14 ก.ย. 2023 เวลา 15:46 • ไลฟ์สไตล์

ภาวะสิ้นยินดี

หากเราทำใจยอมรับได้กับทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น . ย่อมผ่านไปได้หมด.. เชื่อเถอะ..
ส่วนมากที่ผ่านไม่ได้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์..แต่เป็น..
.
.
เพราะ.ใจไม่ผ่าน
.
ดังนั้นวิธีแก้ง่าย ๆ ของชุ้นคือ..
.
.
.
สิ่งนี้ ..
คด.เจ้าของภาพ
จากนั้น.. วิธีแก้ต่อไปคือ..
.
.
ให้ตัวชุ้นในวันพรุ่งนี้จัดการ..
คด.เจ้าของภาพ
เพราะแต่ละคนมีเรื่องราว แตกต่างกัน ความสุขความทุกข์ย่อมแตกต่างกันตามบริบท แต่ถ้าทำใจให้ยอมรับได้แบบปราศจากเงื่อนไข
โดยไม่ต้องหาเกตุผล ในการปล่อยวางในทุก ๆ เรื่องได้บ้าง. . ในบ้างครั้ง.. เราก็จะหาความสุขที่ไม่มีเงื่อนไขได้เช่นกัน
สภาะสิ้นยินดี จะกลายเป็นสภาวะที่อะไรๆ ก็ยินดีไปเสียหมด จนคนรอบข้างคิดว่าน่าจะไปรับยาบ้างไรบ้าง.. ไม่รู้สึกอะไรเลยหรือไร
คำตอบคือ.. ยังคงรู้สึก..
แต่เป็นความรู้สึก ..แบบยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไข.. เป็นความเจ็บที่ไม่มีอิทธิพลต่อสภาวะจิตใจ
.
.
บางที ชุ้นเรียกมันว่า.. สภาวะใจที่ "มั่นคง"
.
.
โลกอาจจะไม่ได้ใจดีกับเราทุกคน หรือทุกครั้งไป แต่โลกก็ไม่ได้ใจร้ายกับเราขนาดนั้น อย่างไม่เหลียวแลเลย อย่างน้อยก็ให้เรามีโอกาสสู้กลับได้บ้าง.. สภาวะบางอย่างก็เพียงแค่สภาวะ แค่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และสลายไป..
และอากาศก็มีเพียงพอสำหรับทุกชีวิต.. บนโลกใบนี้ .. อยู่ที่ว่าเราจะเลือกจะสูดอากาศแบบไหนเข้าปอดเราเท่านั้นเอง.. ดังนั้น..
จงเลือกอากาศ.. ที่เหมาะกับสาภวะของเรา..
บันทึกของชุ้น
แต่ละคนจะมีสิ่งที่อาจเรียกได้ว่าเป็น “คู่มือความสุขเฉพาะตน” คือความรู้ตัวว่าทำอะไร ไปที่ไหน เจอใคร แล้วจะมีความสุข สนุก พอใจ อารมณ์ดีขึ้น
เมื่อเวลามีอารมณ์ลบ เราก็จะไป ทำ หรือพบกับสิ่งที่เราชอบ เพื่อจะทำให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้นได้ แต่หากสิ่งที่เราเคยทำแล้วมีความสุข ไม่อาจทำให้เกิดความรู้สึกดีได้อีก นั่นอาจเป็นสัญญาณที่ชวนให้เราเริ่มถามตัวเองว่า
“ตัวเรามีภาวะสิ้นยินดีแล้วหรือเปล่า”
ภาวะสิ้นยินดีแสดงออกได้ 2 ลักษณะ
1. ภาวะสิ้นยินดีทางสังคม (Social anhedonia) คนกลุ่มนี้จะไม่รู้สึกอยากใช้เวลาร่วมกับครอบครัว คนใกล้ชิด เพื่อนฝูง คนรอบข้าง และผู้คนอื่น ๆ ในสังคม
คนกลุ่มนี้จะเริ่มหายหน้าหายตา ปฏิเสธคำชวนไปร่วมกิจกรรมทางสังคม เริ่มมีชั่วโมงในการอยากอยู่คนเดียวนานขึ้นและถี่ขึ้นเรื่อย ๆ
2. ภาวะสิ้นยินดีทางกายภาพ (Physical anhedonia) ผู้ที่มีภาวะนี้จะมีการรับรู้ความรู้สึกทางกายเปลี่ยนไป ไม่สนุกกับกิจกรรมที่เคยทำเหมือนก่อน อาหารที่เคยชอบก็ไม่ชื่นชอบอีกต่อไป ไม่รู้สึกสนุกสนานร่าเริงและมีแนวโน้มที่จะมีอารมณ์ทางลบมากขึ้นได้
#สาเหตุ
1. ปัจจัยทางกายภาพ ซึ่งอาจเชื่อมโยงกับการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ หรือสารเคมีในสมอง เช่น โรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดในสมอง โรคซึมเศร้า เป็นต้น
2. ปัจจัยทางพันธุกรรม อาจมีส่วนทำให้บางคนมีธรรมชาติและบุคลิกภาพค่อนข้างหม่นหมองเศร้าง่าย
3. ปัจจัยทางสภาวะแวดล้อม เช่น ภาวะความเครียด เหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนใจ ภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome)
