5 ก.ย. 2023 เวลา 09:12 • การศึกษา

ละเมิดคือ?ละเมิดมีกี่แบบ?ที่มาเป็นไงและเมื่อเจอละเมิดต้องทำอย่างไร?

สวัสดีครับท่านผู้อ่านกลับมาพบกันอีกแล้วนะครับ ทางเพจpublic law caseวันทางเพจจะพาทุกท่านมาทำความรู้จัก ว่าละเมิดคืออะไร?เพราะเป็นสิ่งที่หลายคนน่าจะพบเจอกันไม่มากก็น้อยครับ
หากเราย้อนไปดูในประวัติศาสตร์กฎหมายไทยจะพบว่าละเมิดในสมัยก่อนไม่ได้เหมือนอย่างที่เราเข้าใจกันแบบในปัจจุบันที่ว่า ละเมิดเป็นเรื่องของทางแพ่งของกฎหมายแพ่งเป็นเรื่องเอกชนอย่างเดียวเพียงเท่านั้น
เพราะละเมิดในระบบกฎหมายโบราณของไทยจะเป็นทั้งทางแพ่งและทางอาญายังมิได้มีการแยกกฎหมายละเมิดออกเป็นเพียงกฎหมายแพ่งอย่างเดียวแบบในปัจจุบันโดยที่ในสมัยก่อนผู้ที่ได้รับความเสียหายก็จะใช้วิธีการ
ตอบโต้กันเองจนรุนแรงอย่างไร้ขอบเขตโดยอยู่บนฐานคิดของหลักการแก้แค้นในประมวลกฎหมายฮัมบูราบีที่สื่อถึงแนวคิดของกฎหมายโบราณอย่างชัดเจนคือแนวคิด
 
ตาต่อตาฟันต่อฟัน
แปลไทยเป็นไทยสรุปความง่ายๆถ้านายเอทำลูกของนายบีตาย ลูกของนายบีก็ต้องตายเพื่อชดใช้แก่นายเอ ครับ
ขอเสริมเกร็ดทางประวัติศาสตร์เพิ่มเติมครับว่าก่อนที่ประเทศไทยจะมีแยกละเมิดแพ่งออกมานั้นกรมราชบุรีดิเรกฤทธิ์ซึ่งทรงเป็นพระบิดาแห่งกฎหมายไทยได้เคยทรงอยากให้ใช้คำว่า
 
ประทุษร้ายทางแพ่งแทนละเมิดแพ่งซึ่งเป็นคำที่สื่อความได้อย่างชัดเจนและและมีความไพเราะทางภาษาเช่นกัน
ครับส่วนในกฎหมายละเมิดในปัจจุบันนั้นได้มีการบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิดตามมาตรา420ว่า
 
ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้ได้รับความเสียหายแก่ชีวิตร่างกายอนามัยเสรีภาพหรือทรัพ์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
แปลไทยเป็นไทยจากหลักกฎหมายดังกล่าวแบบง่ายๆครับว่า
ผู้ใดก็คือบุคคลก็คือคนซึ่งบุคคลทางกฎหมายจะมีอยู่2จำพวกก็คือคนทั่วไปและนิติบุคคล(บุคคลที่กฎหมานสมมุติขึ้นให้มีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย)ไปทำการสร้างความเสียหายต่อบุคคลอื่น
ทั้งมิติ ชีวิต ร่างกาย อนามัย และอื่นๆไม่ว่าจะเสรีภาพหรือทรัพย์สินของคนอื่นนะครับ
ตัวอย่าง นายซีขับรถไปชนกระถางนายดี เช่นนี้ถือว่านายซีมีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อทรัพย์สินของนายดีที่เสียหายไป
โดยในการชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนนั้นศาลจะมีหลักการทางกฎหมายเป็นหลักกฎหมายอยู่ว่า
 
ศาลจะพิจารณาผ่าพฤตการณ์(แปลไทยเป็นไทยง่ายๆว่าการกระทำ) และความร้ายแรงของละเมิดที่เกิดขึ้นครับ
ทั้งนี้ในกรณีละเมิดบางครั้งก็อาจจะไปทับซ้อนกับทางอาญาผู้เสียหายจึงสามารถฟ้องเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาได้อีกเช่นกันครับ
และนี่ก็เป็นหลักเกี่ยวกับกฎหมายละเมิดในมิติของทางแพ่งหรือทางเอกชนกล่าวคือในระหว่างประชาชนคนทั่วไปแบบเราๆที่ผมนำมาเล่าในEp.นี้และในครั้งหน้าๆอาจจะมีการขยายหลักกฎหมายละเมิดในทางแพ่งมากขึ้นกว่านี้ หรืออาจจะนำหลักกฎหมายละเมิดทางปกครองตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่มาเล่ารอติดตามกันได้เลยครับสำหรับวันนี้
สวัสดีครับ
เอกสารอ้าง
 
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
 
https://www.thethaibar.or.th/thaibarweb/files/Data_web/dowloads_doc/term1/salaiket/s.pdf เอกสารประกอบคำบรรยายเนติบัณฑิตเรื่องละเมิด
โฆษณา