17 ก.ย. 2023 เวลา 07:55 • ปรัชญา

บารมี 10 หรือ ทศบารมี

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราอยากแชร์ ถ้าจำไม่ผิดท่านอาจารย์โกเอ็นก้าได้กล่าวไว้ในวันท้ายๆในส่วนของธรรมบรรยายในช่วงค่ำ เป็นสิ่งหนึ่งที่ได้จากคอร์ส 10 วัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ซ่อนไว้ในการปฏิบัติ และการอยู่ในศูนย์ และเป็นที่มาของข้อควรปฏิบัติ และข้อควรยกเว้น ซึ่งทศบารมียังเป็นบารมีของพระโคตมพระพุทธเจ้าได้บำเพ็ญอีกด้วย ดังนั้นจึงมีความสำคัญมาก มาว่ากันต่อเลยดีก่า บารมี 10 หรือ ทศบารมี ประกอบด้วย 10 หัวข้อ ดังนี้
  • ทาน (การให้ การเสียสละ — giving; charity; generosity; liberality)
เป็นการตัดความโลภ โดยจิตของเราพร้อมที่จะให้ทานเป็นปกติ ให้เพื่อสงเคราะห์ ไม่หวังผลตอบแทน ให้ไม่เลือกเพศ วัย หรือฐานะ คือการบริจาคเงินในวันที่ 10 ของการปฏิบัติในศูนย์(พระเวสสันดร)
  • ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, ความประพฤติดีงามถูกต้องตามระเบียบวินัย — morality; good conduct)ช่วยตัดความโกรธ(โทสะ) ดังนั้นเมื่ออยู่ในศูนย์ศิษย์ใหม่ต้องถือศีล 5 ส่วนศิษย์เก่าต้องถือศีล 8( พระภูริทัตต์)
  • เนกขัมมะ (การออกบวช, ความปลีกตัวปลีกใจจากกาม — renunciation)เป็นการตัดอารมณ์ของกามคุณ คือการที่จิตพร้อมในการถือเนกขัมมะเป็นปกติ เนกขัมมะ แปลว่า การถือบวช ดังที่เราปฏิบัติอยู่ในศููนย์ 10 วัน ก็จัดเป็นบำเพ็ญเพียรหัวข้อนี้ ถึงเราจะไม่ได้ออกบวชก็ตาม แต่อาหารที่เรารับประทานก็ได้จากการบริจาค ไม่ต่างจากพระ( พระเตมีย์ )
  • ปัญญา (ความรอบรู้, ความหยั่งรู้เหตุผล เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง — wisdom; insight; understanding) ช่วยตัดความโง่เขลา การที่จิตพร้อมที่จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประหัตประหาร และ มีความคิดรู้เท่าทันสภาวะของกฎสามัญลักษณะ ได้แก่ การเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นปกติ การปฏิบัติวิปัสนาประมาณวันที่ 4 ก็เป็นการทำให้เกิดภาวนามยปัญญา ทำให้เราได้เห็นทุกข์โดยเรียนรู้จากเวทนา ว่ามันไม่เที่ยง และในที่สุดมันก็ดับไป ไม่มีตัวตน(พระมโหสถ)
  • วิริยะ (ความเพียร, ความแกล้วกล้า ไม่เกรงกลัวอุปสรรค พยายามบากบั่นอุตสาหะ ก้าวหน้าเรื่อยไป ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่ — energy; effort; endeavour)มีไว้ตัดความขี้เกียจ การที่มีความเพียรทุกขณะ ในการที่จะทำความดีประหารกิเลส ก็คือความพยายามที่เราต้องอดทนกับความง่วง มันก็จัดว่าเป็นความเพียรอย่างหนึ่งอ่าน่ะ ยิ่งช่วงทานข้าวอิ่มๆ และไปนั่งปฏิบัติเนียะ ต้องใช้วิริยะตัวโตๆเลย เพียรเพื่อให้หลุดจากทุกข์(พระมหาชนก)
