11 ก.ย. 2023 เวลา 00:20 • ความคิดเห็น
ข้าวขาหมูุ ถ้ามีกรดยูริกในเลือดสูง 😵
กรดยูริก
ทำให้เส้นเลือดหดตัว เลือดไปเลี้ยงประสาทหูและอวัยวะทรงตัวได้น้อย อาจส่งผลทำให้มีปัญหาหูอื้อ เสียงดังในหู บ้านหมุน เสียการทรงตัว หรือ ที่ร้ายแรงคือเสี่ยง โรคเกาต์ นิ่ว ไตอักเสบ
1
กรดยูริกร่างกายสร้างเองประมาณร้อยละ 80 ได้มาจากอาหารที่รับประทาน ร้อยละ 20 และสามารถขับออกได้ทางปัสสาวะ และ อุจจาระ การที่กรดยูริกในเลือดสูง นั้นเกิดจากร่างกายมีการสร้างกรดยูริกมากกว่าปกติ หรือรับประทานอาหารที่มีสาร “พิวรีน”สูงสารนี้จะเปลี่ยนเป็นกรดยูริกในเลือด ทำให้มีระดับกรดยูริกในเลือดสูงผิดปกติ
ห้าม! อาหารที่มีพิวรีนสูง (พิวรีน>150มก./อาหาร100g)
ขนมปังที่มีเนย หรือไขมันสูง ใส่เชื้อยีสต์
เครื่องในสัตว์
🍗เนื้อสัตว์ปีก
ปลา (แอนโชวี่ แมคเคอเรล กระตัก ดุก ซาร์ดีน ไส้ตัน) ไข่ปลา กุ้ง หอย
ซุป น้ำเกรวี่ น้ำต้มกระดูก น้ำที่สกัดจากเนื้อสัตว์
ยอดผักบางชนิด ( กระถิน ชะอม ฟักแม้ว ฟักทอง ตำลึง ) เห็ด อโวคาโด้
เครื่องปรุงบางชนิด (กะปิ น้ำปลา ซุปก้อน)
🥩 ลด อาหารที่มีพิวรีนปานกลาง (ปริมาณพิวรีน 50-150 มก. / อาหาร 100g)
ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี ธัญพืช รำข้าว ข้าวที่ไม่ขัดสี
เนื้อหมู เนื้อวัว แฮม เนื้ออกไก่
ปลา ( กะพงแดง แซลมอน ปลาทูน่า ) ปู ปลาหมึก
ผักบางชนิด (ขี้เหล็ก สะตอ ผักโขม หน่อไม้)
เครื่องปรุงบางชนิด (เกลือ พริก มายองเนส น้ำซอส)
 
🥔 กิน อาหารที่มีพิวรีนต่ำ (ปริมาณพิวรีน 0-50 มก. / อาหาร 100g)
ข้าวไม่ขัดขาว ก๋วยเตี๋ยว พาสต้า มันฝรั่ง
เนื้อแกะ ไข่ นม และ ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ
เนยถั่วลิสง เมล็ดเกาลัด
น้ำซุปผัก ดอกกะหล่ำ ธัญพืช ผลไม้เปลือกแข็ง
🍺 หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ และน้ำตาล
แอลกอฮอล์ มีพิวรีนในปริมาณไม่มาก แต่กระบวนการเผาผลาญแอลกอฮอล์ของร่างกายทำให้เกิดกรดยูริคสูงขึ้น น้ำตาล โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุตโตส หรือ น้ำตาลผลไม้ ก็เช่นกัน
การมีกรดยูริกสะสมในร่างกายปริมาณมาก เป็นเวลานานจะทำให้เกิดภาวะไตเสื่อม โรคความดันโลหิตสูง ทั้งยังนำไปสู่โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดสมอง และเสี่ยงต่ออัมพฤกษ์ อัมพาต นอกจากนั้นผู้ป่วยชายที่ป่วยเป็นโรคไตวายจนต้องได้รับการรักษาด้วยการฟอกไต ส่วนหนึ่งเกิดจากการเป็นโรคเกาต์หรือมีภาวะกรดยูริกในเลือดสูงมาก่อน ผู้ป่วยหญิงที่ฟอกไตส่วนใหญ่เกิดจากการเป็นโรคเบาหวาน
📌
โฆษณา