22 ก.ย. 2023 เวลา 09:57 • การเมือง

จะเกิดอะไรขึ้น? เมื่อ “น้ำมัน” กลายเป็น “อาวุธ” โจมตีทางเศรษฐกิจของจีนและรัสเซีย

สืบเนื่องมาจากประเด็นร้อนแรงทางเศรษฐกิจโลกในตอนนี้ เมื่อราคาน้ำมันสูงขึ้นไม่ยอมหยุด จากการที่สหรัฐและซาอุดีลลับกับกลุ่ม OPEC+ จับมือกันลดกำลังผลิตน้ำมันลง และเอื้อประโยชน์ต่อประเทศที่เป็นพันธมิตรด้วยเท่านั้นอย่างจีน ซึ่งเป็นที่ค้านสายตาของนักวิเคราะห์ทั่วโลก เนื่องจากในช่วงที่เศรษฐกิจมีภาวะชะลอตัวอย่างในปัจจุบัน
1
ราคาน้ำมันควรปรับตัวลงด้วย Demand และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ลดลง รวมถึงธนาคารกลางสหรัฐ (FED) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ยังคงขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง หรือเหตุการณ์นี้อาจมีเบื้องลึกเบื้องหลังที่ประชาชนอย่างเราคาดไม่ถึง?
ประเด็นแรก พี่ใหญ่แห่งวงการผลิตน้ำมันอย่างซาอุดิอาระเบียคอนเฟิร์มการขยายเวลาลดกำลังผลิตน้ำมันลง 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งก่อนหน้านี้ซาอุเคยทำเช่นนี้มาแล้ว 2 ครั้ง เพื่อต้องการตรึงราคาน้ำมันให้อยู่ที่ระดับ $80 ต่อบาร์เรล
หากใครติดตามข่าวเศรษฐกิจอยู่แล้วจะทราบว่า โดยปกติซาอุผลิตน้ำมันประมาณ 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน นั่นหมายความว่า ซาอุลดการผลิตไป 10% หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพมากขึ้น คือ ไทยบริโภคน้ำมันอยู่ที่ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ดังนั้น การที่ซาอุลดการผลิตลง 10% ต่อวัน เท่ากับน้ำมันไทยหายไปทั้งประเทศ 1 วัน
ประเด็นต่อมา ซาอุได้รับความร่วมมือกับรัสเซีย มือวางอันดับ 2 ของประเทศที่ผลิตน้ำมัน โดยรัสเซียออกมาชี้แจงว่าจะลดการผลิตลง 5 แสนบาร์เรลต่อวัน อีกทั้งยังได้รับความเห็นชอบจากกลุ่ม OPEC+ ซึ่งเมื่อรวมกันทั้งหมดแล้ว ปริมาณการผลิตน้ำมันจะถูกลดลงไป 5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว
ประเด็นนี้สำคัญ จากเหตุการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ราคาพลังงานอย่างน้ำมันปรับตัวขึ้นสูงจนแตะ $100 ต่อบาร์เรล ส่งผลให้รัสเซียที่เป็นหนึ่งในประเทศที่มีทรัพยากรพลังงานจำนวนมาก ออกอุบายผูกขาดราคาน้ำมันแก่ประเทศที่เป็นพัธมิตรในราคาถูกลงกว่า 50%
ตัวอย่างเช่น ณ ตอนนั้นรัสเซียขายน้ำมันให้แก่อินเดียในราคาถูกกว่าคู่ค้ารายอื่นด้วยเงินหยวน เนื่องจากอินเดียเลือกข้างชัดเจนว่า อาจอยู่ฝั่งรัสเซียในสงครามครั้งนี้ และอินเดียเข้าซื้อน้ำมันจากรัสเซียอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการผูกขาดน้ำมันอย่างชัดเจน เเละส่งผลกระทบถึงราคาน้ำมันจนถึงปัจจุบัน
โฆษณา