9 ก.ย. 2023 เวลา 04:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

หลอดกระดาษอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมกว่าที่คิด

หลอดกระดาษอาจส่งผลเสีย
ต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมกว่าที่คิด
(เรียบเรียงโดย ณัฐนันท์ รัตนชื่อสกุล)
7
เมื่อเร็วๆนี้ได้มีนักวิจัยออกมาเปิดเผยว่า หลอดกระดาษรักษ์โลกที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันนั้น อาจจะไม่ได้ดีไปกว่าหลอดพลาสติกที่เราใช้กันมาช้านานเลย มิหนำซ้ำ อาจจะก่ออันตรายต่อสุขภาพของเราได้อีกด้วย โดยงานวิจัยดังกล่าวได้ทำการศึกษาและตรวจสอบปริมาณสารพิษจากหลอดทั้งหมด 39 ยี่ห้อในท้องตลาด ที่ผลิตจากวัสดุที่แตกต่างกัน 5 ชนิดคือ กระดาษ เยื่อไผ่ แก้ว พลาสติก และ สเตนเลส
4
ผลการศึกษาพบว่า ตรวจพบสารพิษตระกูล Perfluoroalkyl และ Polyfluoroalkyl (PFAS) ในหลอดทุกประเภทยกเว้น หลอดที่ทำจากเหล็กสเตนเลสเท่านั้น
3
PFAS เป็นกลุ่มสารเคมีที่ประกอบด้วยคาร์บอนและฟลูออรีนซึ่งมีความเสถียรสูงและคงอยู่ในสภาพแวดล้อมเป็นเวลานาน หรือรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งคือ “สารเคมีตลอดกาล (forever chemicals)” สารในกลุ่มนี้อยู่ในของใช้ในชีวิตประจำวันของเรามากมาย เช่น บรรจุภัณฑ์อาหาร เสื้อผ้า กระทะแบบเคลือบ และแน่นอนรวมถึงหลอดกระดาษด้วย เนื่องด้วยคุณสมบัติอันโดดเด่นของมัน คือ ความเสถียรทั้งทางความร้อนและทางเคมี ทำให้มันถูกใช้เป็นวัสดุเคลือบกันน้ำ และกันไฟได้ สารเหล่านี้จึงสะสม และตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานานหลักพันปี
4
โครงสร้างสาร PFAS ที่มา : englewoodco.gov
อย่างไรก็ตาม มนุษย์เรามักได้รับสารดังกล่าวผ่านการรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม ทำให้การใช้บรรจุภัณฑ์อาหารที่มีการเคลือบด้วย PFAS เป็นตัวการสำคัญที่เราต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนำอาหารประเภทไขมันสูงที่ยังร้อนอยู่สัมผัสกับภาชนะดังกล่าวเป็นระยะเวลานาน จะทำให้สาร PFAS ไปสะสมอยู่ในอาหารได้ง่ายยิ่งขึ้น
5
การได้รับสารกลุ่มนี้จะส่งผลเสียต่อสุขภาพหลายประการ เช่น โรคมะเร็ง โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน คอเลสเตอรอลสูงโรคไทรอยด์ และโรคตับ เป็นต้น
1
นอกจากนี้ยังมีรายงานในปี ค.ศ. 2021 ถึงการตรวจพบสารกลุ่มนี้ในน้ำนมแม่แล้วซึ่งมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกและมากขึ้นทุกๆปี แสดงให้เห็นว่าสาร PFAS ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายได้สะสมอยู่ในร่างกายของคนเรา แม้ว่าภาคอุตสาหกรรมและผู้ผลิตเคมีภัณฑ์จะยืนยันเสมอมาว่าสาร PFAS จะไม่สะสมอยู่ในร่างกายและแม้ว่าสารกลุ่มนี้บางชนิดจะโดนแบนไปแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 2020 แต่ก็ยังมีอีกหลายชนิดที่ละลายน้ำได้ดีและปนเปื้อนออกจากหลอดลงในเครื่องดื่มของเราได้
2
การตรวจพบสาร PFAS ในหลอดกระดาษนั้น ทำให้เราต้องเปลี่ยนความเชื่อที่ว่าหลอดกระดาษนั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเสียใหม่ โดยจากการศึกษาหลอดกระดาษทั้งหมด 20 ยี่ห้อ พบว่ามีสาร PFAS ปนเปื้อนอยู่ถึง 18 ยี่ห้อ (90%) ในขณะที่หลอดจากเยื่อไผ่ซึ่งเป็นที่นิยมในหลายพื้นที่เช่นกัน ก็ตรวจพบสารดังกล่าวถึง 4 ใน 5 ยี่ห้อ(80%)เลยทีเดียว นอกจากนี้หลอดพลาสติกทั่วไปพบอยู่ที่ 3 ใน 4 ยี่ห้อ (75%) และหลอดแก้วพบอยู่เพียง2 ใน 5 ยี่ห้อ (40%) แต่ที่น่าสนใจคือ ตรวจไม่พบสาร PFAS ในหลอดที่ทำจากเหล็กสเตนเลสทั้ง 5 ยี่ห้อเลย
6
งานวิจัยนี้อาจทำให้หลายภาคส่วนต้องกลับมาทบทวนการใช้หลอดกระดาษอีกครั้ง รวมทั้งส่วนของนักวิจัยที่อาจต้องเก็บข้อมูลถึงผลดีผลเสียเพิ่มเติมในอนาคต
2
โฆษณา