28 ก.ย. 2023 เวลา 04:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

วิธีคิดลดกระแสเงินสด 5 รูปแบบ

1. Simple cash flow คือ กระแสเงินสด ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต การคิดลดกระแสเงินสดจะเปลี่ยนจากจำนวนในอนาคตให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน
ตัวอย่างเช่น เงิน 1000 บาท ในอีกสิบปีข้างหน้า โดยมีอัตราคิดลด 10% จะมีมูลค่าเท่ากับ 385.54 บาท
( Cash flow in future period : กระแสเงินสดในอนาคต, Discount rate : อัตราดอกเบี้ยคิดลด, Time period : จำนวนช่วงเวลา )
2. Annuity คือ กระแสเงินสด ที่เกิดขึ้นเท่าๆ กันในช่วงเวลาที่สม่ำเสมอ เราสามารถใช้ simple cash flow คำนวณทีละก้อนก็ได้ หรือเราจะใช้สูตรก็ได้
ตัวอย่างเช่น หากได้รับเงินครั้งละ 100 บาท เป็นเวลาสิบปี โดยมีอัตราคิดลด 10% จะมีมูลค่าเท่ากับ 614.46 บาท
( Annual cash flow : กระแสเงินสดที่ได้แต่ละงวด, Discount rate : อัตราดอกเบี้ยคิดลด, Time period : จำนวนช่วงเวลา)
3. Growing annuity คือ กระแสเงินสดที่เพิ่มขึ้นในอัตราคงที่ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น หุ้นที่เคยจ่ายปันผล 2 บาท และคาดว่าจะจ่ายปันผลไปอีก 10 ปี คุณคาดว่าปันผลจะเติบโต 5% ต่อปี พร้อมกับใช้อัตราคิดลด 10% หุ้นตัวนี้จะมีมูลค่า 11.16 บาท
( Cash flow : กระแสเงินสดในอนาคต, r : อัตราดอกเบี้ยคิดลด, g : อัตราการเติบโต, n : จำนวนช่วงเวลา )
4. Perpetuity คือ กระแสเงินสดจำนวนคงที่ในแต่ละช่วงเวลาโดยไม่มีกำหนดเวลาหรือตลอดไป หลักทรัพย์ที่มีลักษณะนี้ก็อย่างเช่น หุ้นกู้ที่จ่ายดอกเบี้ยคงที่ตลอดไป
ตัวอย่างเช่น จ่ายดอกเบี้ย 100 บาทต่อปี หากให้อัตราคิดลดเท่า 10% หุ้นกู้นี้จะมีมูลค่า 1000 บาท
( Cash flow : กระแสเงินสดในอนาคต, Discount rate : อัตราดอกเบี้ยคิดลด )
5. Growing perpetuity/Gordon growth model คือ กระแสเงินสดที่เติบโตในอัตราคงที่ตลอดไป
ตัวอย่างเช่น หุ้นที่เคยจ่ายปันผล 2 บาท และคุณคาดว่าจะจ่ายเพิ่มขึ้น 3% ต่อปี โดยใช้อัตราคิดลด 10% ต่อปี หุ้นนี้จะมีมูลค่า 29.43 บาท
( Expected dividends next year : เงินที่คาดว่าจะได้ในปีถัดไป, Discount rate : อัตราดอกเบี้ยคิดลด, Expected growth rate : อัตราการเติบโต )
โฆษณา