8 ก.ย. 2023 เวลา 00:01 • ท่องเที่ยว

วึดปทุมวนาราม ราขวรวิหาร (2) .. พระอุโบสถ

วัดปทุมวนาราม สถาปนาขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2400 และฉลองพระอารามในปี พ.ศ. 2410 .. เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร
ตั้งอยู่ในแขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร .. เป็นวัดกลางเมือง ตั้งอยู่ระหว่างศูนย์การค้า 2 แห่ง คือสยามพารากอน และเซ็นทรัลเวิลด์ และเป็นจุดแบ่งระหว่างย่านการค้าใจกลางเมือง 2 แห่ง คือย่านสยาม และย่านราชประสงค์
พระอุโบสถของวัดปทุมวนาราม ..เป็นอาคารหลังเล็กๆ ตามขนบที่นิยมในสมัยอยุธยา ที่จะทำพระอุโบสถเล็กกว่าพระวิหาร
หน้าบันเป็นรูป มงกุฎนารี (มงกุฏที่มีกระบังหน้า) เพื่อเทิดพระเกียรติ พระนางเจ้ารำเพย พระเทพศิรินทรามาศ พระมเหสี .. ด้านล่างตกแต่งด้วยรูปกอบัว
ล้อมรอบด้วยเสมาที่ผสมผสาน ทั้งเสมาแบบหลักที่กำแพงแก้ว มหาเสมา และใบเสมาบนเสาพระอุโบสถ ขัณฑเสมา
“พระสายน์” พระประธานในพระอุโบสถวัดปทุมวนาราม .. เป็นพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาจากเมืองมหาไชย แขวงล้านช้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดนี้
พระสายน์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ .. มีตำนานเล่าลือว่ามีฤทธิ์บันดาลฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล และเป็นพระพุทธรูโบราณที่ยึดเหนี่ยวจิตใจชาวลาวที่อาศัยอยู่ในทุ่งปทุมวัน ซึ่งทำนาเป็นอาชีพในสมัยก่อน
.. ดังความในตำนานพระสายน์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ซึ่งจารึกเป็นพระคาถาอักษรขอม ภาษามคธ บนแผ่นไม้ด้านหลังซุ้มเรือนแก้วที่ประดิษฐานพระสายน์ ความว่า ..
“... จะเป็นเพราะเหตุใดพระพุทธปฏิมานี้ จึงได้นามว่า สายน์ นั้นไม่มีใครทราบ .. ก็เพียงแต่ทราบว่า กิตติศัพท์ที่เล่าลือกันว่า ท่านมีฤทธิ์มากเท่าใด เมื่อได้เกิดฝนตก หรือฝนแล้ง เขาก็จะอัญเชิญท่านออกมาบูชากัน ณ ที่ที่สะอาด กลางแจ้ง แล้วก็ขอฝน ฝนก็หลั่งลงมายังข้าวกล้าให้สมบูรณ์ ทำให้ไพร่ฟ้าประชากรประสบความสำเร็จได้ ชนส่วนมากรู้จักพระพุทธปฏิมานี่ โดยกิตติศัพท์ที่เขาเล่าลือกันเพียงเท่านี้ เมื่อเกิดมีฝนแล้งขึ้น เขาก็บูชาท่านเพื่อขอฝน ..”
