขึ้นอีก
1
โดยพาวเวลล์กล่าวว่า “แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อได้ปรับตัวลงจากจุดสูงสุดแล้ว ซึ่งเป็นพัฒนาการที่น่ายินดี อย่างไรก็ตามเงินเฟ้อก็ยังคงสูงเกินไป” และ “เราพร้อมที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมตามความเหมาะสม และตั้งใจที่จะคงดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับตึงตัวจนกว่าเราจะมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังปรับตัวลงอย่างยั่งยืนลงมาที่เป้าหมายของเรา”
ทั้งนี้สำหรับเจ้าหน้าที่ Fed การคาดการณ์ชุดใหม่ที่จะมีกำหนดประกาศในเดือนหน้าจะมีบทบาทสำคัญต่อความคาดหวังของนักลงทุน และจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเฟดมีโอกาสขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกกี่ครั้งในปีนี้
1
🎯 ความเห็นส่วนตัวของนิคกี้
เฟดเข้าสู่ช่วงท้ายของการขึ้นดอกเบี้ยเรียบร้อยอย่างแน่นอนแล้วคะ และน่าจะคงอัตราดอกเบี้ยแน่ๆในการประชุมเดือนกันยายน โดนพาวเวลล์เองยังมีหลุดโทน Dovish ให้เห็นเล็กๆน้อยๆเช่นกัน เราจึงเห็นว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯกลับมาปิดบวกได้อีกครั้งเมื่อวานนี้นั่นเอง
นอกจากนี้เองเฟดยังคงกังวลว่าจะทำให้นโยบายการเงินตึงตัวมากเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดเศรษฐกิจถดถอยได้ แม้ว่าก่อนหน้านี้เฟด รวมถึงหลายๆที่บอกว่าจะไม่เกิดขึ้นแล้วก็ตาม แต่อย่าลืมนะคะว่าตัวเลข PMI ของสหรัฐฯล่าสุดเกือบหลุดมาต่ำกว่า 50 หรือเข้ามาอยู่ในโซนหดตัวแล้วนั่นเอง (เหลือแค่ PMI Services ตัวเดียวที่ยังเกิน 50) ดังนั้นเรายังไม่สามารถพูดได้ 100% ว่าสหรัฐฯจะไม่เกิด recession
คำแนะนำคือ ถ้าเฟดทำ Soft Landing ได้จริง ตลาดหุ้นจะสามารถบวกได้ทุกกลุ่ม แต่กลุ่มที่จะ outperform จะเป็นกลุ่มของ Value หรือ Cyclical Stock คะ เพราะ laggard กลุ่ม Growth และ Tech ค่อนข้างเยอะ
แต่ถ้าเฟดขึ้นดอกเบี้ยมากเกินไป เราอาจจะเจอ recession แล้วบังคับให้เฟดต้องกลับมาลดดอกเบี้ย ซึ่งในกรณีนี้หุ้น Growth และ Tech จะทำผลงานได้ดีกว่า ขณะที่หุ้น Value หรือ Cyclical Stock อาจปรับตัวลงได้คะ
1
ดังนั้นแล้วถ้าเป็นนิคกี้ นิคกี้จะยังคงถือหุ้น Tech ต่อไปคะ และอีกอันคือลงทุนตราสารหนี้สหรัฐฯกันด้วยนะคะ เพราะตอนนี้ Yield สูงมากๆ และโอกาสที่ Yield จะขึ้นต่อมีค่อนข้างจำกัดแล้วคะ
Source: Bloomberg
#เศรษฐกิจ #การเงิน #ลงทุน #กองทุน #มือใหม่ #ข่าวเศรษฐกิจทั่วโลก #ข่าวทั่วโลก #หุ้น #กองทุนรวม #ดอกเบี้ย #นักลงทุน #GDP #สหรัฐฯ #FED #ECB #ยุโรป #Recession #เศรษฐกิจถดถอย #วิกฤติเศรษฐกิจ #วิกฤติ #inflation #เงินเฟ้อ
โฆษณา