ปัจจุบันโลกเรากำลังเผชิญกับวิกฤตโลกร้อนกันอย่างรุนแรง โลกไม่สามารถระบายความร้อนที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ออกไปได้เหมือนสมัยก่อน
ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น ๆ ทุก ๆ ปี จนทำให้สภาพอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไป
และเกิดภัยธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตบนโลก
1
ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นมาจากการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก แล้วไปทำให้บรรยากาศโลกกักเก็บพลังงานดวงอาทิตย์ ปัจจุบันอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นประมาณ 1.1-1.2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับก่อนที่มนุษย์จะเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม
หากปล่อยให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึง +1.5 องศามนุษย์ก็อาจไม่สามารถแก้ไขสภาวะอากาศของโลกให้กลับมามีสภาวะเหมาะสมในการใช้ชีวิตของมนุษย์ได้อีกครั้ง
ทุกประเทศทั่วโลกจึงหันมาตั้งเป้าในการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้เหลือ 0
แต่ต้องยอมรับว่ามันยังเป็นเรื่องที่ทำได้ยากอยู่ เพราะในชีวิตประจำวันมนุษย์เราปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ในอากาศมากมาย ทั้งโรงงาน รถยนต์ การทำเกษตรกรรม การผลิตไฟฟ้า การประกอบวิชาชีพ รวมไปถึงการที่เราหายใจออกมาด้วย ซึ่งมีปริมาณมากถึง 420 ล้านตันต่อปีมันจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายของมนุษย์เป็นอย่างมากในการที่จะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็น 0 ได้
4
ญี่ปุ่น คือประเทศที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาในอากาศมากเป็นอันดับ 5 ของโลก เป็นรองแค่ จีน อเมริกา อินเดีย และ รัสเซีย ซึ่งทางญี่ปุ่นเองก็ตั้งเป้าว่าจะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เป็น 0 ให้ได้ภายในปี 2050
แต่กว่าจะทำแบบนั้นได้ นักวิจัยญี่ปุ่นคิดหาวิธีที่มนุษย์จะอยู่ร่วมกันกับคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อโลก ด้วยการนำคาร์บอนไดออกไซด์มารีไซเคิลแปรรูปมันให้เป็นทรัพยากรที่มีประโยชน์
ไม่ว่าจะเป็นการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในการสังเคราะห์เป็นพลาสติก หรือเทคโนโลยีอันน่าทึ่ง
ในการนำจุลินทรีย์มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวิภาพ
1
ทามูระ มาซาซูมิ รองศาสตราจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโอซาก้า เขาทำการวิจัยในการนำคาร์บอนไดออกไซด์มารีไซเคิล จนสามารถนำมาผลิตพลาสติกออกมาได้สำเร็จโดยไม่เคยมีใครทำได้ขึ้นมาก่อน
เนื่องจากคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสารประกอบที่มีความเสถียรสูงและอะตอมก็เกาะตัวกันเหนียวแน่น
แม้จะมีนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างก็นำคาร์บอนไดออกไซด์มาทดลองเพื่อผลิตพลาสติกออกมาแต่ก็ทำไม่สำเร็จ
7
ทามูระ ใช้วิธีที่ต่างออกไปโดยการนำคาร์บอนไดออกไซด์ไปทำปฏิกิริยากับไดออล ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ประเภทหนึ่ง จนได้พลาสติกพอลิคาร์บอเนตไดออลออกมา เป็นวิธีที่ใช้พลังงานน้อยมากจึงเป็นกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และพอลิคาร์บอเนตที่ได้ออกมาก็สามารถนำไปทำประโยชน์ได้หลายอย่าง
2
เนื่องจากมีความยืดหยุ่นและความทนทาน ไม่ว่าจะเป็น ชุดกีฬา ชุดว่ายน้ำ รองเท้าหนังเทียม กันชนรถ เบาะนั่ง ด้วยวิธีนี้เราจะสามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาจากโรงงานไปดักจับมาเป็นวัตถุดิบในการแปรรูปให้เป็นวัสดุสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ได้
1
อิซูโมะ มิตสึรุ ผู้ก่อตั้งบริษัท ยูกลีนา โดยชื่อบริษัทตั้งตามชื่อจุลินทรีย์ที่เขานำมาทำวิจัยและผลิตออกมาเป็นสินค้าต่าง ๆ
1
ยูกลีนา คือจุลินทรีย์ยุคดึกดำบรรพ์ที่ไม่จัดเป็นทั้งพืชหรือสัตว์แต่มีลักษณะจำเพาะของทั้งสองอย่างคือ พวกมันสามารถสังเคราะห์แสง ผลิตสารอาหารเองได้เหมือนพืช แต่ในขณะเดียวกันพวกมันก็สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเองเหมือนสัตว์ด้วยเช่นกัน ยูกลีนา เติบโตได้ดีด้วยการดูดซับแสงและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของยูกลีนาอาจมากกว่าใบไม้ของต้นไม้หลายสิบเท่า
3
อิซูโมะได้วิจัยยูกลีนาสายพันธุ์ต่าง ๆ ซึ่งในระหว่างที่วิจัยนั้นเอง อิซูโมะ ก็ได้ค้นพบยูกลีนาสายพันธุ์หนึ่งที่มีลักษณะตัวอ้วนกลมไม่เหมือนสายพันธุ์อื่น ที่สำคัญภายในตัวของมันเต็มไปด้วยลิพิดอยู่เต็มตัว (ลิพิดคือสารชีวโมเลกุลที่ไม่ละลายน้ำ) เมื่อเห็นดังนั้นอิซูโมะจึงเกิดความคิดที่จะนำยูกลีนามาเป็นเชื้อเพลิงทันที
3
อิซูโมะ ตั้งโรงงานสำหรับนำลิพิดยูกรีนามาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ ทั้งที่ในตอนนั้นไม่มีใครในญี่ปุ่นเชี่ยวชาญทางด้านนี้เลย ทุกอย่างเริ่มจากศูนย์ แต่อิซูโมะมั่นใจมากว่ามันจะทำได้ ทางทีมวิจัยได้ลองลิพิดยูกรีนามาผสมกับน้ำมันทำอาหารที่ใช้แล้วได้ออกมาเป็นสารตั้งต้นในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ
ภายหลังทำการวิจัยทดลองมาหลายปีโรงงานแห่งนี้ก็สามารถผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพออกมาได้สำเร็จในปี 2020 โดยเชื้อเพลิงที่ได้สามารถนำไปใช้กับรถยนต์ เครื่องบิน เรือ ที่ปกติใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลได้โดยที่ไม่ต้องปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์แต่อย่างใด
ซึ่งแน่นอนว่าเชื้อเพลิงที่ได้จากลิพิดยูกรีนานี้เองก็ยังคงมีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา เพียงแต่ก๊าซที่ถูกปล่อยก็จะถูกยูกรีนาดูดซับกลับไปเพื่อนำไปผลิตเป็นสารตั้งต้นผลิตเชื้อเพลิงอีกที จึงเหมือนกับว่าไม่ได้มีการเพิ่มเติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศกลายเป็น คาร์บอนนิวทรัล หรือความเป็นกลางทางคาร์บอน
3
ซูยามะ ชิอากิ กรรมการบริหาร สถาบันมูลนิธิการนำคาร์บอนมารีไซเคิล ก็นำผลงานประดิษฐ์จากทั้ง 2 ที่ นำมาคิดต่อยอดเพื่อเผยแพร่ไปยังการบริษัทต่าง ๆ ในญี่ปุ่น ไม่ว่าจะทางด้านการผลิตกระแสไฟฟ้า การทำเกษตรกรรม การทำอุตสาหกรรมในรูปแบบคาร์บอนนิวทรัล ซูยามะ มองว่าวิธีนี้จะทำให้มนุษย์เราอยู่ร่วมกับคาร์บอนได้โดยที่ไม่ต้องไปกำจัดมัน
5
จะเห็นได้ว่าวิธีคิดของคนญี่ปุ่นมองในความเป็นธรรมชาติ
พวกเขาไม่ได้มองว่าคาร์บอนไดออกไซด์เป็นผู้ร้ายที่ต้องถูกกำจัดให้หมดสิ้นไปจากโลก
เพราะคาร์บอนเป็นส่วนหนึ่งของวัฎจักรโลก ทุกชีวิตบนโลกนี้ล้วนมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ
พวกเขาจึงหาวิธีใช้คาร์บอนอย่างชาญฉลาด เพื่อให้วัฎจักรของโลกยังคงสมดุลเอาไว้ได้
ถึงวันนี้พวกเขามั่นใจว่าภายในปี 2050 ประเทศญี่ปุ่นจะเป็นคาร์บอนนิวทรัลได้อย่างสมบูรณ์แน่นอน
2
ปล. สำหรับประเทศไทยเราประกาศว่าจะลดคาร์บอนเป็น 0 ให้ได้ภายในปี 2065
1
อ้างอิงเนื้อหาจาก
46 ถูกใจ
35 แชร์
5.5K รับชม
แสดงความคิดเห็นของคุณ...
  • 46
    โฆษณา