การอัญเชิญพระสายน์และพระแสน มาประดิษฐานที่วัดปทุมวนารามนั้น ปรากฏหลักฐานนพรพราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรณ์ว่า
.. ครั้งน ณ วันอังคาร เดือนอ้าย ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะเส็ง จ.ศ. 1219 (พ.ศ. 2400) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค แห่ขึ้นไปรับพระสายน์และพนะแสน ณ วัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี มาประดิษฐานที่วัดปทุมวนาราม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการฉลองสมโภช
ที่มา : สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 2554 ปทุมวนานุสรณ์ กรุงเทพ ฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง
บานประตู .. ลวดลายเป็นภาพการทำไร่ ทำนาในท้องทุ่งปทุมวัน ในสมัยก่อน โดยยังคงธีมหลัก คือ มีสวนดอกบัวเป็นส่วนประกอบในภาพ
จิตรกรรมฝาผนังวัดปทุมวนาราม บอกเล่าเรื่องราวสวรรค์ของพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
… ซึ่งจะประกอบด้วยสระน้ำ 4 สระ ได้แก่ นนทวัน ปารุสกวัน จิตรลาวัน มิกกวัน วาดเป็นภาพสระบัว มีเรืออยู่กลางสระ รอบๆ มีวิมานเทวดาอยู่
ด้านซ้ายของพระประธาน คือ สวนจิตรลาวัน และปารุสกวัน .. มีพลับพลาที่ประทับของกษัตริย์ มองเห็นท่อนซุงเป็นเขื่อนไม่ให้ดินพังทลายลงมา
ด้านขวา มีสวน นนทวัน และสวนมิกกวัน
ด้านหลังพระประธาน .. มีสระโบกขรณี มีช้างเอราวัณ ภาพดอกบัวขนาดใหญ่ ซึ่งมีนางอัปสร 7 นางอยู่ข้างใน
ในสระมีเรือปิดทอง 2 ลำ .. เรือทอง และเรือแก้ว เป็นเรือทิพย์ที่แล่นไปเอง
ภาพจิตรกรรมด้านบนของผนังพระอุโบสถ .. มอวดูคล้ายกับการเขียนภาพของวัดและอาคารบ้านเรือนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา .. มีเส้นสายแสดงรายละเอียดของการใช้วัสดุกั้นด้นริมฝั่งแม่น้ำ เพื่อไม่ให้ดินพังลงมาด้วย
..ให้ฟิลลิ่ง เหมือนตอนที่เรานั่งเรือด่วนเจ้าพระยา แล้วมองไปที่เขื่อนกั้นดิน
ผนังระหว่างหน้าต่าง เขียนภาพกิจวัตรของสงฆ์ เช่น ต้องทำวัตร ต้องศึกษาพระธรรม และอาณิสงค์ของการปฏิบัติธรรม
.. น่าเสียดายที่ของเดิมมีระบุเนื้อหา แต่ปัจจุบันลบเลือนไปเกือบหมดแล้ว
พระเจดีย์
ระหว่างพระวิหารและพระอุโบสถก็ยังมีพระเจดีย์ .. ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองทำด้วยหินอ่อน และพระพุทธไสยาสน์หินอ่อนซึ่งได้มาจากลังกาอีกด้วย
พระเจดีย์ .. เป็นเจดีย์ทรงลังกา ซึ่งสะท้อนการรับอิทธิพลของลังกามาตั้งแต่ครั้งโบราณ ประดับด้วยดอกบัว อันเป็นคอนเซ็ปหลักที่เหนียวแน่นในการออกแบบตกแต่ง ประดับภายในวัดแห่งนี้
1
.. มองเห็นซุ้มเหมือนหัวนก แต่ความจริง เป็นกลับบัวซ้อนๆกัน
.. สิงโต เพื่อระบายน้ำ
ตึกอ้น ชูเกศ .. สร้างแนบกับหอกลอง
ส่วนฝั่งตรงข้าม เป็นอาคาร ห้องประทับรับรองราชวงศ์
กุฎิของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต .. ตั้งอยู่ในหมู่กุฏิด้านใน จึงเกิดความสงสัยว่า ทำไมท่านจึงจำพรรษาที่วัดนี้ และพบคำตอบว่า ท่านเป็นสหธรรมิกกับพระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญโญ) [อดีตเจ้าอาวาสวัดปทุมวนารามรูปหนึ่ง]
วัดปทุมวนารามเป็นวัดเดียวในจังหวัดกรุงเทพมหานครที่จัดประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ประเพณีเก่าแก่ของชาวลาวซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงเทศกาลออกพรรษา โดยจะแห่ปราสาทผึ้งรอบพระอุโบสถ พระเจดีย์ พระวิหาร 3 รอบ
หากใครที่เข้ามาชมวัดตรงบริเวณนี้แล้วยังคิดว่าวัดปทุมฯ ยังสงบไม่พอ ก็ต้องไปที่ "สวนป่าพระราชศรัทธา" ซึ่งตั้งอยู่บริเวณด้านหลังวัด
ที่เรียกว่าสวนป่าก็เนื่องจากว่า บรรยากาศในแถบนี้ร่มครึ้มเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น
มี "ศาลาพระราชศรัทธา" ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุให้ผู้ที่ศรัทธามากราบไหว้ รวมทั้งศาลานี้ยังเปิดให้ประชาชนเข้าไปนั่งสมาธิ และฟังธรรมได้ โดยจะมีเทปธรรมะเปิดให้ฟังตลอดทั้งวันอีกด้วย หรือหากใครต้องการเดินจงกรมก็สามารถทำได้เช่นกัน
โฆษณา