Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กฎหมายบริษัทและหลักทรัพย์
•
ติดตาม
11 ก.ย. 2023 เวลา 00:17 • หุ้น & เศรษฐกิจ
บริษัทผิดนัดหุ้นกู้ กรรมการและผู้บริหารอาจต้องรับผิดอาญา
อมูลจากสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ณ 31 ส.ค. 2566 พบว่า มีหุ้นกู้ที่มีการผิดนัดชำระหนี้แล้วทั้งหมด 23 รุ่น มูลค่ากว่า 19,039 ล้านบาท ออกโดย 7 บริษัท และก็คงจะมีบริษัทอื่น ๆ ที่ไม่สามารถชำระหนี้หุ้นกู้ได้ติดตามมาอีก
อย่างกรณีของ บมจ.เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป (JKN) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ว่า ตามที่หุ้นกู้ของบริษัทครั้งที่ 2/2563 ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2566 (หุ้นกู้ JKN239A) ถึงวันครบกำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ในวันที่ 1 ก.ย. 2566 จำนวนเงินต้นและดอกเบี้ยทั้งสิ้น 609,981,369.86 บาท
อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่สามารถ ชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ในวันครบกำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ดังกล่าวได้ โดยบริษัทจะชำระเงินต้นบางส่วนจำนวน 146,618,630.14 บาท และดอกเบี้ยจำนวน 9,981,369.86 บาท รวม 156,600,000 บาท ในวันครบกำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ (1 ก.ย.2566)
เมื่อเกิดปัญหาทางด้านการเงินขึ้นมา นักการเงินทั้งหลายก็คงต้องแก้ไขกันไป ส่วนทางกฎหมาย ก็มีผู้รู้ออกมาแนะนำขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนดเช่น ต้องไปหาผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ต้องให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้นัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้ อะไรทำนองนี้
แต่จะมีใครรู้บ้างไหมว่า การผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้นั้นก็อาจจะเป็นความผิดทางอาญาได้เช่นกัน????
ในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ 2535 มาตรา 89/7 บัญญัติว่า
“ในการดำเนินกิจการของบริษัท กรรมการและผู้บริหารต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับของบริษัท และมติคณะกรรมการ ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น”
มาตรา 89/8 บัญญัติว่า
“ในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบและความระมัดระวัง กรรมการและผู้บริหารต้องกระทำเยี่ยงวิญญูชนผู้ประกอบธุรกิจเช่นนั้นจะพึงกระทำภายใต้สถานการณ์อย่างเดียวกัน
การใดที่กรรมการหรือผู้บริหารพิสูจน์ได้ว่า ณ เวลาที่พิจารณาเรื่องดังกล่าว การตัดสินใจของตนมีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ ให้ถือว่ากรรมการหรือผู้บริหารผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบและความระมัดระวังตามวรรคหนึ่งแล้ว
(1) การตัดสินใจได้กระทำไปด้วยความเชื่อโดยสุจริตและสมเหตุสมผลว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทเป็นสำคัญ
(2) การตัดสินใจได้กระทำบนพื้นฐานข้อมูลที่เชื่อโดยสุจริตว่าเพียงพอ และ
(3) การตัดสินใจได้กระทำไปโดยตนไม่มีส่วนได้เสีย ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในเรื่องที่ตัดสินใจนั้น”
ถ้าไม่ได้บริหารกิจการของบริษัทด้วยความระมัดระวังดังกล่าว ก็จะต้องระวางโทษตามกฎหมาย ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 281/2 ว่า
“กรรมการหรือผู้บริหารบริษัทผู้ใดไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต ตามมาตรา 89/7 จนเป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหายหรือทำให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์จากการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ต้องระวางโทษปรับไม่เกินจำนวนค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหรือประโยชน์ที่ได้รับ แต่ทั้งนี้ ค่าปรับดังกล่าวต้องไม่ต่ำกว่าห้าแสนบาท
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งได้กระทำโดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหรือประโยชน์ที่ได้รับ แต่ทั้งนี้ ค่าปรับดังกล่าวต้องไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ในกรณีของ JKN รายการ “เจาะลึกทั่วไทย Insight Thailand” เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566 ได้รายงานถึงความผิดปกติของงบการเงินของบริษัท JKN ว่า ตั้งแต่ปี 2562 ถึง 2565 บริษัทมีรายได้นับพันล้านทุกปี กำไรทุกปี แต่กระแสเงินสดของบริษัทกลับติดลบเป็นจำนวนสูงขึ้นทุกปี ลูกหนี้การค้าที่ค้างชำระเกิน 1 ปีก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ
ปี 2564 มีลูกหนี้เป็นจำนวน 1.01 ล้านบาท
ปี 2565 มีลูกหนี้เป็นจำนวน 99.38 ล้านบาท
และในครึ่งปีแรกของปี 2566 ก็มีลูกหนี้เป็นจำนวนไปแล้ว 200.32 ล้านบาท
(รายละเอียดไปดูได้ที่
https://www.youtube.com/watch?v=9thHzXN87Eo
)
แต่เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2565 JKN ก็เพิ่งประกาศเข้าซื้อ Miss Universe คว้าลิขสิทธิ์ 100% รวมมูลค่าทั้งสิ้นไม่เกิน 14 ล้านเหรียญสหรัฐ (ไม่เกิน 550 ล้านบาท) พร้อมต่อยอดลิขสิทธิ์แบรนด์ Miss Universe ขับเคลื่อนการเติบโตให้แก่กลุ่มธุรกิจ Commerce และผลักดัน JKN สู่การเป็น Global Content Commerce Company
ทำให้น่าสงสัยว่า บริษัทไม่รู้เลยหรือว่าบริษัทจะไม่มีเงินสด เพราะบัญชีลูกหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ความจริงในงบกระแสเงินสดของแต่ละไตรมาสตั้งแต่ต้นปีก็น่าจะเห็นอยู่แล้วว่ามีปัญหา ทำไมปล่อยให้มีการใช้เงินทำธุรกิจอย่างเกินตัว?
การกระทำเช่นนี้ถือว่า เป็นการกระทำที่เป็น การตัดสินใจได้กระทำไปด้วยความเชื่อโดยสุจริตและสมเหตุสมผลว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทเป็นสำคัญ" และ “การตัดสินใจได้กระทำบนพื้นฐานข้อมูลที่เชื่อโดยสุจริตว่าเพียงพอ” ตามกฎหมายหรือไม่?
ถ้าข้อเท็จจริงปรากฎว่า กรรมการและผู้บริหารที่รับรองงบการเงินทุกไตรมาสไม่ได้ทำหน้าที่อย่างดีพอ บุคคลเหล่านี้ก็ต้องรับโทษทางอาญาตามที่กล่าวมาด้วย
เพราะฉะนั้น อย่าเข้าใจว่าผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้จะเป็นแค่ความผิดพลาดทางการเงินที่กรรมการและผู้บริหารจะไม่ต้องรับผิดชอบ
ขอบคุณภาพประกอบจาก Investopedia
หุ้น
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย