16 ก.ย. 2023 เวลา 02:30 • ธุรกิจ

Coursera แพลตฟอร์มเรียนออนไลน์ ทำไมถึงขาดทุนหนัก 11 ปีซ้อน

Coursera เป็นหนึ่งในเว็บไซต์เรียนออนไลน์ ที่มีให้เลือกมากกว่า 4,000 คอร์สจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก และมีหลายคอร์สที่เปิดให้เรียนได้แบบฟรี ๆ
แต่ผลประกอบการ 3 ปีล่าสุด ขาดทุนสะสมไปแล้วกว่า 13,600 ล้านบาท และขาดทุนต่อเนื่องมาแล้ว 11 ปีติดต่อกัน
แล้วโมเดลธุรกิจของ Coursera เป็นอย่างไร
ทำไมถึงยังดำเนินกิจการอยู่ได้ แม้จะไม่เคยมีกำไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
Coursera ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปี 2012 จากคุณ Andrew Ng และคุณ Daphne Koller 2 อาจารย์สอนคอมพิวเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
2
ทั้งคู่เริ่มจากการสร้างคอร์สเรียนออนไลน์ในมหาวิทยาลัยด้วยตัวเอง ก่อนที่จะลาออกมาทำ Coursera แบบเต็มตัว
หลังจากนั้น ก็มีมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ เข้ามาร่วมเปิดคอร์สสอนในเว็บไซต์อีกมากมาย เช่น เพนซิลเวเนีย พรินซ์ตัน และมิชิแกน
จนในปัจจุบัน มีมากกว่า 180 มหาวิทยาลัยเข้ามาสอนใน Coursera และยังมีคอร์สจากบริษัทชั้นนำอื่น ๆ เช่น Google ในแพลตฟอร์มอีกด้วย
โดยโมเดลธุรกิจของ Coursera เป็นการเปิดคอร์สเรียนออนไลน์สำหรับบุคคลทั่วไป ทั้งแบบเรียนฟรีและเก็บเงิน หรือถ้าอยากได้ใบประกาศว่าเรียนจบคอร์ส ก็จะต้องเสียเงินเพิ่ม
รวมถึงบริษัทเอกชน มหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานรัฐก็สามารถมาซื้อคอร์สเรียนให้คนในองค์กรได้เช่นกัน
1
ซึ่งคอร์สที่มี ก็จะมาจากการดึงตัวผู้สอน หรือพาร์ตเนอร์กับองค์กร หรือมหาวิทยาลัยชื่อดัง ให้เข้ามาออกแบบคอร์สและสอนในแพลตฟอร์ม
3
ทั้งยังมีคอร์สเรียนระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท ซึ่ง Coursera จะช่วยออกแบบคอร์สเรียน และจัดการเรื่องระบบให้ โดยมีลูกค้าคือมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่สนใจออกคอร์สเรียนออนไลน์
อย่างไรก็ตาม หากไปดูผลประกอบการในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จะพบว่า
2
ปี 2020 รายได้ 10,319 ล้านบาท
ขาดทุน 2,349 ล้านบาท
1
ปี 2021 รายได้ 14,601 ล้านบาท
ขาดทุน 5,105 ล้านบาท
ปี 2022 รายได้ 18,415 ล้านบาท
ขาดทุน 6,165 ล้านบาท
1
จะเห็นได้ว่า Coursera แม้จะมีรายได้ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง
แต่ตัวธุรกิจเองก็ยังเจอการขาดทุนทุกปี เช่นกัน
แล้วทำไม Coursera ถึงยังขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ?
เรื่องแรก ก็เพราะว่า
“โมเดลธุรกิจต้องพึ่งพาพาร์ตเนอร์คนสอน”
ต้นทุนหลักของ Coursera คือ ค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้กับผู้สอน เช่น มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ซึ่งเป็นจุดดึงดูดให้ผู้ใช้งานมาเรียนบนเว็บไซต์
เมื่อมีคอร์สเรียนออนไลน์ในเว็บไซต์มากขึ้น เท่ากับว่า Coursera จะต้องมีรายจ่ายให้ผู้สอนที่มากขึ้นตามไปด้วย
ซึ่งในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา Coursera มีต้นทุนขายจาก 4,929 ล้านบาท ในปี 2019 เพิ่มขึ้นเป็น 6,825 ล้านบาท ในปี 2022
และอีกเรื่องหนึ่งคือ “มีค่าใช้จ่ายด้านการตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง”
หากไปดูค่าใช้จ่ายด้านการตลาดในช่วงที่ผ่านมา
ปี 2020 ค่าใช้จ่ายด้านการตลาด 3,799 ล้านบาท
ปี 2021 ค่าใช้จ่ายด้านการตลาด 6,353 ล้านบาท
ปี 2022 ค่าใช้จ่ายด้านการตลาด 8,066 ล้านบาท
2
จะเห็นได้ว่า แม้รายได้ของ Coursera จะเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะช่วงล็อกดาวน์ที่คนหันมาเรียนรู้ และเสริมทักษะเพิ่มเติม แต่ค่าการตลาดก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวเช่นกัน
โดยค่าใช้จ่ายด้านการตลาด คิดเป็นต้นทุนมากถึง 45% ของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมด ซึ่งยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าบริหารทั่วไป ค่าวิจัยและพัฒนาแพลตฟอร์ม ที่ต้องเพิ่มขึ้นอีกด้วย
2
และต้องบอกว่า ในวงการแพลตฟอร์มเรียนออนไลน์
ไม่ได้มีแค่ Coursera เท่านั้น แต่ยังมีคู่แข่ง อย่างเช่น
- edX ที่มีผู้ใช้งานปัจจุบันราว 32 ล้านคน
- FutureLearn ที่มีผู้ใช้งานราว 13.5 ล้านคน
ในขณะที่ Coursera ยังเป็นเบอร์หนึ่ง มีผู้ใช้งาน 65 ล้านคน แต่ก็ยังต้องใช้งบการตลาดจำนวนมาก เพื่อแย่งชิงลูกค้าระหว่างกัน
และการแย่งชิงผู้ใช้งานนี้เอง ทำให้คู่แข่งก็ยังขาดทุนเช่นกัน ตัวอย่างเช่น 2U ซึ่งเป็นเจ้าของ edX ก็ขาดทุนมากถึง 11,408 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา
รวมทั้ง Udemy ที่เป็นคู่แข่งอีกรายของ Coursera ก็ยังขาดทุนมากถึง 5,420 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา
1
พอเป็นแบบนี้ ก็ไม่น่าแปลกใจว่าทำไม Coursera ยังขาดทุนต่อเนื่อง และยังไม่สามารถทำกำไรได้
แต่สังเกตว่าในช่วงหลัง Coursera สามารถเพิ่มรายได้เร็วกว่าการขาดทุน
 
