26 ก.ย. 2023 เวลา 13:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

2 หลักการลงทุน SSF RMF ที่เรียบง่ายและได้ผล แต่กลับถูกลืมใช้

เมื่อพูดถึงการลงทุนที่มาพร้อมกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี คงปฏิเสธไม่ได้ว่า “กองทุนรวม SSF และ RMF” มักจะต้องถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างแน่นอน
1
และแม้ว่านักลงทุนหลายคน จะมีการลงทุนกับ SSF และ RMF เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีเป็นหลักแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้วกองทุนรวม SSF และ RMF นั้น ไม่ได้มีดีแค่เรื่องของการลดหย่อนภาษีเท่านั้น
เพราะถ้าหากว่านักลงทุน มีการจัดสรรพอร์ตการลงทุนให้ดี รวมทั้งมีการวางแผนเพื่อทำกำไรในระยะยาว ก็จะสามารถสร้างผลลัพธ์การลงทุนที่ดีในช่วงเกษียณได้เช่นกัน ตามจุดประสงค์หลักของ 2 กองทุนประเภทนี้ (กองทุนรวมเพื่อการออม และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ) ที่มีมาตั้งแต่แรก
ดังนั้น เพื่อให้ผลลัพธ์การลงทุนในช่วงเกษียณออกมาตามเป้าหมาย ผู้ลงทุนจึงไม่ควรคำนวณแค่ในส่วนของการลงทุน เพื่อให้พอดีกับเพดานภาษีเท่านั้น
แต่ผู้ลงทุน ควรต้องมีกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์ในการทำกำไรระยะยาวเช่นกัน
ซึ่งวันนี้ KTAM จะมาแนะนำ 2 กลยุทธ์สำหรับการวางแผนลงทุน SSF และ RMF ที่เรียบง่าย และได้ผล เพื่อตอบโจทย์การลงทุนในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็น
1) กลยุทธ์ Rule of Thumb
กลยุทธ์ Rule of Thumb คือ กลยุทธ์สำหรับการกำหนดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อให้ระดับความเสี่ยงในการลงทุน SSF และ RMF มีความสอดคล้องกับอายุของผู้ลงทุนเป็นหลัก
โดยกลยุทธ์ Rule of Thumb* จะเป็นการนำเอาเลข 100 ไปหักลบกับอายุปัจจุบันของผู้ลงทุน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นั้น จะเป็นสัดส่วนสำหรับการเลือกสินทรัพย์ที่มีระดับความเสี่ยงสูง
เช่น หากว่าผู้ลงทุนมีอายุอยู่ที่ 35 ปี การลงทุนใน SSF และ RMF ที่มีความเสี่ยงสูงจึงควรเป็น 100-35 = “65%” ของพอร์ตการลงทุนทั้งหมดนั่นเอง
(*อ้างอิงจาก : วารสาร TFPA Magazine ฉบับที่ 2 ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 โดยสมาคมนักวางแผนการเงินไทย และ SET Investnow เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564)
2) กลยุทธ์ Life Path Plan
กลยุทธ์ Life Path Plan หรือแผนการลงทุนอย่างสมดุลตามช่วงอายุ (ช่วงก่อนวัยเกษียณ) คือ หลักการที่เกิดขึ้นจากแนวคิดที่ว่า คนอายุน้อย จะมีระยะเวลาในการออม และลงทุนที่นานกว่าคนวัยใกล้เกษียณ จึงควรเปิดโอกาสในการลงทุนสินทรัพย์ความเสี่ยงสูงก่อน และค่อย ๆ ลดระดับความเสี่ยงลง และเพิ่มการลงทุนสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ เพื่อกระจายความเสี่ยง ตามช่วงระยะเวลาก่อนเกษียณที่ค่อย ๆ น้อยลง
โดยกลยุทธ์ Life Path Plan* จะเน้นไปที่การลดสัดส่วนของสินทรัพย์เสี่ยงเป็นช่วง ๆ ตามช่วงจำนวนปีก่อนการเกษียณ (หรือช่วงอายุ ที่เรากำลังทำงานอยู่) เช่น
- จำนวนปีก่อนเกษียณ มากกว่า 30 ปี (หรือมีอายุน้อยกว่า 30 ปี)
