11 ก.ย. 2023 เวลา 06:22 • ท่องเที่ยว

วัดอนงคาราม วรวิหาร .. ชมพระแก้วขาว พระพุทธรูปที่มีตำนานคู่มากับวัด

วัดอนงคารามวรวิหาร พระอารามหลวง เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท สังกัดมหานิกายตั้งอยู่ ณ ถนนสมเด็จเจ้าพระยา แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร
วัดอนงคาราม วรวิหาร เป็นวัดที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น .. มีชื่อเดิมคือวัดน้อยขำแถม มาจากชื่อท่านผู้หญิงน้อย ซึ่งเป็นภรรยาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค) หรือสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย สร้างขึ้นคู่กับวัดวัดพิชัยญาต
แล้วถวายเป็นพระอารามหลวงในรัชกาลที่ 3 ... ส่วนคำว่าขำแถมนั้นมีเพิ่มเติมมาจากนามเดิมของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ) ซึ่งเป็นผู้ปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ ต่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ 4 วัดนี้ก็ได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่า “วัดอนงคาราม” อย่างในปัจจุบัน
ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมที่สำคัญ คือ พระอุโบสถ ซึ่งประดับลายปูนปั้นที่หน้าบันและซุ้มประตูหน้าต่าง เป็นลายปูนปั้นที่ยกย่องกันว่างดงามมากเช่นเดียวกันกับซุ้มประตูหน้าต่างพระวิหาร
พระอุโบสถที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 .. เป็นอาคารทรงไทย ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ช่อฟ้า ใบระกาลงรักประดับกระจก หน้าบันและซุ้มประตูหน้าต่างก็มีลวดลายลงรักปิดทองสวยงาม
พระพุทธรูปสำคัญ คือ “พระพุทธจุลนาค” หล่อด้วยโลหะปิดทอง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยปางมารวิชัย เป็นพระประธานในพระวิหาร ..
มีพระพุทธรูปพระสาวกหล่อด้วยโลหะปิดทองยืนอยู่ด้านซ้ายขวา อีกทั้งด้านหน้าพระประธานยังมีพระพุทธมังคโล ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องปางสมาธิตั้งอยู่ด้านหน้าอีกด้วย
ใกล้ ๆ กับพระวิหารนั้นก็ยังมีพระมณฑปซึ่งสร้างขนาบกับพระวิหาร หลังที่อยู่ด้านทิศตะวันออกประดิษฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ที่จำลองมาจากวัดราชาธิวาส และหลังที่อยู่ด้านทิศตะวันตกประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองเอาไว้
ศิลปวัตถุงดงามประจำวัดอนงคารามชิ้นหนึ่งคือ ตู้พระไตรปิฎก เป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนปลาย เขียนลายทองเป็นรูปขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคและชลมารค บานประตูด้านหน้าเขียนเป็นเรื่องพระมโหสถตอนข้าศึกมาล้อมเมือง
บานหน้าต่าบงของพระอุโบสถ .. สวยงามด้วยลายรดน้ำ ทั้วเทพแบบไทยและจีน
จิตรกรรมบนบานหน้าต่งางของวัด ..ด้านนอกเป็นลายรดน้ำ ส่วนด้านในเป็นภาพเทพ
ด้านลีางของบานหน้าต่าง .. มีภาพวาด บทกลอนสอนใจที่เีาตชคุ้นเคยกันดี เช่น ตาบอดได้แว่น
พระวิหารวัดอนงคาคราม
พรุประธาน ในพระวิหาร
พระพุทธรูปด้านหลังของพระประธาน
จิตรกรรมบนประตู และหน้าต่าง .. เป็นขาดกเรื่อง พระเวสสันดร
ที่น่าสนใจอื่นๆ ได้แก่ กุฏิสงฆ์ชึ่งออกแบบตัวเรือนและรั้วไว้อย่างสวยงาม
วัดอนงคาราม บนชั้นสอง เป็นห้องสมุดประชาชนภายในวัดนั้น และเป็นที่ตั้งของ "พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขตคลองสาน" ซึ่งในพิพิธภัณฑ์นั้นมีการจัดแสดงนิทรรศการเรื่องราวความเป็นมาเป็นไปต่างๆ ในเขตคลองสาน ทั้งเรื่องของวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวคลองสานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
พระแก้วขาว วัดอนงคาราม
พระแก้วขาว วัดอนงคาราม พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ทำจากแก้ววิเศษที่เปลี่ยนสีได้ตามแต่แสงที่มากระทบ วัดอนงคารามเปิดให้สักการะบูชาได้เพียงปีละ 2 วัน คือวันขึ้นปีใหม่ และวันเข้าพรรษา
1
พระแก้วขาว พระแก้ววิเศษที่มองต่างสี ต่างกันตามเวลาและการหักเหของแสง พระหน้าตักกว้างประมาณ 12 นิ้ว สูงประมาณ 15-18 นิ้ว ประดิษฐานอยู่ในซุ้มบุษบก บนชั้น 3 กุฏิสมเด็จ คณะ 2 เป็นพระพุทธรูปคู่บารมีของ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทธสรมหาเถร)
ตำนานความเป็นมาของพระแก้วขาว เกิดขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 วันหนึ่ง ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทธสรมหาเถร) ยังเป็นพระอันดับ วันนั้นท่านออกไปกิจนิมนต์นอกวัด มีชายชรานุ่งขาวห่มขาว นำพระพุทธรูปปูนปั้นมาฝากไว้กับศิษย์ของท่านซึ่งเฝ้ากุฏิอยู่
พอท่านกลับจากกิจนิมนต์ ศิษย์ได้กราบเรียนให้ท่านทราบ ท่านให้ตั้งของห่อนั้นไว้ที่โต๊ะรับแขก ของในห่อมีลักษณะเป็นปูนพอกทับไว้ด้านนอก เมื่อยังไม่มีคนมารับก็วางหาอไว้เข่นนั้นรอคนมารับคืน
เวลาผ่านไปปูนที่พอกหุ้มไว้ได้กะเทาะออกมองเห็นเนื้อแก้วภายใน ท่านเจ้าประคุณจึงนพระแก้วำขึ้นในที่อันควร เรื่องที่ท่านเจ้าคุณสมเด็จฯได้รับพระแก้วมานั้นเลื่องลือไปถึงผู้คนมากมาย
ต่อมาหลังจากนั้นท่านเจ้าคุณสมเด็จฯ ไปทำบุญสร้างโบสถ์ที่วัดโคกเข็ม จังหวัดชัยนาท ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน ในคราวทำบุญนั้นได้พบพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ทรงเอ่ยปากขอพระแก้วนำไปประดิษฐานที่วังของท่าน
เจ้าประคุณสมเด็จฯ รับปากว่าจะยกพระแก้วให้ แต่ยังไม่ทันที่กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ จะนำไปบูชาก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน แต่ก่อนสิ้นพระชนม์ท่านได้ออกปากประทานแก่พระโอรสผู้เป็นทายาทรับพระแก้วแทนพระองค์ท่าน แต่ปรากฏว่าพระโอรสผู้ทายาทก็มาสิ้นพระชนม์ไปก่อนเช่นเดียวกัน จึงทำให้ไม่มีผู้ใดกล้ามาขอรับพระแก้วไปบูชาอีก
ด้วยเชื่อกันว่าผู้ครอบครองพระแก้วนั้นขึ้นอยู่กับบุญบารมี ตำนานนี้ยังกล่าวถึงความศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนจำนวนมากเดินทางมาขอพรท่านและสำเร็จสมหวัง การได้ไปกราบพระแก้ววัดอนงค์จึงถือเป็นโชคดีและมีวาสนา
อาคารที่ประดิษบานพระแก้วขาว ยังมีโบราณวัตถุที่ล้ำค่าอีกมากมาย ..
อาจจะเป็นเหตุผลเรื่องความปลอดภัย และทุนทรัพย์ในการรักษาความปลอดภัยของทรัพย์สินที่ล้ำค่าเหล่านี้ ทางวัดจึงจัดให้เยี่ยมชมได้แค่ปีละ 2 ครั้งเท่านั้น
โฆษณา