มีคนจำนวนหนึ่ง ที่ไม่สามารถรู้สึกหรือบอกตัวเองได้ว่า “ฉันกำลังมีความสุข” ซึ่งหากคุณหรือคนใกล้ตัวเป็นเช่นนี้ ขอให้ใส่ใจจับสัญญาณเพิ่มเติม เพราะคุณอาจกำลังมี “ภาวะสิ้นยินดี” อาการร่วมที่พบบ่อยในผู้มีภาวะซึมเศร้า ซึ่งมีแนวโน้มเกิดมากขึ้นในหมู่คนวัยทำงานยุคนี้
คด.เจ้าของภาพ
#ข้อสังเกตเบื้องต้น 3 ข้อที่จะช่วยให้เราจับสัญญาณภาวะสิ้นยินดี ดังนี้
1.สังเกตความรู้สึก - “เวลาที่ทำกิจกรรมที่ชอบ ยังรู้สึกชอบ สนุกหรือมีความสุขอยู่ไหม”
ถ้าเราอ่านหนังสือ ฟังเพลง หรือสิ่งที่เราเคยชอบทำ แล้วไม่รู้สึกสนุกหรือชอบเหมือนเดิม ก็อาจเป็นสัญญาณของภาวะสิ้นยินดีได้ แต่ก็ไม่เสมอไป เราอาจจะต้องสังเกตต่อไปว่าอารมณ์ความรู้สึกทางบวกในเรื่องอื่น ๆ หรือช่วงอื่น ๆ มีน้อยลงด้วยหรือไม่
2. สังเกตความคิด- “ความคิดของเราเป็นเชิงลบ หม่นหมองหรือไม่ เราได้พยายามปรับมุมมองให้เป็นบวกมากขึ้นแล้วหรือยัง ปรับมุมมองให้บวกได้สำเร็จหรือไม่”
ถ้าเรามีความรู้สึกเชิงบวก เราจะมองคนในเชิงบวก อยากสร้างสัมพันธ์กับผู้คน แต่ถ้าเราตกอยู่ในภาวะสิ้นยินดี เราจะรู้สึกว่าโลกไม่น่าอยู่ ไม่อยากสร้างความสัมพันธ์ใหม่ ๆ หรือไม่รู้สึกกระตือรือร้นที่จะรักษาความสัมพันธ์ที่มีอยู่แล้ว
3. สังเกตร่างกาย-“รู้สึกเหนื่อยจากการทำงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ มากกว่าปกติหรือไม่ ตื่นมาแล้วรู้สึกไม่แจ่มใส รู้สึกล้า หมดแรงหรือเปล่า”
สมรรถภาพทางกายและสมรรถภาพทางเพศเป็นเกณฑ์ประเมินภาวะสิ้นยินดีได้เหมือนกัน แต่ไม่ใช่กับทุกกรณี สิ่งที่เราพอสังเกตได้คือร่างกายของเรายังแข็งแรงเป็นปกติดีไหม ออกกำลังกายได้เท่าเดิมหรือเปล่า มีความเปลี่ยนแปลงด้านสมรรถภาพทางเพศหรือไม่ ที่สำคัญ เวลาที่รู้สึกอ่อนล้า เหนื่อย ถ้าได้พักผ่อน นอนแล้ว ร่างกายกลับมากระชุ่มกระชวย อารมณ์ดีสดใสขึ้น แต่ถ้านอนพักแล้ว ยังรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อย ล้า หมดแรงที่จะทำอะไร ก็อาจเป็นสัญญาณภาวะสิ้นยินดีได้
คด.เจ้าของภาพ
หากเราสังเกตเห็นอาการเบื้องต้นของภาวะสิ้นยินดีแล้ว เราต้องรีบปรับอารมณ์เสียตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้พลังบวกกลับมาในชีวิตให้เร็วที่สุด ผศ.ดร.กุลยา แนะวิธีการรับมือกับภาวะสิ้นยินดี ดังนี้
1. เติมพลังบวก ซึ่งทำได้หลายรูปแบบ โดยอาจเริ่มจากลงมือทำในสิ่งที่เคยชอบ ฝึกเติมพลังบวกเรื่อย ๆ ทีละเล็กทีละน้อย เพิ่มอารมณ์บวกบ่อย ๆ เพื่อกันอารมณ์ลบให้ไปห่าง ๆ
2. หมั่นสังเกตและรับรู้อารมณ์ตามที่เป็น ไม่ว่าจะอารมณ์ด้านลบหรือบวก
3. โอบกอดตัวเองและหมั่นเติมความรักให้ตัวเอง
4. ฝึกใจ ปรับโฟกัส ให้ชื่นชมกับการกระทำและความสำเร็จเล็ก ๆ ในชีวิต ยังไม่ต้องทำกิจกรรมที่ต้องลงแรงมาก ให้เริ่มจากทำสิ่งเล็ก ๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป และปล่อยให้ตัวเองมีความสุขระหว่างทำกิจกรรม
5. ปรึกษานักจิตวิทยาและจิตแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและการรักษา
“เวลาที่เป็นภาวะสิ้นยินดี เรามักจะเก็บตัวอยู่ในห้องอยากอยู่คนเดียว ดังนั้น เราควรจะออกไปข้างนอกบ้าง ให้ร่างกายได้เจอแสงแดด ได้รับแสงสว่างบ้าง ลองทำอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วสังเกตว่าอะไรที่ช่วยดึงใจเราให้ดีขึ้นได้บ้าง สิ่งที่ช่วยให้เรารู้สึกดีกับตัวเอง เท่านี้ก็ดีพอแล้ว”
cr.ผศ.ดร.กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ รองคณบดี และอาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
#บันทึกของชุ้น
#MindAttitude
#สภาวะสิ้นยินดี
#เดี๋ยวมันจะผ่านไป
คด.เจ้าของภาพ
โฆษณา