> สัดส่วนของหุ้น ที่แนะนำ : 80% - 90%
> สัดส่วนของตราสารหนี้ ที่แนะนำ : 10% - 20%
- จำนวนปีก่อนเกษียณ อยู่ระหว่าง 20 - 30 ปี (หรือมีอายุระหว่าง 31 - 40 ปี)
> สัดส่วนของหุ้น ที่แนะนำ : 50% - 60%
> สัดส่วนของตราสารหนี้ ที่แนะนำ : 40% - 50%
- จำนวนปีก่อนเกษียณ อยู่ระหว่าง 10 - 20 ปี (หรือมีอายุระหว่าง 41 - 50 ปี)
> สัดส่วนของหุ้น ที่แนะนำ : 40% - 50%
> สัดส่วนของตราสารหนี้ ที่แนะนำ : 50% - 60%
- จำนวนปีก่อนเกษียณ น้อยกว่า 10 ปี (หรือมีอายุระหว่าง 51 - 60 ปี)
> สัดส่วนของหุ้น ที่แนะนำ : 10% - 20%
> สัดส่วนของตราสารหนี้ ที่แนะนำ : 80% - 90%
(*อ้างอิงจาก : SET Investnow เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564)
และจาก 2 กลยุทธ์ที่ว่ามานั้น จะเห็นได้ว่า แม้จะมีแนวทางที่ต่างกัน แต่จุดร่วมที่ทั้ง 2 กลยุทธ์ให้ความสำคัญเหมือนกันนั้น ก็คือ เรื่องของการ Rebalance พอร์ต ให้เหมาะสมกับช่วงอายุที่เปลี่ยนไป เพื่อการบริหารความเสี่ยง รวมถึง การรักษาผลตอบแทน และการทำกำไรในระยะยาวเป็นหลักนั่นเอง
ฉะนั้น สำหรับผู้ลงทุนที่มีการลงทุนในกองทุนรวม SSF และ RMF เพื่อลดหย่อนภาษีในทุก ๆ ปี จึงไม่ควรแค่หยอดเงินเข้าพอร์ตไปเรื่อย ๆ เท่านั้น แต่ควรตรวจสอบพอร์ตการลงทุนของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อปรับสัดส่วนกองทุนให้เหมาะกับช่วงอายุ และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
ขณะเดียวกัน การลงทุนกองทุนรวม SSF และ RMF เพื่อการทำกำไร หรือรักษาผลตอบแทนในระยะยาวนั้น กลยุทธ์การลงทุน ไม่ใช่สิ่งเดียวที่นักลงทุนต้องคำนึงถึง แต่นักลงทุนเองควรต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน เช่น ผลตอบแทนย้อนหลัง ของกองทุนรวม SSF และ RMF แต่ละตัวที่สนใจ หรือการถัวเฉลี่ยสินทรัพย์ไปตามประเภทอุตสาหกรรม และประเทศที่แตกต่างกัน เป็นต้น
ดังนั้น อย่าปล่อยให้โอกาสในการทำกำไร และการรักษาผลลัพธ์ทางการเงินในระยะยาว ต้องหลุดมือไป เพราะนักลงทุนเอง สามารถได้รับประโยชน์ 2 ต่อ ทั้งในด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษี และการทำกำไรในช่วงเกษียณได้ หากมีการวางแผนในการลงทุนกองทุนรวม SSF และ RMF อย่างถูกต้อง และเหมาะสมในแต่ละช่วงวัยนั่นเอง
สำหรับนักลงทุนท่านใด ที่ต้องการ
อัปเดตทุกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน รวมไปถึงการอัปเดตข่าวสาร เกี่ยวกับการลงทุนเพิ่มเติม ก็สามารถเข้ามาติดตามกับทาง KTAM Smart Trade ได้เช่นกัน
สนใจกองทุนรวม SSF และ RMF จาก KTAM คลิก : https://www.ktam.co.th
ลงทุนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน KTAM Smart Trade ง่าย สะดวก ปลอดภัย
ดาวน์โหลด :
สอบถามรายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวนที่ ธนาคารกรุงไทย ผู้สนับสนุนการขาย หรือ บลจ.กรุงไทย โทร. 02-686-6100 กด 9
คำเตือน :
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม / กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ หากลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด อาจต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเสียเงินเพิ่ม
โฆษณา