Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Cashury
•
ติดตาม
13 ก.ย. 2023 เวลา 11:00 • ธุรกิจ
เรื่องที่เราควรรู้ เกี่ยวกับ “ภาษีมรดก”
คงจะมีหลายคนที่รู้สึกว่า “ภาษีมรดก” เป็นเรื่องที่ไกลตัวและส่วนใหญ่มักจะมองข้ามไป แต่หากรู้ไว้สักนิดและวางแผนล่วงหน้าไว้ก่อน เมื่อเราแก่เฒ่าไปแล้วอยากส่งต่อมรดกให้ลูกหลาน ก็จะได้ส่งต่อสินทรัพย์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และไม่ต้องจ่ายภาษีเยอะๆ
ภาษีการรับมรดก ไม่เท่ากับ ภาษีจากการให้
ภาษีจากการให้ จะเกิดขึ้นเมื่อเจ้าของมรดกมอบทรัพย์สินในขณะที่มีชีวิตอยู่ให้กับทายาท และผู้รับทรัพย์สินจะต้องเสียภาษีเมื่อมูลค่าที่ได้รับเกินกว่า 20 ล้านบาทขึ้นไป
ภาษีมรดก คืออะไร?
ภาษีมรดก (Inheritance Tax) คือ ภาษีที่กรมสรรพากรเรียกเก็บจากผู้ที่ได้รับมรดกแต่ละรายที่มูลค่ามรดกสุทธิรวมเกิน 100 ล้านบาท ไม่ว่าคราวเดียวหรือหลายคราว และจัดเก็บภาษีในอัตรา 5-10% โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกจะต้องยื่นแบบแสดงรายการการรับภาาษีมรดก (ภ.ม.60) และชำระภาษีภายใน 150 วันนับตั้งแต่ได้รับมรดก ซึ่งภาษีมรดกเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ เจ้าของมรดกตายและมีผู้รับมรดก
อัตราเก็บภาษีมรดก จะจัดเก็บภาษีในอัตราที่แตกต่างกัน ดังนี้
- ผู้ที่ได้รับมรดกเป็นบุพการี พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตายาย หรือผู้สืบสันดาน เช่น ลูก หลาน เหลน จะเสียภาษีมรดกอยู่ที่ 5%
- ผู้ที่ได้รับมรดกเป็นบุคคลภายนอก ไม่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ให้มรดก จะเสียภาษีมรดกอยู่ที่ 10%
ส่วนผู้ที่ได้รับมรดกเป็นสามี/ภรรยา ที่มีการจดทะเบียนสมรส ไม่ต้องเสียภาษีมรดก และถ้ายกมรดกให้หน่วยงานรัฐหรือยกให้แก่สาธารณะประโยชน์ มรดกก้อนนั้นก็จะยกเว้นภาษีมรดกเช่นกัน
ทรัพย์สินไหนบ้างที่ต้องเสียภาษีมรดก
1. อสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน
2. หลักทรัพย์ตามกฎหมาย ได้แก่ หุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน ตราสารหนี้ ตราสารอนุพันธ์ต่างๆ ที่ออกโดยนิติบุคคลที่จดทะเบียนในไทยหรือต่างประเทศ
3. เงินฝากต่างๆ เช่น เงินฝากในบัญชีธนาคาร เงินฝากสหกรณ์
4. ยานพาหนะ ที่มีหลักฐานการจดทะเบียน เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ
5. ทรัพย์สินทางการเงินอื่นๆ (ที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา)
สิ่งที่ไม่ได้เป็นมรดก
1. สินไหมประกันชีวิต
2. เงินฌาปนกิจสงเคราะห์
3. เงินบำนาญตกทอด (ของข้าราชการ)
4. ดอกผลจากทรัพย์มรดก
เทคนิควางแผนส่งต่อมรดก ให้เสียภาษีน้อยที่สุด
1. ใช้ประโยชน์จากภาษีการให้ โอนทรัพย์สินขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น ทยอยให้ทรัพย์สินลูก ปีละไม่เกิน 20 ล้าน
2. ทำประกันชีวิต และระบุชื่อผู้รับสินไหมมรณะกรรมเป็นทายาท เนื่องจากเงินค่าสินไหมจากประกันชีวิตเกิดขึ้นหลังจากผู้เอาประกันเสียชีวิตแล้ว จึงไม่ถือว่าเป็นมรดก
จะเห็นได้ว่า หากเรามีการวางแผนส่งมอบมรดกให้ลูกหลายไว้ล่วงหน้าก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านภาษีในอนาคตได้เยอะเลยทีเดียว หรืออาจช่วยให้ไม่เสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมายด้วย
ดังนั้น เราควรจะศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับภาษีไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เป็นเจ้าของธุรกิจ จะได้ส่งต่อทรัพย์สินแบบเต็มๆ ไม่ทิ้งภาระภาษีให้ลูกหลานในอนาคต
ติดตาม Cashury ผ่านช่องทางอื่นๆ ได้ที่
🔸 Facebook Page:
https://www.facebook.com/Cashury.th
🔸 Instagram:
https://www.instagram.com/cashury.th
🔸 YouTube Channel:
https://www.youtube.com/cashury
🔸 Twitter:
https://twitter.com/Cashury_
การลงทุน
วางแผนการเงิน
การเงิน
11 บันทึก
5
5
11
5
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย