Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Lumpsum : ที่ปรึกษาวางแผนการเงินส่วนบุคคล
•
ติดตาม
22 ก.ย. 2023 เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
จะรีไฟแนนซ์บ้านต้องเตรียมอะไรบ้าง ?
ท่านใดมีแผน "รีไฟแนนซ์บ้าน" แวะอ่านบทความนี้ก่อน เพราะเราจะแนะนำแนวทางในการเตรียมตัวแบบที่พร้อมที่สุดให้กับคุณ
ก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน มีสิ่งที่ต้องรู้ 5 ขั้นตอน ดังนี้...
1️. ตรวจสอบเงื่อนไขสัญญาเงินกู้เดิม
ลองกลับไปเปิดสัญญาเงินกู้ดูว่าเงื่อนไขที่เขียนไว้นั้น ธนาคารเขาเปิดทางให้เราสามารถไถ่ถอนได้ปีที่เท่าไหร่ ปกติแล้วมักจะต้องรอให้ครบ 3 ปีก่อน แต่หากเราไถ่ถอนก่อน 3 ปีมันจะมีค่าปรับตามมา ซึ่งภาษาที่เขียนว่า "ไถ่ถอน" ก็หมายถึง การ "รีไฟแนนซ์" หรือไปกู้จากเจ้าหนี้รายใหม่มาปิดยอดหนี้กับเจ้าหนี้รายเก่าได้เมื่อไหร่นั่นเอง
ทีนี้เมื่อเราทราบแล้วว่าเราสามารถ "รีไฟแนนซ์" ได้เมื่อไหร่ ก็จะได้มองหาเจ้าหนี้รายใหม่ ที่ให้ดอกเบี้ยต่ำกว่าเดิม เพื่อจะได้จัดเตรียมตัวทำ "รีไฟแนนซ์" อย่างน้อยก็สามารถที่จะเตรียมความพร้อมล่วงหน้าสัก 1-2 เดือน แทนที่จะรอให้จนครบ 3 ปีเป๊ะ !
2️. สำรวจโปรในตลาด
เมื่อตัดสินใจแล้วก็ต้องเริ่มมองหาว่าจะ "รีไฟแนนซ์" กับธนาคารไหนดี ซึ่งปัจจุบันแต่ละธนาคารมีการจัดโปรโมชั่นออกมาแข่งขันกันดุเดือด อันจะเป็นประโยชน์กับเราในฐานะผู้บริโภค โดยนอกเหนือจากดอกเบี้ยช่วงโปร 3 ปีแรกของธนาคารใหม่ที่เขา "ภูมิใจนำเสนอ" อย่าลืมสอบถามถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จะตามมาด้วยนะครับ ว่ามีอะไรบ้าง ทั้งหมดเท่าไหร่ที่เราต้องจ่าย
ถามจากเจ้าหน้าที่ให้เคลียร์ จดไว้แล้วนำมาเปรียบเทียบกับธนาคารอื่นเพราะบางธนาคารอาจยกเว้นค่าดำเนินการสินเชื่อตามสัญญาใหม่ ยกเว้นค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ หรือยกเว้นค่าธรรมเนียมในการจำนอง เป็นต้น
ซึ่งเงื่อนไขแต่ละธนาคารจะแตกต่างกัน จากนั้นค่อยไปตัดสินใจเลือกธนาคารที่ให้เงื่อนไขที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุดสำหรับเรา สำคัญเลยคือดอกต้องต่ำลง และผ่อนต่อเดือนน้อยลง เพราะนั่นหมายถึงเราจะมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น
3. เตรียมความพร้อมเรื่องค่าใช้จ่าย
การ "รีไฟแนนซ์" จะมีค่าใช้จ่ายคล้ายกับตอนซื้อบ้านใหม่ โดยหลัก ๆ จะประกอบด้วย
- ค่าธรรมเนียม ประเมินราคาหลักทรัพย์ ราวๆ 2,000 - 3,000 บาท
- ค่าดำเนินการสินเชื่อตามสัญญาใหม่
- ค่าธรรมเนียมในการจำนอง 1% ของวงเงินกู้
- ค่าทำประกันอัคคีภัย
- ค่าธรรมเนียม อากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้
ซึ่งค่าใช้จ่ายต่างๆ นี้ ส่วนใหญ่ธนาคารมักจะยกเว้นให้ เพื่อดึงดูดให้เรา "รีไฟแนนซ์" กับเขา แต่ทั้งนี้ก็ต้องสอบถามจากพนักงานธนาคารให้ชัดเจนว่าค่าใช้จ่ายอันไหนยกเว้นหรือไม่ยกเว้นบ้าง
4️. จัดเตรียมเอกสาร
ข้อนี้ก็เช่นกันกับกรณีข้างต้น "รีไฟแนนซ์" เหมือนกับการเริ่มต้นกู้ใหม่แต่เปลี่ยนเจ้าหนี้ไปเป็นธนาคารแห่งใหม่
ดังนั้นเอกสารประกอบการขอสินเชื่อจึงจำเป็นต้องใช้เหมือนกู้ครั้งแรก ก็จะประกอบไปด้วย
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล (ถ้ามี)
- เอกสารแสดงรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองเงินเดือน สำเนาบัญชีธนาคารที่เงินเดือนเข้าย้อนหลัง 3 เดือน
- เอกสารหลักประกัน เช่น รายการเดินบัญชีสรุปยอดหนี้เงินกู้ (ของธนาคารแห่งเก่า) และสำเนาหนังสือสัญญาเงินกู้เดิม เป็นต้น
5.ยื่นเรื่องรีไฟแนนซ์บ้าน
เมื่อทำมาครบทุกข้อแล้ว จะรออะไรเล่า เราก็ถือเอกสารไปยื่นเรื่อง "รีไฟแนนซ์" กับธนาคารแห่งใหม่ที่เราจะไปเป็นลูกหนี้รายย่อยชั้นดีได้เลย จากนั้นก็รอฟังผลการอนุมัติ ช้า-เร็ว ขึ้นอยู่กับระบบการพิจารณาสินเชื่อของแต่ละธนาคาร หลังอนุมัติแล้ว ก็จะเป็นการนัดวันทำสัญญาไถ่ถอนระหว่างธนาคารเก่าเจ้าหนี้เรา กับธนาคารใหม่ที่จะมาเป็นเจ้าหนี้แทน ซึ่งตรงนี้ก็จะไปจบลงแบบแฮปปี้เอนดิ้งที่สำนักงานที่ดิน
ขั้นตอนต่าง ๆ ที่กล่าวมาอาจจะดูเหมือนยุ่งยาก แต่ทำแล้วชีวิตเราจะเบาขึ้นแน่นอน เพราะนี่คือทางออกที่จะช่วยให้ปลดหนี้บ้านเร็วขึ้น เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางการเงินที่เราควรพิจารณา
สำหรับใครอยากประหยัดเวลาหาโปรโมชันดอกเบี้ย Lumpsum ช่วยคุณได้เพียงคลิก -->
https://bit.ly/3Gp3x5h
#รีไฟแนนซ์บ้าน #ผ่อนบ้าน #สินเชื่อบ้าน #หนี้บ้าน #Lumpsum #lumpsumรีไฟแนนซ์
1 บันทึก
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย