Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
1 ก.ย. 2023 เวลา 02:18 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ปัจจุบันการชำระเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Payment
ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำธุรกรรมการเงินของคนไทยอย่างเห็นได้ชัด
โดยมีปัยจัยเร่งมาจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 และผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการใช้ e-Wallet ของภาครัฐ
ทั้งนี้ ในบทความนี้จะพาทุกท่านมาดูถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการทำธุรกรรมทางการเงินของคนไทยที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาก่อนและหลัง Covid-19 ที่ผ่านมากันค่ะ
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการทำธุรกรรมการเงินในประเทศไทย
จากข้อมูลสถิติการชำระเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่ามูลค่าการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดมากถึงสองเท่าในช่วงหลังเกิด Covid-19 ที่ผ่านมา เห็นได้จาก
มูลค่าการทำธุรกรรม e-Payment
ในช่วง 2562Q4 (ก่อนการเกิด Covid-19) ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 19,255 พันล้านบาท
จนถึง 2566Q1 (หลังการเกิด Covid-19) ซึ่งมีมูลค่ามากถึง 37,004 พันล้านบาท
ตรงข้ามกลับ มูลค่าการทำธุรกรรมที่ไม่ใช่รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Non e-Payment) กลับมีแนวโน้มค่อย ๆ ลดลงอย่างต่อเนื่องถึง 30 % นับจาก 2562Q4 จนถึง 2566Q1
2
เจาะลึกพฤติกรรมการทำธุรกรรม e-Payment ในประเทศไทย
เมื่อพิจารณาช่วงเวลา 2562Q1 การทำธุรกรรม e-Payment ในช่วงก่อนเกิด Covid-19 ที่ผ่านมา พบว่าธุรกรรมที่มีมูลค่าสูงที่สุด ได้แก่ internet/mobile banking คิดเป็นสัดส่วนอยู่ที่ 79.25%
รองลงมาคือ Promptpay คิดเป็น 16.90% ขณะที่มูลค่าการใช้ Card Payment และ e-Money คิดเป็นสัดส่วนเท่ากับ 3.41% และ 0.44% ตามลำดับ
ทั้งนี้ หากพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงโดยเปรียบเทียบกับช่วงเวลา 2566Q1 หรือหลังเกิด Covid-19
พบว่า e-Payment ที่มีมูลค่าธุรกรรมสูงที่สุดยังคงเป็น internet/mobile banking ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ที่ 67.55 % อย่างไรก็ดี สัดส่วนมูลค่า Promptpay เพิ่มสูงขึ้นเป็น 30.40% หรือกล่าวคือ คนไทยมีการใช้พร้อมเพย์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น
สอดคล้องกับข้อมูลล่าสุดในเดือนมิถุนายน 2566 ที่มีการโอนเงินเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่มูลค่า 130.6 พันล้านบาท สูงขึ้น 7.7%YoY
บทสรุปพฤติกรรมการชำระเงินในปัจจุบัน
แม้ว่าในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา การทำธุรกรรมการเงินผ่านช่องทางดิจิทัลจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นจากพฤติกรรมคนไทยที่มีความคุ้นชินกับการใช้บริการทางการเงินบนแอพลิเคชันมือถือที่มีความง่าย สะดวกสบาย อย่างไรก็ตาม
ข้อมูลจากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ้งภากรณ์ 2566 ได้กล่าวว่า ปริมาณธุรกรรม e-Payment ที่เพิ่มขึ้นนั้นยังคงกระจุกตัวค่อนข้างมากในกลุ่มผู้ใช้บริการเพียงกลุ่มเล็ก ๆ
ขณะที่ยังมีคนไทยบางกลุ่มที่ยังคงมีศักยภาพในการใช้ e-Payment ในอนาคตเพิ่มขึ้นได้
จึงเป็นที่น่าสนใจต่อไปว่า ปัจจัยใดที่ทำให้กลุ่มคนดังกล่าวยังไม่ใช้ e-Payment มากนัก เพื่อนำมาสู่การพัฒนาธุรกรรมการเงินให้ประเทศไทยเข้าใกล้สู่สังคมไร้เงินสดได้อย่างสมบูรณ์ในอนาคต
ผู้เขียน: เพ็ญพิชชา สกลวิทยานนท์ Economics Data Analytics
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย, สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ้งภากรณ์
การเงิน
การใช้จ่าย
เศรษฐกิจ
4 บันทึก
6
1
4
6
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย