4 ก.ย. 2023 เวลา 12:54 • ความคิดเห็น

10 บทเรียนการเงินถึงลูกชายจาก Morgan Housel

ผู้เขียนหนังสือ The Psychology of Money อันโด่งดัง
ในปี 2015 มอร์แกน เฮาเซิล (Morgan Housel) ผู้เขียนหนังสือ The Psychology of Money (จิตวิทยาว่าด้วยเงิน) อันโด่งดัง ได้ต้อนรับลูกชายตัวน้อยที่ตื่นมาดูโลก
เขาจะบอกว่านั่นเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมที่สุดที่เคยเกิดขึ้นกับตัวเอง
ถึงแม้ว่าจะยังอีกหลายปีกว่าลูกชายของเขาจะสามารถเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับการเงิน เฮาเซิลก็รู้สึกอยากเขียนบทเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้ให้ลูกชายของเขาเอาไว้ก่อน เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกเขาโตมากพอ นี่คือคำแนะนำที่เขาอยากจะบอกลูกชาย
1. “ลูกอาจจะคิดว่าตัวเองอยากได้รถยนต์แพงๆ นาฬิกาหรูหรา บ้านหลังใหญ่ แต่พ่ออยากบอกลูกว่า...ลูกไม่ได้ต้องการหรอก” เฮาเซิลอธิบายต่อว่าสิ่งที่คุณต้องการคือความรักและความเคารพจากคนอื่นๆ แล้วคิดว่าของราคาแพงจะทำให้มันเกิดขึ้น “มันแทบจะไม่เคยเกิดขึ้นเลย” โดยเฉพาะจากคนที่คุณต้องการความรักและความเคารพจริงๆ
1
ตอนที่เห็นใครสักคนขับรถเจ๋งๆ คุณคงไม่คิดว่า “โอ้ววว...คนนั้นเจ๋งไปเลย” แต่คุณจะคิดว่า “โอ้ววว...ถ้าฉันมีรถคันนั้นคนอื่นต้องคิดว่าฉันเจ๋งแน่นอนเลย” ย้อนแย้งมาก เพราะไม่มีใครสนใจคนที่ขับรถยนต์หรู การทำงานหนักซื้อของดีๆ นั้นไม่ใช่เรื่องแย่ “แต่จำเอาไว้ว่า สิ่งที่ผู้คนอยากได้จริงๆ ก็คือความเคารพ และความอ่อนน้อมถ่อมตนจะทำให้ลูกได้รับสิ่งนั้น”�
2
2. “มันเป็นเรื่องปกติที่จะคิดว่าความสำเร็จและความล้มเหลวทางการเงินเป็นเรื่องที่สมควรจะเกิดขึ้น” เฮาเซิลกล่าวถึงเรื่องนี้หลายครั้งในหนังสือของเขา เพราะถึงแม้ว่ามันจะเป็นเรื่องจริง แต่ก็จริงแค่ถึงจุดหนึ่งเท่านั้น ซึ่งเรามักมองข้ามเรื่องนี้อยู่บ่อยๆ
3
ชีวิตคือภาพสะท้อนของประสบการณ์และผู้คนที่ผ่านพบเจอ และส่วนมากก็มาจากโชค เหตุบังเอิญ หรือโอกาสบางอย่างที่ควบคุมไม่ได้ บางคนเกิดในครอบครัวที่สนับสนุนเรื่องการศึกษา บางครอบครัวกลับมองว่ามันเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ บางคนเกิดมาในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังรุ่งเรืองสุดขีด เหมาะสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ บางคนเกิดมาในช่วงสงครามและความแร้นแค้น
“พ่ออยากให้ลูกประสบความสำเร็จ และอยากให้ลูกสมควรที่จะได้รับความสำเร็จนั้น แต่จงจำเอาไว้ว่าความสำเร็จนั้นไม่ได้มาจากการทำงานหนักเพียงอย่างเดียว และความยากจนก็ไม่ได้มาจากความเกียจคร้าน จำเรื่องนี้เอาไว้เสมอตอนที่ตัดสินคนอื่น และตัวเองด้วย”
3. “อันนี้อาจจะฟังดูโหดร้ายสักหน่อย แต่พ่อหวังว่าลูกจะจนสักช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต” สิ่งที่เฮาเซิลต้องการไม่ได้อยากให้ลูกทรมานหรือไม่มีความสุข แต่เขารู้สึกว่ามันคือโอกาสที่ลูกของเขาจะได้เรียนรู้ถึงคุณค่าของเงินโดยไม่ต้องถึงกับอดอยากมากนัก
“ความจนจะช่วยสอนลูกถึงความแตกต่างระหว่างสิ่งที่จำเป็นและสิ่งที่เราอยากได้ มันจะบังคับให้ลูกจัดการเงิน มันจะสอนให้ลูกเรียนรู้ที่จะมีความสุขกับสิ่งที่ลูกมี ซ่อมของที่ซ่อมได้ และซื้อของเมื่อมีดีลที่ดี เพราะนี่คือทักษะสำคัญในการเอาตัวรอด เรียนรู้ที่จะอยู่กับความยากจนอย่างภาคภูมิใจและลูกจะรับมือกับการขึ้นและลงของการเงินในชีวิตได้ไม่ยากนัก”
2
4. การวิ่งไล่เป้าหมายที่ขยับออกไปเรื่อยๆ คือ “วงจรแห่งความทุกข์” เรื่องนี้เกิดขึ้นกับคนส่วนใหญ่ที่มีความคิดว่า “เดี๋ยวมีเงินเท่านั้นเท่านี้ ทุกอย่างจะเยี่ยมไปเลย” แต่สุดท้ายเมื่อไปถึงเป้าหมายนั้น ก็บอกว่าขออีกหน่อย พอไปถึงเป้าใหม่ก็ขยับไปอีกเรื่อยๆ
“เก็บเงินแล้วก้าวไปข้างหน้า แต่จำเอาไว้ว่าเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ได้เก่งมากกว่าที่คิด เป้าหมายของลูกควรเป็นอะไรที่มากกว่าแค่เรื่องเงินเท่านั้น”
2
5. “อย่าทนทำงานที่เกลียด เพียงเพราะการตัดสินใจด้านอาชีพอันงี่เง่าที่ลูกเลือกตอนที่อายุ 18” เพราะเมื่ออายุเท่านี้ไม่มีใครหรอกตัวเองต้องการทำงานอะไร เฮาเซิลเองก็เคยตัดสินใจผิดพลาดมาก่อนตอนที่เลือกสาขาเรียนตอนมหาวิทยาลัย “คนส่วนใหญ่อายุมากกว่านี้เท่าตัวก็ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอยากจะทำอะไร”
2
6. การเปลี่ยนใจหรือเปลี่ยนความคิดไม่ใช่เรื่องผิด หลายคนคิดว่าตอนอายุ 18 ก็รู้เรื่องการเงินหมดแล้ว เริ่มลงทุนและทุกอย่างก็จะเปลี่ยนไปตามแผนที่วางเอาไว้ แต่ส่วนใหญ่นั่นไม่ใช่เรื่องจริง “ความมั่นใจพุ่งสูงขึ้นเร็วกว่าความสามารถ โดยเฉพาะตอนหนุ่มๆ”
สิ่งที่เฮาเซิลต้องการให้ลูกชายเขาเรียนรู้คือ “ทักษะที่พร้อมจะเปลี่ยนแนวคิด ทิ้งความเชื่อเดิมและใส่ทับความจริงใหม่ๆ เติมเข้าไป” มันเป็นเรื่องที่ยาก แต่จำเป็น อย่ารู้สึกแย่เมื่อต้องเปลี่ยนแนวคิด เพราะการเปิดรับสิ่งใหม่ที่ถูกต้อง เป็นทักษะที่ต้องใช้ไปตลอดทั้งชีวิต
1
7. “สิ่งที่ดีที่สุดที่เงินซื้อได้ความสามารถในการควบคุมเวลาของตัวเอง” วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) มหาเศรษฐีผู้ร่ำรวยที่สุดคนหนึ่งของโลกเคยบอกว่า “ผมซื้อได้ทุกอย่าง แต่ผมซื้อเวลาไม่ได้” อย่าลืมว่าวันหนึ่งทุกคนก็ต้องตาย การซื้อเวลาให้ตัวเองกลับมาเป็นเด็กอีกครั้งไม่ได้
3
เงินเพิ่มทางเลือกและสามารถซื้อเวลาให้ตัวเองมีอิสระจากการทำงานของคนอื่น “วันหนึ่งลูกจะรู้ว่าอิสรภาพนี้คือสิ่งที่จะทำให้ลูกมีความสุขจริงๆ”
8. หนี้สินมักนำมาซึ่งความรู้สึกเสียใจในภายหลัง นี่คือปัญหาหนึ่งของยุคสมัยที่ขับเคลื่อนด้วยการหยิบยืมเงินของอนาคตมาใช้โดยอย่างไม่ระมัดระวัง การก่อหนี้เป็นเรื่องง่าย ทำให้เราครอบครองสิ่งที่อยากได้ แต่ค่าใช้จ่ายของมันก็สูงเช่นกัน
1
“ลูกน่าจะมีหนี้บางอย่างเช่นหนี้บ้าน มันเป็นเรื่องที่โอเค แต่ระวัง หนี้ส่วนใหญ่คล้ายกับยาเสพติด ความสุขระยะสั้น (และแสนแพง) จะหายไป เหลือไว้เพียงน้ำหนักที่ถ่วงลูกต่อไปอีกหลายปี ทำให้ทางเลือกน้อยลงจากภาระที่สร้างขึ้นในอดีต”
9. “อัตราส่วนเงินออมนั้นขึ้นไม่ค่อยเกี่ยวกับเงินที่หาได้ แต่เกี่ยวกับเงินที่จ่ายออกไปซะมากกว่า” เฮาเซิลเล่าว่าเขารู้จักกับทันตแพทย์คนหนึ่งที่หาเงินได้เยอะมาก แต่ใช้เงินแบบเดือนชนเดือนตลอดเลย ถ้าวันหนึ่งทำงานไม่ได้ขึ้นมาคือหายนะเลยทีเดียว และเขาก็รู้จักชายอีกคนหนึ่งที่หาเงินได้ปีละ 50,000 เหรียญ (ถือว่าไม่มากในอเมริกา) แต่กลับเก็บเงินได้เยอะมาก
4
“ความแตกต่างมาจากการใช้จ่ายทั้งสิ้น”
“หาเงินได้เท่าไหร่ไม่ได้บ่งบอกว่าคุณจะมีเงินเหลือเท่าไหร่ และมีเงินเท่าไหร่ก็ไม่ได้บ่งบอกว่าคุณจำเป็นต้องใช้เงินเท่าไหร่ อย่าเป็นคนที่ไม่ใช้เงินเลยหรือตระหนี่ขี้เหนียว แต่เรียนรู้ที่จะอยู่ด้วยเงินที่ไม่ต้องมากคือวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการควบคุมอนาคตการเงินของตัวเองในอนาคต”
2
10. “ไม่ต้องเชื่อพ่อหากลูกไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่พ่อเขียน” เพราะไม่ว่ายังไงทุกคนบนโลกใบนี้ก็จะมีความคิดที่แตกต่างกันออกไป เฮาเซิลเน้นย้ำว่าเราทุกคนนั้นเกิดมามีสภาพแวดล้อม ช่วงเวลา และโอกาสที่แตกต่างกัน “ลูกเองก็จะมีโอกาสที่แตกต่างจากที่พ่อมี”
การเรียนรู้ที่ดีที่สุดเกิดขึ้นตอนที่เราไม่เห็นด้วยกับบางเรื่องแล้วลงมือทำด้วยตัวเอง
#aomMONEY #MorganHousel #มอร์แกนเฮาเซิล #ThePsychologyofMoney #จิตวิทยาว่าด้วยเงิน #บทเรียนการเงิน
โฆษณา