  • ขันติ (ความอดทน, ความทนทานของจิตใจ สามารถใช้สติปัญญาควบคุมตนให้อยู่ในอำนาจเหตุผล และแนวทางความประะพฤติ ที่ตั้งไว้เพื่อจุดหมายอันชอบไม่ลุอำนาจกิเลส — forbearance; tolerance; endurance)อดกลั้นต่อสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ สำหรับเราในการปฏิบัติทุกชั่วโมง ยิ่งเริ่มเข้าช่วงวิปัสนาฯ มันต้องใช้คำว่าอดทนมากเลย ตั้งแต่ช่วงหลังชม.ดื่มน้ำปานะ นั่นก็ขันติแหละ ที่จะไม่ลุกออกจากหอปฏิบัติ
ยิ่งเมื่อเข้าสู่โหมดชม.อธิษฐานไม่ต้องพูดเลย นั่นคือการอดทนอย่างแท้จริง อดทนเพื่อเรียนรู้สภาพร่างกายอย่างแท้จริง รวมถึงการอดทนกับคนหมู่มาก ซึ่งอาจมีทั้งเรื่องพอใจ และไม่พอใจในศูนย์ปฏิบัติ(พระจันทกุมาร)
  • สัจจะ (ความจริง คือ พูดจริง ทำจริง และจริงใจ — truthfulness)ตัดความไม่จริงใจ มีอารมณ์ใจกลับกลอก การที่ตั้งมั้นในคำพูดที่ได้รับปากไว้แล้ว เช่น ผู้ที่มีสัจจะบารมีเต็ม สิ่งที่เห็นชัดที่สุดคือตรงต่อเวลา ถ้าหากว่าใครนัดแล้วยังผิดนัด ไม่ตรงต่อเวลา ถือว่าสัจจะบารมียังพร่องอยู่ ยกตัวอย่างคือการให้สัจจะต่อท่านอาจารย์ในวันแรกรวมอยู่ด้วยว่าเราจะถือศีล และจะอยู่ปฏิบัติในศูนย์ตามระเบียบที่ศูนย์วางไว้ และอยู่จนครบ 10 วัน(พระวิธุร)
  • อธิษฐาน (ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว วางจุดหมายแห่งการกระทำของตนไว้แน่นอน และดำเนินตามนั้นแน่วแน่ — resolution; self-determination) ตั้งใจว่าเราทำอะไร เพื่ออะไร อธิษฐานบารมีถ้าเปรียบแล้ว ก็เหมือนกับการยิงปืนแล้วเล็งเป้า จะได้ถูกเป้าแน่นอน เราจะได้บำเพ็ญบารมีนี้ในชม.อธิษฐานว่าเราจะไม่ออกนอกห้อง ไม่เปลี่ยนท่านั่ง ไม่ขยับมือหรือเท้า สรุปคือนั่งนิ่งๆอย่างหุ่นนั่นเอง(พระเนมิราช)
  • เมตตา (ความรักใคร่, ความปรารถนาดี มีไมตรี คิดเกื้อกูลให้ผู้อื่นและเพื่อนร่วมโลกทั้งปวงมีความสุขความเจริญ — loving-kindness; friendliness) สร้างความเยือกเย็นของใจ ไม่เป็นศัตรูกับใคร มีความรักตนเสมอด้วยบุคคลอื่น ถ้าใครนึกถืงความรักที่ไม่มีขอบเขตให้นึกถึงพระเยซูเจ้าตอนถูกตรึงไม้กางเขน จะเห็นภาพได้อย่างชัดเจน และเราจะได้พบเมตตาบารมีในวันที่ 10 ช่วง 9 โมงเช้า เราจะได้ปฏิบัติเมตตาภาวนาเป็นคาบแรก เมื่อปฏิบัติในแนวทางสายนี้เราจะรักตนเอง เมตตาต่อตนเองและเผื่อแผ่ความรักให้แก่คนรอบข้าง(พระสุวรรณสาม)
  • อุเบกขา (ความวางใจเป็นกลาง, ความวางใจสงบราบเรียบสม่ำเสมอ เที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงไปด้วยความยินดียินร้ายชอบชังหรือแรงเย้ายวนยั่วยุใดๆ — equanimity; indifference to praise and blame in the performance of duty) เราจะเจอกับคำนี้ตลอดตั้งแต่วิปัสนาฯในคำสอนช่วงแรกๆจนถึงเมตตาภาวนากันเลยที่เดียว เมื่อเราพบกับเวทนาที่ถูกใจและไม่ถูกใจ เราต้องไม่สร้างเงื่อนปมในจิตใจ หรือแม้แต่สร้างสังขารใหม่ๆให้กับตัวเรา
เพราะจุดประสงค์ในการปฏิบัติในแนวทางของท่านอาจารย์โกเอ็นก้า คือ การขจัดสังขารเก่า เพื่อสุดทางคือการชำระจิตให้บริสุทธิ์( พระนารท)
อ้างอิง
gedgoodlife.com/lifestyle/25045-dasa-parami/(รูปภาพ และข้อมูล)
โฆษณา