- ปี 2021 รายได้เพิ่มขึ้น 4,300 ล้านบาท
ขาดทุนเพิ่มถึง 2,750 ล้านบาท
- ปี 2022 ที่รายได้เพิ่มขึ้น 3,800 ล้านบาท
แต่ขาดทุนเพิ่มขึ้น 1,060 ล้านบาท
หากรายได้ยังเพิ่มขึ้น และคุมค่าใช้จ่ายได้ อีกไม่นาน บริษัทก็อาจมีโอกาสกลับมาทำกำไรได้สำเร็จ
นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับเงินระดมทุนในช่วงสตาร์ตอัปมาโดยตลอด
1
รวมถึงยังได้เงินหลังจากระดมทุนเข้าตลาดหุ้นในปี 2021 มากถึง 18,600 ล้านบาท
ปัจจุบัน Coursera ยังมีเงินสดเหลืออยู่ 16,260 ล้านบาท จึงยังสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ แม้จะขาดทุน
1
แต่หาก Coursera ยังขาดทุนถึงระดับ 6,000 ล้านบาท
ก็เท่ากับว่า บริษัทจะเบิร์นเงิน อยู่ได้อีกไม่ถึง 3 ปี
1
สิ่งที่นักลงทุนอาจกำลังตั้งคำถามกับ Coursera
ก็คือ อะไรจะเกิดขึ้นก่อนกัน
ระหว่างเริ่มพลิกกลับมามีกำไร กับเงินสดหมดบริษัท นั่นเอง..
โฆษณา